ปลายประสาทอักเสบ
ปลายประสาทอักเสบ ( Peripheral Neuropathy ) คือ เป็นภาวะหนึ่งของระบบปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากสมองส่งไปยังไขสันหลังและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อปลายประสาทอักเสบทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ปกติเกิดอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกเจ็บแปลบๆ เจ็บคล้ายโดยไฟลน ตะคริว ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุกไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไป
อาการปลายประสาทอักเสบ
อาการทั่วไปที่พบในผู้ป่วยจะแสดงอาการตามความรุนแรงของโรคปลายประสาทอักเสบ ดังนี้
- เวียนศีรษะ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ท้องผูก
- ท้องเสีย
- น้ำหนักลด
- กล้ามเนื้อกระตุก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เป็นตะคริว ปวดเกร็ง
- รู้สึกชาบริเวณมือ เท้า แขน และขา
- ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- หากอาการรุนแรง อาจทำให้ไม่สามารถขยับอวัยวะบางส่วนได้ เช่น มือ เท้า
สาเหตุปลายประสาทอักเสบ
จากการศึกษาพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบและสาเหตุรองลงมา ได้แก่
- การกดทับของเส้นประสาทบริเวณมือ
- โรคภูมิคุ้มกัน
- การได้รับสารพิษต่าง ๆ
- โรคความผิดปกติทางพันธุกรรม
- การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อ HIV
- การขาดวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 และวิตามิน บี 12
- การใช้ยาบางชนิด เช่น เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
- การบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์
- การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นเวลาหลายปี
เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์
หากคุณมีอาการชาบริเวณมือ หรือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกเจ็บปวดมากกว่าปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
การตรวจปลายประสาทอักเสบ
แพทย์ทำการซักประวัติผู้ป่วยประวัติครอบครัว อาการ ตำแหน่งการเกิดของโรคปลายประสาทอักเสบ ร่วมกับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ และการเอกซเรย์เพื่อดูความเสียหายของเส้นประสาท หากพบความรุนแรงของอาการปลายประสาทอักเสบต้องทำการรักษาทันที
การรักษาปลายประสาทอักเสบ
แพทย์จะประเมินวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งของปลายประสาทอักเสบ ซึ่งมุ่งเน้นการฟื้นฟูเส้นประสาทให้กับมาทำงานได้ปกติ
การรักษาทั่วไป
- อาบน้ำอุ่น ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการชา และความเจ็บปวดได้
- ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ช่วยป้องกันการขาดวิตามิน
- ลดการสูบบุหรี่
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การบำบัด
- การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า
- กายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
- การผ่าตัด การใช้ยา
- ให้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ
- ทายาและนวดเบา ๆ
- ฉีดยา
ภาวะแทรกซ้อนของปลายประสาทอักเสบ
ความเสียหายของเส้นประสาทที่ส่งผลให้เกิดปลายประสาทอักเสบ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น แผลที่เท้า การติดเชื้อจนทำให้เกิดเนื้อตาย และยังส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ รวมทั้ง
การไหลเวียนขอระบบโลหิต
การป้องกันปลายประสาทอักเสบ คุณสามารถลดความเสี่ยงของอาการปลายประสาทอักเสบเหล่านี้ได้โดย หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อป้องกันการขาดวิตามิน ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หากคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที สามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาททำให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้นอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม