การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy )

0
9542
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic-pregnancy)
การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy ) คือ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ ( ปีกมดลูก ) ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic-pregnancy)
การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy ) คือ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ ( ปีกมดลูก ) ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ ซึ่งพบว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้นประมาณ 1 ในทุก ๆ 50 ของการตั้งครรภ์ในเพศหญิง ในการตั้งครรภ์ปกติไข่ที่ปฏิสนธิจะใช้เวลา 4 ถึง 5 วันเดินทางลงท่อนำไข่ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปยังโพรงมดลูก ซึ่งจะทำการฝังตัวประมาณ 6 ถึง 7 วันหลังจากได้รับการปฏิสนธิ

สาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูกมักเกิดขึ้นเพราะไข่ที่ปฏิสนธิไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังท่อนำไข่ลงสู่มดลูกได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบของท่อนำไข่ ซึ่งไปปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด อาจเกิดจาก

  • การติดเชื้อของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ เช่น กระดูกอุ้งเชิงกรานอักเสบ มดลูก ท่อนำไข่และรังไข่เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ
  • เคยมีประวัติการทำหมันในผู้หญิง หรือเคยมีการผ่าตัดแก้หมันหญิง หรือการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
  • การใช้ยา หรือการรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว
  • หนองใน หรือหนองเทียม เป็นสาเหตุของการอุดตันของท่อนำไข่
  • ความผิดปกติของการพัฒนาภายในไข่หลังเกิดการปฏิสนธิ
  • เนื้อเยื่อแผลเป็นจากการผ่าตัดช่องท้องทำให้เกิดการอุดตัน
  • การสัมผัส หรือได้รับสารเคมีก่อนการตั้งครรภ์
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตที่อื่นในร่างกาย
  • การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหลอดท่อนำไข่
  • การผ่าตัดที่บริเวณอุ้งเชิงกรานในอดีต
  • เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน
  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • ใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • ปีกมดลูกอักเสบ
  • การสูบบุหรี่

อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูก

เนื่องจากอาการมักจะเหมือนการตั้งครรภ์ปกติในช่วงต้นรวมถึง อาการเจ็บตึงหน้าอกหรือเต้านมคัด เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน และปัสสาวะบ่อย แต่บ่อยครั้งที่สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกคือ

  • รู้สึกเจ็บปวด หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม (เกิดจากการสูญเสียเลือด)
  • ความดันโลหิตต่ำ (เกิดจากการสูญเสียเลือด)
  • ปวดในอุ้งเชิงกรานช่องท้อง
  • ปวดหลังส่วนล่าง ปวดไหล่ หรือคอ

การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้

การวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูก

แพทย์ตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันว่าคุณกำลังตั้งครรภ์สามารถตรวจสอบว่าคุณมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่ ด้วยวิธีดังนี้

  • การตรวจกระดูกเชิงกรานเพื่อตรวจสอบขนาดของมดลูกและความรู้สึกของการเจริญเติบโตหรือความอ่อนโยนในท้องของคุณ
  • การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ เรียกว่า chorionic gonadotropin ( hCG ) ซึ่งจะผลิตเพิ่มปริมาณขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ 48 ชั่วโมง หากพบการตั้งครรภ์นอกมดลูกระดับเอชซีจีจะลดลงและจะไม่เป็นสองเท่า ระดับเอชซีจีที่ต่ำกว่าสามารถส่งบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • อัลตราซาวนด์ เพื่อค้นหาทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโนในมดลูกหรือที่อื่น ๆ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์หลังจากมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
    การรักษาตั้งครรภ์นอกมดลูก
    การรักษาของการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน และระยะเวลาของการตั้งครรภ์
  • การใช้ยา การตั้งครรภ์นอกมดลูกในช่วงเริ่มต้นบางครั้งสามารถรักษาด้วยการฉีด เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
  • การผ่าตัด เพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติบริเวณท่อนำไข่ที่เกิดความเสียหายออกไป
  • การรักษาภาวะอื่น ๆ เช่น ภาวะช็อคจากอาการตกเลือดและเสียเลือดมาก ภาวะอักเสบจากการติดเชื้อให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก

หากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น หากการวินิจฉัยหรือการรักษาล่าช้า

  • ภาวะเลือดออกภายใน
  • เกิดความเสียหายต่อท่อนำไข่
  • ภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย

การป้องกัน การตั้งครรภ์นอกมดลูก

โดยทั่วไปแล้วการตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณสามารถลดปัจจัยเสี่ยง

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • สวมถุงยาง เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ

อย่างไรก็ตามหากคุณมีประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนหน้านี้ ควรบอกแพทย์ให้ทราบทันที
แพทย์จะช่วยตรวจว่ามีการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Ectopic pregnancy (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://healthywa.wa.gov.au [9 เมษายน 2563].

What is an ectopic pregnancy? (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://ectopic.org.uk [9 เมษายน 2563].

Ectopic Pregnancy (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://americanpregnancy.org [11 เมษายน 2563]. 

Ectopic Pregnancy (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.plannedparenthood.org [11 เมษายน 2563].