โรคลิชมาเนีย ( Leishmaniasis )
โรคลิชมาเนียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวลิชมาเนียสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ ผ่านการถูกริ้นฝอยทราย แมลงวันทรายกัด

โรคลิชมาเนีย

โรคลิชมาเนียซิส หรือ Leishmaniasis คือ โรคติดเชื้อที่เกิดจากโปรโตซัวชนิดที่เรียกว่า ลิชมาเนีย ( Leishmania ) ปรสิตชนิดนี้อาศัยอยู่ในแมลงวันทราย ( Psychodidae ) แมลงหวี่และสัตว์หลายชนิดรวมทั้ง วัว ควาย สุนัข แมว สัตว์พวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของพาหะนำโรคได้เช่นกัน โดยพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค อย่างน้อย 88 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา 75 ประเทศ และประเทศด้อยการพัฒนา 13 ประเทศ จัดอยู่ในพื้นที่เขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน และแถบยุโรปตอนใต้ โรคลิชมาเนียซิสทสามารถติดต่อสู่คนได้ผ่านทางการกัดของแมลงวันทราย หรือริ้นฝอยทราย ( Sandfly ) ที่ติดเชื้อปรสิต ด้านผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีเชื้อลิชมาเนียประมาณ 20 ชนิด ส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณ 12 ล้านคน ลักษณะของการติดเชื้อปรสิตในคนมี 3 รูปแบบ พบบ่อยที่สุด คือ ทางผิวหนัง เยื่อเมือก อวัยวะภายใน ซึ่งการติดเชื้อมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการใด ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้

การระบาดลิชมาเนียซิสในประเทศไทย

ซึ่งสถานการณ์การระบาดในประเทศไทยพบผู้ป่วยจำนวน 49 ราย มีทั้งผู้ป่วยชาวต่างชาติลแะแรงงานคนไทยที่กลับจากประเทศตะวันออกกลางนำเชื้อลิชมาเนียเข้ามา และผู้ป่วยที่เป็นคนไทยติดเชื้อในประเทศรวมทั้งหมด 14 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย พบทั้งชาย หญิง และเด็ก

จังหวัดที่มีผู้ป่วยติดเชื้อลิชมาเนีย

กรุงเทพฯ เชียงราย น่าน จันทบุรี พังงา สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล และตรัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดอยู่ทางภาคใต้

อาการที่พบบ่อยของโรคลิชมาเนียซิส แบ่งออกได้ 3 ประเภท
1. เกิดแผลทางผิวหนัง ( Cutaneous Leishmaniasis ) โดยทั่วไปโรคลิชมาเนียซิสมักทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังโดยเฉพาะใบหน้า แก้ม มีลักษณะเริ่มแรกจะมีตุ้มนูนขึ้นมาข้างในมีน้ำใสๆ และแดง บริเวณบาดแผลจะฉ่ำไปด้วยน้ำเหลือง บางครั้งก็แห้งเป็นวงกว้างคล้ายโรคเกลื้อนแต่รุนแรงกว่าหลายเท่า อาการทางผิวหนังจะปรากฏขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่ติดเชื้อลิชมาเนีย

2. เกิดแผลที่เยื่อเมือก ( Mucocutaneous Leishmaniasis ) มักแสดงอาการหลังการติดเชื้อเป็นสัปดาห์ไปจนถึงเป็นเดือน แผลส่วนใหญ่เป็นแผลที่เกิดขึ้นบริเวณจมูก ริมฝีปาก แผลในปาก ในลำคอ อาจลุกลามส่งผลต่อจมูกเพดานปาก หรือใบหน้าถูกทำลายเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง
รวมถึงอาการอื่น ๆ ได้แก่

3. การติดเชื้ออวัยวะภายใน ( Visceral Leishmaniasis ) โดยทั่วไปแล้วอาการมักไม่แสดงให้เห็นจนเมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนหลังจากถูกริ้นฝอยทรายที่ติดเชื้อลิชมาเนียกัด ส่วนใหญ่จะแสดงอาการช่วง 2 – 6 เดือน มีอาการของโรค ได้แก่

สาเหตุของลิชมาเนียซิล

โรคลิชมาเนียซิสส่งผลกระทบต่อคนยากจนในพื้นที่ห่างไกลและขาดสารอาหาร ประชากรส่วนใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องทำให้การติดเชื้อสามารถแพร่กระจายผ่านระบบน้ำเหลืองและหลอดเลือด แล้วทำให้เกิดแผลบริเวณผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก รุกลามไปยังตับ ม้ามและไขกระดูกอวัยวะภายในรุนแรงมากขึ้น

ระยะการฟักตัวของลิชมาเนียซิส

ระยะการฟักตัวของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ประมาณ 3 – 10 วันไปจนถึงหลายเดือน ซึ่งโรคลิชมาเนียซิสมักจะหายได้เองภายในไม่กี่เดือนแต่จะทิ้งรอยแผลเป็นที่ไม่น่าดูไว้

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อลิชมาเนียซิส

แพทย์เตือนว่าทุกคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหากพวกเขาอาศัยหรือเดินทางในที่ที่พบเชื้อลิชมาเนีย มักพบได้บ่อยในชนบทมากกว่าในเขตเมือง เนื่องจากริ้นฝอยทรายมักจะออกหากินมากที่สุดในเวลาพลบค่ำตอนเย็นและเวลากลางคืน แม้ว่าในเวลากลางวันที่ร้อนที่สุดของวันแมลงวันทรายจะออกหากินน้อยลงแต่ก็อาจถูกกัดได้หากถูกรบกวน

การวินิจฉัยโรคลิชมาเนียซิส

แพทย์จะวินิจฉัยโดยประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่ อาการทางคลินิก พยาธิสภาพ และภูมิคุ้มกันวิทยา

  • เริ่มแรกแพทย์จะทำการซักประวัติส่วนตัว ประวัติคนในครอบครัวเกี่ยวกับการเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อลิชมาเนีย
    หรือที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยที่เข้ามาทำการรักษาในโรงพยาบาล
  • การตรวจเลือดเพื่อเก็บตัวอย่างในผู้ป่วย และการตรวจเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาปรสิตในเนื้อเยื่อหรือของเหลวที่เปื้อน
  • การตรวจหาแอนติบอดีในร่างกาย

การรักษาโรคลิชมาเนียซิสจากการติดเชื้อลิชมาเนีย

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาหรือป้องกันโรคลิชมาเนียซิส ทำได้เพียงหลีกเลี่ยงแมลงกัด เช่น ริ้นฝอยทราย แมลงหวี่ ที่มีขนาดเล็กกัดในช่วงเวลาพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า แพทย์ทำการรักษาตามอาการโดยการใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ หากผู้ป่วยมีไข้ขึ้นสูง หรือให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อลดการอักเสบบริเวณบาดแผล และทำความสะอาดบาดแผล ปิดบาดแผลไม่ให้แผลโดนน้ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
และลดภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง

การป้องกันลิชมาเนีย

นักท่องเที่ยวควรระระมัดระวังหากเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือพักอาศัยในพื้นที่แพร่ระบาดของลิชมาเนียซิส หากจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่หรือ ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • กำจัดพาหะนำเชื้อโรค นั้นคือ ริ้นฝอยทราย และแมลงวันทราย
  • กำจัดเชื้อลิชมาเนียในผู้ป่วย
  • จัดการโรงเรือนเลี้ยวสัตว์ให้อยู่ห่างจากบ้านเรือนอย่างน้อย 10 เมตร
  • หากมีสัตว์ป่วยจากการติดเชื้อลิชมาเนีย รีบแจ้งสัตวแพทย์ หรือปศุสัตว์อำเภอ
  • ควรทำประวัติประชากรที่เดินทางไปและกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค เพื่อเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
  • หากท่านถูกริ้นฝอยทราย หรือแมลงวันทรายกัด ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาเชื้อดังกล่าว
  • ผู้นำชุมชน หรือแพทย์ประจำตำบนควรให้ข้อมูลความรู้โรคลิชมาเนียแก่ประชาชน

เมื่อเราอยู่ในที่โล่งแจ้ง

  • ทายากันยุง หรือยากันแมลง ควรทาก่อนออกนอกที่พักอาศัย
  • ฉีดยากันยุง ยาฆ่าแมลง และจุดยากันยุงภายในและภายนอกที่พัก
  • ควรกางมุ้งที่มีความถี่สูงเพื่อป้องกันแมลงขนาดเล็ก
  • หลีกเลี่ยงการออกนอกที่พักในเวลาพลบค่ำ
  • หลีกเลี่ยงการออกนอกที่พักในเวลารุ่งเช้า

เมื่ออยู่ภายในบ้าน

  • ควรติดมุ้งลวดตามประตู หน้าต่าง หรือช่องที่แมลงวันสามารถบินเข้ามาได้
  • ควรฉีดพ่นยาฆ่าภายในบ้าน หรือห้องนอนก่อนเข้านอน
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่ปิดร่างกายมิดชิด

อย่างไรก็ตามสำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่กำลังจะเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของลิชมาเนีย ควรศึกษาข้อมูลเพื่อความปลอดภัย และเตรียมตัวเพื่อรับมือกับพวกแมลงหรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคดังกล่าว

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม