โรคไตวายเฉียบพลัน
โรคไตวายเฉียบพลัน ถือได้ว่าเป็นโรคภัยที่รุนแรงผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างเร่งด่วนทันที หากล่าช้าอาจจะส่งผลต่อชีวิตได้ แต่ถ้าหากสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และทันเวลา ไตจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา และสามารถทำงานได้เป็นปกติภายใน 3 วัน แต่ถ้าหากปล่อยให้ไตถูกทำลายมากๆ อาจจะส่งผลทำให้เป็นโรคไตวาย เรื้อรังได้เช่นเดียวกัน
กระบวนการรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน
1. ค้นหาสาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน
- การแก้ไขสภาวะช็อค
- หากค้นพบว่าร่างกายขาดน้ำและขาดเลือด จะมีการรักษาโดยการให้เลือดและสารน้ำ หรือ พลาสม่า อย่างรวดเร็ว
- มีการให้ยาแก้อักเสบติดเชื้อ
- หยุดรักษาด้วยยาที่ส่งผลทำให้เกิดอาการไตวาย
- หากค้นพบว่ามีสาเหตุมาจาก การเกิดภาวะอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะทำการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดอาการไตวาย ในรูปแบบเบื้องต้น แล้วจึงค่อย ๆ รักษา โดยการหยุดภาวะอุดตันที่เกิดขึ้น
2. การรักษาโรคไตวายเฉียบพลันโดยใช้ยา
เพื่อรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลัน ส่งผลทำให้ไตสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น หรือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะให้มากกว่าเดิม โดยอาจจะใช้ยาเพื่อกระตุ้นหลอดเลือด หรือ ใช้ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
3. การรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลันแบบประคับประคอง
รวมไปถึงมีการรักษาอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
4. หากอาการของผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันยังคงไม่ดีขึ้น อาจจะมีการรักษาด้วยการฟอกเลือด เพื่อที่จะทำการขับของเสียออกจากร่างกาย โดยต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง
การควบคุมอาหารและน้ำ ในผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน
ผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน มักจะขาดสารอาหาร เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยครั้ง รวมไปถึงมีการสลายตัวของโปรตีนภายในร่างกาย ซึ่งในช่วงที่โรคไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรง จำเป็นจะต้องจำกัดน้ำและอาหาร ที่ส่งผลและ เพิ่มภาวะให้กับไต แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว การจำกัดน้ำและอาหาร สามารถผ่อนหรือเบาลงได้ตามความเหมาะสม
วิธีการรักษาภาวะเลือดเป็นกรด
ภาวะเลือดเป็นกรด สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน และ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง เนื่องจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการขับกรด พร้อมทั้ง โพแทสเซียม ออกจากร่างกายได้
หากผู้ป่วยมีอาการภาวะเลือดเป็นกรดอยู่นาน จะส่งผลทำเกิดการสร้างกระดูกที่ลดลง ส่งผลทำให้สูญเสียมวลเนื้อเยื่อได้ในที่สุด ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้
1. มีการให้ยา เคเอกซาเลท แพทย์ส่วนใหญ่จะต้องระมัดระวังการให้ยาชนิดนี้แก่ผู้ป่วย เพราะจะส่งผลทำให้โซเดียมสูงขึ้นได้ ทำให้เกิดภาวะบวมตามมา และ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน
2. ในช่วงที่ซีรั่มไบคาร์บอเนตในเลือดต่ำกว่า 10 มิลลิอีควาเลนซ์ต่อลิตร แพทย์อาจจะให้ยาโซเดียมไบคาร์บาเนต ในปริมาณที่ต่ำกว่าการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หลังจากนั้นอาจจะมีการปรับขนาดของยา
3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด หรือ โพแทสเซียมในเลือดสูงได้ แพทย์อาจจะต้องทำการล้างไต หรือ ฟอกเลือด
วิธีการรักษาภาวะโพแทสเซียมสูง
ภาวะโพแทสเซียมสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันขั้นรุนแรง หรือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามร่างกายสูงมาก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลดลงได้ รวมไปถึงผู้ป่วยอาจจะมีอาการอ่อนแรง คลื่นไส้ และ ท้องเดิน ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร ถ้าไม่ดีขึ้นจึงจะให้ยาไปรับประทาน
2. ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร พร้อมกับให้ยาไปรับประทานร่วมด้วย
3. ผู้ป่วยที่มีโพแทสเซียมสูงอย่างรุนแรง แพทย์จะให้ยาสองตัว ซึ่งเป็นยาที่ช่วยดึงโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์ภายในร่างกาย กับ ยาที่ช่วยขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งออกทางปัสสาวะ
4. ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังการรับประทานอาหาร ที่ส่งผลทำให้เกิดโพแทสเซียมสูง และจำเป็นจะต้องระมัดระวังยาที่ทำให้โพแทสเซียมสูงขึ้นด้วย
5. ผู้ป่วยจะต้องติดตาม ดูค่าโพแทสเซียมในเลือดอย่างเป็นประจำ
การรักษาภาวะฟอสเฟตสูง
สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ช่วงระยะที่ 3 ขึ้นไป มักจะมีความเสี่ยงต่อระดับของค่าฟอสเฟสภายในเลือด ซึ่งอาจจะสูงกว่า 7.0 มิลลิกรัม ผู้ป่วยที่มีภาวะฟอสเฟสสูง สามารถรักษาได้ดังนี้
1. ผู้ป่วยจะต้องจำกัดปริมาณฟอสเฟตจากอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะต้องงดอาหารที่มีฟอสเฟตสูงเป็นสำคัญ
2. ผู้ป่วยจะต้องเสริมอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยจะต้องรับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น
3. ผู้ป่วยจะต้องคุมระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งค่าแคลเซียมจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 9.0 – 10.2 มิลลิกรัม% ส่วนค่าฟอสเฟต จะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 2.7-4.6 มิลลิกรัม% เท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการติดตามตรวจทุก ๆ 1 เดือน
4. ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยา ที่ช่วยลดการดูดซึมฟอสเฟต โดยยาที่สามารถจับฟอสเฟต ได้แก่ ยากลุ่มแคลเซียม ยาเม็ดอะลูมิเนียม ยาแลนทานัม คาร์บอเนต ยาชีวีลาเมอร์ เป็นต้น
5. การรักษาด้วยวิตามินดี
6. การล้างไต หรือ ฟอกเลือด ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ป่วยได้ใช้ยาแล้ว ยังไม่สามารถรักษาได้ นั่นเอง
วิธีการรักษาภาวะฮอร์โมนพาราไทยรอยด์สูง
ในผู้ป่วยไตวาย มักจะมีภาวะฟอสเฟสในเลือดสูง พร้อมทั้งแคลเซียมในเลือดต่ำเป็นระยะเวลานาน และในผู้ป่วยไตวายระยะที่ 3 ขึ้นไป มักจะหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมามาก ทำให้มีการสลายมวลกระดูก ส่งผลทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นกัน ซึ่งการรักษา สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 ฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ในช่วง 70 – 110 พก./มล. และ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 ฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ในช่วง 150 – 300 พก./ มล. ส่วนผู้ป่วยที่ต้องทำการฟอกเลือด ฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ในช่วง 130 – 600 พก./มล. เท่านั้น
1. หากค้นพบว่าไต ยังคงสามารถเปลี่ยนวิตามินดี 2 ให้กลายเป็นแอคทีฟวิตามินดีได้ แต่ยังคงมีไฮดรอกชีวิตามินดีประมาณ 25- OHD จำนวนไม่เกิน 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร จะสามารถเริ่มต้นทำการรักษาด้วยวิตามินดี 2 ได้
2. ผู้ป่วยที่ไต ไม่สามารถเปลี่ยนวิตามินดี 2 ได้ มักจะรักษาด้วยแอคทีฟวิตามินดี เพื่อที่จะสามารถลดระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือด เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายได้
3. การรักษาด้วยการตัดต่อมพาราไทรอยด์เป็นการรักษากับผู้ป่วยในรายที่มีระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดที่สูงกว่า 800 พิโคกรัมต่อ มล. และยังคงมีภาวะแคลเซียม และ ฟอสเฟตในเลือดสูงอีกด้วย หรือ ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองการรักษา ด้วยวิธีการจำกัดอาหาร หรือ ใช้ยาจับฟอสเฟต และ วิตามินดีแล้ว ซึ่งอาจจะมีการตัดต่อมออกทั้งหมด หรือ ตัดออกแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น
การรักษาภาวะบวม และ ความดันเลือดสูง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย มักจะเป็นโรคความดันเลือดสูง เนื่องจากมีน้ำคั่ง ตัวบวม และ น้ำหนักเพิ่ม ส่งผลทำให้เนื้อไตถูกทำลายได้มากยิ่งขึ้น แถมหัวใจยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลทำให้เกิดหัวใจวายได้ ในกรณีนี้ จำเป็นจะต้องมีการดูแลในเรื่องของความดันโลหิตสูง ซึ่งในกรณีผู้สูงอายุ จะต้องไม่เกิน 140/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งถ้าหากค้นพบว่ามีโปรตีนรั่วออกจากร่างกายด้วย ก็ควรที่จะมีความดันโลหิตต่ำกว่านี้ ซึ่งวิธีการรักษาโรคความดันโลหิต มีดังต่อไปนี้
- การให้ยาไปรับประทาน เพื่อลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มักจะใช้ยาในกลุ่มเอซีอีไอ หรือ ยากลุ่มเออาร์บี โดยปกติทั่วไปแล้วจะมีการใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ
- หากรับประทานยา 2 ขนาด แล้วยังไม่ได้ผล อาจจะมีการให้ใช้ยาดิลเทียเซม หรือ ยาวีราพามิลร่วมด้วย
- หากยังไม่ได้ผลอีก อาจมีการเพิ่มยากลุ่มปิดกั้นเบต้า หรือ ยากลุ่มปิดกั้นอัลฟา ร่วมด้วย
- มีการควบคุมอาหารเสมอ
- ลดอาการบวมที่เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งนับได้ว่ามีหลายกลุ่มด้วยกัน
- มีการวัดความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
- บริหารและออกกำลังกายอย่างเป็นประจำทุกวัน
วิธีการรักษาภาวะเลือดซีดจาง
ภาวะเลือดซีดจาง หรือ อาการเลือดจาง ผู้ป่วยมักจะมีอาการเหนื่อยง่าย หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เบื่ออาหาร เล็บซีด ปากซีด เป็นต้น ซึ่งภาวะซีดมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างโต หรือ อาจจะมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย มักจะมาภาวะเลือดจาง เนื่องจากขาดฮอร์โมนอีริทโทรปัวอิติน ที่ทำหน้าที่คอยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด นอกจากนี้อาจจะมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
- การเสียเลือด มีเลือดออกทางลำไส้
- การขาดธาตุเหล็ก หรือ เป็นโรคตับเรื้อรัง
- โรคธารัสซีเมีย
- โรคเอสแอลอี
- โรคมะเร็ง
- โรคไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย มักจะมีภาวะเลือดซีดจางมาก ซึ่งการตรวจเลือดในแต่ละครั้ง ควรที่จะได้รับการประเมินค่าเหล็กภายในร่างกายร่วมด้วย หากค้นพบว่ามีเฟอริตินต่ำ แพทย์จะให้ยาเม็ดธาตุเหล็กมาทาน หรือ ให้ยาฉีดแทน แต่ถ้าหากค้นพบว่าธาตุเหล็กในร่างกายมีมากแล้ว แต่เลือดยังคงซีดและจางมาก อาจจะรักษาด้วยวิธีการฉีดยากระตุ้นไขกระดูกแทน
วิธีการรักษาโรคเลือดจาง
1. หากผู้ป่วยเลือดจางไม่รุนแรง แพทย์มักจะให้ยาเม็ดธาตุเหล็ก ซึ่งผู้ป่วยควรทานวิตามินรวม พร้อมทั้งกรดโฟลิคด้วย เพื่อที่จะสามารถสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มเติมได้
2. ผู้ป่วยเลือดจางระดับปานกลาง อาจจะรักษาด้วยการใช้ยาฉีด อิริโทรปัวอิติน หรือ ยาอีโป้ แต่ต้องกินยาเสริมธาตุเหล็กร่วมด้วย ส่วนหลังจากที่ได้รับการฉีดยาชนิดนี้แล้ว จะสามารถวัดระดับภาวะเลือดจาง ได้ดังนี้
- ฮีโมโกลบิน 10-11.5 กรัม ไม่ควรเกิน 13 กรัม
- ระดับเหล็ก และ เฟอริติน อยู่ที่ 100 หน่วยขึ้นไป ถ้าผู้ป่วยฟอกไต เฟอริตินต้องอยู่ที่ 200 – 500 หน่วยขึ้นไปเท่านั้น แพทย์จะทำการฉีดยา อีริทดทรฟัวอิติน เข้าทางหลอดเลือดดำ หรือ ฉีดยาใต้ผิวหนัง ซึ่งตำแหน่งที่ฉีด ได้แก่ ต้นแขน บริเวณท้อง ต้นขา และ สะโพก
3. ผู้ป่วยเลือกจางระดับรุนแรง แพทย์อาจจะให้เม็ดเลือดที่มีความเข้มข้นเข้าทดแทน และหลังจากให้เลือดแล้ว ต่อมาอาจจะมีการฉีดยา อิริทโทรปัวอิติน ร่วมด้วย
วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันเพิ่มเติม
ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่พอ จากกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดจางควรปฏิบัติดังนี้
- นอนท่าศีรษะสูง เพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
- อยู่ภายในสถานที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง อากาศดี เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน ให้หายใจเข้าลึก ๆ
ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงหรือต้องนอนบนเตียงนาน ๆ
ญาติควรดูแลผู้ป่วยดังนี้
- ให้ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัว ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
- ควรบริหารศีรษะให้กับผู้ป่วย พร้อมทั้งบริหารแขน ขา ลำตัว มือ ท้า และข้อต่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ควรระมัดระวัง ด้วยการยกไม้กั้นเตียงขึ้น เพื่อที่จะสามารถป้องกันการตกเตียงได้
- ควรให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันที่ผู้ป่วยสามารถทำได้
ในกรณีที่เกิดสภาวะไตวายเฉียบพลัน หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไตของผู้ป่วยอาจจะกลับสู่สภาวะปกติได้อีกครั้ง ภายในระยะเวลา 3 วันเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้อาการของผู้ป่วยจะต้องไม่มีการทำลายท่อไต และ ยังคงสามารถ ปัสสาวะออกได้ตามปกติ แต่ถ้าหากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ทัน จะส่งผลทำให้เกิดการทำลายของท่อไต ซึ่งในกรณีนี้จะไม่สามารถทำให้ไตกลับมาทำงานเป็นปกติได้ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการติดตามและตรวจไตเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
“Kidney cancer statistics”. Cancer Research UK. Retrieved 27 October 2014.
“Cancer of the Kidney and Renal Pelvis – SEER Stat Fact Sheets”. National Cancer Institute, U.S. National Institutes of Health. Retrieved 2013-02-07.