โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
โรคนิวโมคอคคัส ( Streptococcus Pneumoniae ) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียพบได้ในทารก เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีรวมถึงผู้สูงอายุ ไวรัสหรือแบคทีเรียสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสละอองน้ำลายจากผู้ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจทั้งโรคปอดบวม noo-muh-KOK-uhl เกิดจากแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae โรคหลอดลมอักเสบ โรคหูน้ำหนวก ภาวะโลหิตเป็นพิษ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วย
อาการของโรคนิวโมคอคคัส
- มีไข้สูง หรือหนาวสั่น
- ไอ
- อ่อนเพลีย
- หายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- เวียนศีรษะ
- ไวต่อแสง
ปัจจัยเสี่ยงหลักของการติดเชื้อโรคนิวโมคอคคัส
แพทย์เตือนว่าทุกคนสามารถติดเชื้อโรคนิวโมคอคคัสหรือเป็นโรคปอดบวมได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงสูง ได้แก่ ทารก เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ใหญ่ที่มีมากกว่า 65 ปี ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กระยะยาว รวมถึงเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอาการป่วยบางอย่างเช่น โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตหรือตับ เบาหวาน หรือความเจ็บป่วยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เอชไอวี และมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคนิวมคอคคัส
การตรวจหาแบคทีเรียสเตรปโทคอคคัส หรือที่เรียกว่าแอนติเจนในปัสสาวะ C polysaccharide ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของผนังเซลล์แบคทีเรีย สามารถตรวจพบได้ในของเหลวในร่างกาย นำมาผ่านกระบวนการเพาะเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาโรคนิวโมคอคคัส
ทางการแพทย์จะรักษาตามอาการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีผลกับโรคปอดบวม
วิธีป้องกันโรคนิวโมคอคคัส
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสนิวโมคอคคัส (pneumococcal vaccine) ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนจากส่วนประกอบของเชื้อไวรัส Streptococcus pneumoniae คุณสมบัตของวัคซีนเพื่อป้องกันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม polysaccharide (PPV) และวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม (PCV) เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส และสามารถป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม