

หูด
หูด ( Warts ) คือ การเจริญเติบโตของผิวหนังที่ผิดปกติ หูดเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หรือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human papillomavirus) ทำให้ผิวหนังชั้นบนหนาขึ้นหูดสามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง ทางเพศสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่เป็นหูดหรือใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว มีดโกนหนวด กัดเล็บ หูดมีหลายประเภท คือ หูดหงอนไก่ หรือหูดอวัยวะเพศ หูดข้าวสุก หูดที่นิ้ว หูดชนิดทั่วไป หูดที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือ หูดชนิดแบนราบ หูดคนตัดเนื้อ หูดที่เป็นติ่ง มักพบในเด็กและวัยรุ่น หูดสามารถเจริญเติบโตในพื้นที่อับชื้นได้เป็นอย่างดี
>> เชื้อ HPV คืออะไรและสามรถติดต่อได้อย่างไร อยากรู้ บทความนี้มีคำตอบค่ะ
>> ไขมันดี HDL ( High Density Lipoprotein ) คืออะไร ?
ลักษณะของหูดแต่ละประเภท
หูดแต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- หูดชนิดทั่วไป (Common warts) คือ หูดที่พบบ่อยเป็นตุ่มเล็กๆ นูนขึ้นบนผิวหนังสัมผัสแล้วรู้สึกผิวหยาบไม่สม่ำเสมอ และมักเกิดขึ้นโดยทั่วไปหูดที่นิ้ว หูดที่เท้า หูดที่เข่า ใบหน้า มากที่สุด
- หูดที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือ (Plamar warts and Plantar warts)
- หูดชนิดแบนราบ (Plane warts, Flat warts)
- หูดหงอนไก่ หรือหูดอวัยวะเพศ (Condyloma accuminata)
- หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum)
- หูดคนตัดเนื้อ (Butcher’s warts)
- หูดที่เป็นติ่ง (Filiform warts)
อาการของหูด
ลักษณะของหูดขึ้นอยู่กับประเภทพบบ่อย คือ
- มีติ่งนูนยื่นขึ้นมาบนผิวหนังขนาดหูดประมาณ 10 มิลลิเมตร
- มีผิวหยาบ หรือผิวเรียบ
- หูดเกิดขึ้นทั้งเป็นตุ่มเดี่ยว และเป็นกลุ่ม
- มีอาการคัน
หูกเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
หูดเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้มีมากกว่า 100 ชนิดที่ทำให้เกิดหูดโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อันตราย แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
หูดเกิดที่ตำแหน่งไหนได้บ้าง
หูดเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยมักจะเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ พบที่นิ้วมือ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ
รักษาหูด
แพทย์จะแนะนำหนึ่งในวิธีการรักษาต่อไปนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดหูดของแต่ละบุคคล มีวิธีดังนี้
- การทายาบริเวณผิวหนังที่เป็นหูด เหมาะสำหรับเด็กจะทำให้ไม่เจ็บปวด
- การใช้กรดซาลิไซลิกทาบริเวณหูดอย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะช่วยให้หูดหลุดออก
- การฉีดยา ใช้สำหรับการรักษาหูดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น
- การใช้ไนโตรเจนเหลว
- การรักษาด้วยเลเซอร์
- การผ่าตัด
การป้องกันหูด
เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหูดมีวิธีการป้องกัน ดังนี้
- ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ Human Papilloma
- ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะหากมีการสัมผัสกับคนที่เป็นหูด
- หลีกเลี่ยงการถูกหูดที่ตำแหน่งใหม่
- ควรเช็ดมือ และเท้าให้แห้ง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดกับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่โดยตรง
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น
- หลีกเลี่ยงการตัด แกะ กัดเล็บ หรือโกนหนวดบริเวณที่มีหูดข้าวสุก
- ควรใส่รองเท้าเวลาอาบน้ำเพื่อป้องกันหูดที่เท้า หูดตาปลา
หูดรักษาอย่างไร? ยังเป็นข้อสงสัยสำหรับหลายคนแม้เป็นโรคที่ไม่อันตรายแต่เชื้อไวรัสเอชพีวี Human Papilloma ( HPV ) บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก หากคุณสงสัยว่าเป็นหูดหรือไม่ควรสังเกตลักษณะของหูดที่เกิดขึ้น สามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่บทความนี้แนะนำข้างต้น
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม