สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นกับการบำรุงผิวด้วยวิตามิน

0
4297
การบำรุงผิวด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็น
วิตามินเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ติดกับเอนไซม์ เพื่อช่วยให้เอนไซม์ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกายให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การบำรุงผิวด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็น
วิตามินเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ติดกับเอนไซม์ เพื่อช่วยให้เอนไซม์ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกายให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ ได้จากการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่นั้นมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่พบว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นคุณหมอจะบอกว่าต้องรับประทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ สารต้านอนุมูลอิสระจึงจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายมีความสมดุลส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง เพราะวิตามินสามารถช่วยซ่อมแซมและลดความเสื่อมสภาพของผิวพรรณดูอ่อนเยาว์ รวมทั้งส่งผลให้เรามีอายุที่ยืนยาวได้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักวิตามินว่าคือสิ่งใด เหตุใดสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีความสำคัญต่อร่างกายมากมายนัก และวิตามินสามารถช่วยบำรุงผิวพรรณและลดความเสื่อมหรือชะลอความเยาว์วัยได้อย่างไร

ความเสื่อมหรือความชราเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน ไม่ว่าจะหญิงหรือชายทุกคนล้วนต้องแก่ชราด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งบ่งบอกถึงความชราได้อย่างชัดเจนและเป็นสิ่งแรกที่เกิดความชราก็คือ ผิวพรรณภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะว่าเซลล์ผิวหนังที่มีอายุได้ประมาณ 20-30 วันก็จะตายและหลุดออกเป็นขี้ไคล นอกจากนั้นยังมีลักษณะของผิวพรรณที่บ่งบอกถึงความชรามีอยู่ด้วยกันหลายแบบ

  • ชั้นหนังกำพร้า ( Epidermis ) มีขนาดที่บางลง 10 – 50% ของความหนา ทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองและแพ้ได้ง่าย
  • stratum spinosum มีอาการฝ่อ ( atrophy ) เกิดขึ้นทำให้ผิวเกิดความหย่อนคล้อยซึ่งเป็นที่มาของเกิดริ้วรอย
  • เซลล์ผิวหนังที่หมดอาอายุแล้วไม่สามารถหลุดลอกออกมาจากชั้นหนังกำพร้าได้ ทำให้บริเวณผิวมีลักษณะคล้ายกับสะเก็ดสีขาวเกิดขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยให้เซลล์ผิวไม่เสื่อมสภาพเร็ว
  • ผิวหนังเกิดการสูญเสียน้ำมันที่มีอยู่ตามธรรมชาติในชั้นของผิวหนัง จึงทำให้ผิวหนังเกิดอาการแห้งขาดความชุ่มชื่นและยังส่งผลให้เกิดอาการคันเนื่องมากจากผิวหนังแห้ง
  • ชั้นหนังแท้มีการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินน้อยลง เนื่องจากมีการเซลล์ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่ตายไปในปริมาณที่น้อยลง ผิวหนังจึงขาดคอลลาเจนและอีลาสตินส่งผลให้ผิวชั้นหนังแท้มีขนาดความหนาลดลง จึงมีลักษณะคล้ายกับมวนบุหรี่ที่ยับ ๆ
  • ปริมาณของชั้นไขมันที่อยู่ในชั้นหนังแท้ยังมีขนาดที่บางลง เนื่องจากมีสารสร้างไขมันขึ้นมาทดแทนไขมันที่สูญเสียไปน้อยลงจึงเกิดช่องว่างระหว่างชั้นหนังแท้และชั้นหนังกำพร้ามีขนาดทีกว้างมากขึ้น ส่งผลให้ผิวชั้นหนังแท้เกิดช่องว่างโดยเฉพาะที่บริเวณใต้ตาเกิดเป็นถุงใต้เตา ที่บริเวณแก้มทำให้แก้มมีลักษณะหย่อนยาน

สารต้านอนุมูลอิสระ มีความทนต่อความชราจะนำมาซึ่งความเสื่อมของผิวพรรณเป็นสิ่งแรกก่อนที่จะเข้าไปสู่อวัยวะอย่างอื่น เช่น กล้ามเนื้อ กระดูกและสมอง ซึ่งสังเกตได้ว่าเมื่อเราอายุประมาณ 30 ปีผิวหนังของเราก็จะเริ่มมีปัญหาและริ้วรอยเกิดขึ้นอย่างชัดเจน แต่กล้ามเนื้อ สมอง กระดูกยังสามารถใช้งานได้อย่างปกติ ไม่มีความบกพร่องหรือความเสื่อมที่บ่งบอกถึงความชราที่เกิดขึ้นเลย

เซลล์ผิวหนังที่มีอายุได้ประมาณ 20-30 วันก็จะตายและหลุดออกเป็นขี้ไคล

สารต้านอนุมูลอิสระสาเหตุที่มาของความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับผิวพรรณ

1. พันธุกรรม ( Gene )  ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับมาจากพ่อแม่และบรรพบุรุษที่สามารถกำหนดอายุของเซลล์ภายในร่างกายว่าจะมีอายุอยู่ได้นานแค่ไหน และร่างกายจะเกิดความเสื่อมของระบบการทำงานเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งพันธุกรรมของแต่ละบุคคลจะความแตกต่างกันออกไป เช่น ชาวยุโปกับชาวเอเชีย เราจะพบว่าชาวยุโรปจะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่แสดงถึงความแก่ชรา ทั้งริ้วรอย ความหมองคล้ำมากกว่าชาวเอเชียที่จะมีลักษณะที่ดูอ่อนเยาว์กว่าชาวยุโรปทั้งที่มีอายุเท่ากัน ที่เป็นแช่นนั้นก็เนื่องมาจากลักษณะทางพันธุกรรมนที่ทำหน้าที่ควบคุมอายุของเซลล์มีความต่างกันนั่นเอง

2. การทำงานของระบบการสร้างของเซลล์ ( cellular senescence )
ร่างกายของเราจะมีกระบวนการสร้าง สารต้านอนุมูลอิสระ และย่อยสลายเซลล์เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณเซลล์และขจัดเซลล์ที่หมดอายุออกจากร่างกาย โดยใช้เอนไซม์ เช่น เอนไซม์คอลลาเลส ( Collagenase หรือ metalloproteinase-1, MMP-1 ) และ เอนไซม์ stromelysin ( metalloproteinase-3, MMP-3 ) ที่มีทำหน้าที่ในการย่อยสลายคอลลาเจน ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้จะสามารถยับยั้งด้วย tissue inhibitorof metalloproteinases ( TIMPs ) ซึ่งในสภาวะปกติที่ร่างกายไม่เกิดความชราปริมาณตัวยับยั้งเอนไซม์จะมีมากกว่าปริมาณของเอนไซม์ จึงทำให้เอนไซม์สามารถทำลายคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวได้ในปริมาณที่น้อย แต่ในสภาวะที่ร่างกายเกิดความชราหรือความเสื่อมเกิดขึ้นนั้น ปริมาณของตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์จะมีน้อยกว่าปริมาณของเอนไซม์ จึงทำให้เอนไซม์สามารถทำลายคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวได้มากกว่าปกติ จึงส่งผลให้ชั้นหนังแท้เกิดช่องว่างมากขึ้น เนื่องจากปริมาณคอลลาเจนที่สร้างขึ้นมาและมีอยู่ในร่างกายไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มช่องว่างได้หมด

3. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน
สารต้านอนุมูลอิสระ กับฮอร์ใมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการแสดงออกของเพศหญิง เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นมาจากรังไข่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนนอกจากมีหน้าที่ในการแสดงออกของเพศหญิงแล้ว ฮอร์โมนนี้ยังมีหน้าที่ในการช่วยกระตุ้นการสร้างไฟโบรบลาสต์ ( Fibroblast ) ที่ทำหน้าที่ช่วยในการผลิตคอลลาเจนและอิลาสตินที่อยู่ใต้ผิวเพื่อนำมาทดแทนคอลลาเจนและอีลาสตินที่ต้องสูญเสียไปตามธรรมชาติ และยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างเม็ดสีเมลานินที่อยู่ในชั้นผิวเมลาโนไซต์ ( Melanocyte ) ให้สามารถทำงานได้เพิ่มมากขึ้น ในการป้องกันการเกิดผิวหมองคล้ำ ฝ้าและกระ ดังนั้นถ้าร่างกายมีการสร้างไฟโบรบลาสต์น้อยลงเนื่องจากปริมาณฮอรโมนเอสโตรเจนที่น้อยลงตามอายุแล้ว ก็จะส่งผลให้ผิวเกิดความเสื่อมขึ้นเป็นที่มาของความแก่ของผิวหนัง

4. สารอนุมูลอิสระ ( Free Radical )
สารอนุมูลอิสระ มีทั้งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและการได้รับจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เนื่องจากอนุมูลอิสระมีอยู่รอบตัวเรา ทั้งในอาหาร อากาศที่เราสัมผัสอยู่ทุกวัน แสงแดด ความร้อน เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณน้อย ร่างกายจะสามารถขจัดอนุมูลอิสระออกมาได้เองตามธรรมชาติ แต่ว่าเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายได้รับปริมาณสารอนุมูลอิสระในปริมาณที่มากจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ( Oxidative stress ) ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Oxidation ) รีดักชั่น ( Reduction ) โดยเฉพาะอนุมูลอิสระออกซิเจน ( Reactive oxygen species หรือ ROS ) และ อนุมูลอิสระไนโตรเจน ( Reactive nitrogen species หรือ RNS ) ที่ได้รับจากภายนอก เช่น ควันบุหรี่ ควันรถ สารเคมี แสงแดด เป็นต้น โดยเฉพาะแสงแดดที่ทอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา จนถึง 16.00 นาฬิกาที่มีความเข้มข้นของรังสีอัตราไวโอเลตสูง จะมีทำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ( Oxidative stress ) ซึ่งกระบวนการภาวะเครียดออกซิเดชั่นจะทำให้ผิวหนังเกิดความเสื่อมได้จากการที่ อนุมูลอิสระออกซิเจน ( Reactive oxygen species หรือ ROS ) และ อนุมูลอิสระไนโตรเจน ( Reactive nitrogen species หรือ RNS ) เข้าไปกระตุ้นการทำงานภายในนิวเคลียสของเซลล์ในระบบการสร้างเอนไซม์คอลลาเลส ( Collagenase หรือ metalloproteinase-1, MMP-1 ) และ เอนไซม์ stromelysin ( metalloproteinase-3, MMP-3 ) ทำให้เกิดกระบวนการทำลายคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวหนังส่งผลให้ปริมาณคอลลาเจนลดลงจึงทำให้ผิวแลดูแก่และเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

จากปัจจัยที่ส่งผลให้ผิวพรรณเกิดควาเสื่อม พบว่าสารอนุมูลอิสระที่ได้รับภายนอกส่งผลให้เกิดความเสื่อมของผิวพรรณมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากอนุมูลอิสระที่ได้รับจากภายนอกจะเข้าไปกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นทำให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการขจัดอนุมูลอิสระหรือ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีอยู่ในร่างกายมีปริมาณที่น้อยก็จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเสื่อมได้มากขึ้นโดยเฉพาะส่วนของผิวพรรณที่เกิดความเสื่อมก่อนอวัยวะอื่น ดังนั้นเวชศาสตร์ชะลอวัยจึงให้ความสำคัญกับการทำงานของระบบเอนไซม์ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อระบบเอนไซม์ของร่างกายสามารถทำงานได้ดี การขจัดสารอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกายออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระบบการสร้างคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวสามารถสร้างคอลลาเจนขึ้นมาทดแทนปริมาณคอลลาเจนที่สูญเสียไปได้อย่างเพียงพอ

เอนไซม์ ( Enzyme ) คือ โปรตีนที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเร่งในการเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกายของเรา ส่งผลให้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ทั้งปฏิกิริยาการสร้างและปฏิกิริยาการสลายทุกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในร่างกายนั้น จะต้องอาศัยเอนไซม์ในการเร่งให้เกิดการปฏิกิริยาแทบทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่าเอนไซม์นับเป็นสารที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำงานของร่างกาย แต่การทำงานของเอ็นไซม์บางชนิดจะไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวของเอนไซม์เอง แต่จะต้องมีตัวช่วยอย่างโคเอนไซม์ ( Co-enzyme ) เข้ามาช่วย เอนไซม์จึงจะสามารถทำการเร่งการเกิดปฏิกิริยาให้ระบบสามารถทำงานได้

โคเอนไซม์ ( Co-enzyme ) คือ โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ขนาดเล็ก แต่สารประกอบอินทรีย์นี้จะไม่ใช่โปรตีนเหมือนกับเอนไซม์ ซึ่งโมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าวจะเข้ามาเกาะอยู่กับโครงสร้างของเอนไซม์ส่วนที่ไม่สามารถเข้าไปเร่งทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ หรือที่เรียกว่า “อะโพเอนไซม์ ( Apoenzyme )” เพื่อทำให้เอนไซม์สามารถทำการเร่งปฏิกิริยาทางชีวิเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายให้สามารถเกิดขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โคเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อร่างกายส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินซี วิตามินดี วิตามินเอ เป็นต้น
“วิตามิน” มาจากการรวมกันของคำสองคำ คือ ไวตา ( VITA ) รวมกับคำว่า เอมีน ( AMIN ) ที่หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในปริมาณเล็กน้อยเพียงแค่มิลลิกรัมหรือไมโครกรัมต่อวันเท่านั้น ซึ่งวิตามินนี้เป็นสารเคมีอินทรีย์ที่มีโมเลกุลของคาร์บอน วิตามินเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะวิตามินจะมีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลของระบบภายในร่างกายทุกระบบ ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมเอนไซม์ให้สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในสร้างคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวหนังให้มีการสร้างในปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ลดความแก่ที่เกิดขึ้นกับผิวหนังได้เป็นอย่างดี

วิตามินเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ติดกับเอนไซม์ เพื่อช่วยให้เอนไซม์ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกายให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วิตามินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ( Water soluble )
วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ คือ วิตามินชนิดนี้สามารถละลายได้ดีในน้ำ เช่น วิตามินซี วิตามินบี เป็นต้น เมื่อวิตามินชนิดนี้ละลายได้ในน้ำจึงทำให้เมื่อร่างกายได้รับวิตามินเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไม่เกิดการสะสมวิตามินชนิดนี้ไว้ในร่างกายเพื่อใช้ในอนาคต แต่จะขับออกจากร่างกายทันทีที่เหลือจากการใช้งาน โดยจะทำการขับออกมาทางปัสสาวะเป็นส่วนมาก ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับวิตามินนี้จากภายนอกวิตามินจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการทำงานของร่างกายในทันทีและส่วนเกินจากการใช้งานร่างกายก็จะทำการขับออกมาทันทีเช่นกัน ทำให้เป็นวิตามินชนิดนี้เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพิ่มอยู่ตลอดเวลาจากภายนอกร่างกาย และวิตามินชนิดนี้ยังสามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อนอีกด้วย 

2. วิตามินที่ละลายในไขมัน ( Fat soluble )
วิตามินที่ละลายในไขมัน คือ วิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินดีและวิตามินเค เป็นต้น วิตามินชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าสู่ร่างกายส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้งานในการสร้างสมดุลให้กับร่างกาย และส่วนเกินที่เหลือจากการใช้งานร่างกายจะนำไปเก็บไว้ที่ตับและบริเวณของเนื้อเยื่อไขมันต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนที่มีการสะสมของไขมันในปริมาณที่สูง เช่น ต้นขา พุง สะโพก และร่างกายไม่สามารถขจัดวิตามินที่ละลายได้ในไขมันออกจากร่างกายได้ทำให้แต่การเก็บสะสมไว้ในไขมันของร่างกาย ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับและมีการสะสมจนทำให้วิตามินชนิดมีมากเกินไปในร่างกายก็จะส่งผลให้เกิดภาวะที่เป็นพิษได้ เช่น ผมร่วง ท้องเสีย อาเจียน ปวดศีรษะ ตับบวมโต ปวดกระดูก และเกิดอาการเลือดหยุดไหลยาก เป็นต้น ร่างกายจึงไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินที่ละลายได้ในไขมันทุกวัน

วิตามินเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ ( Co-enzyme ) ติดอยู่กับเอนไซม์เพื่อช่วยให้เอนไซม์ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิตามินจะทำหน้าที่ช่วยป้องกันความชราของผิวหนังอยู่ 2 รูปแบบ

1. กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
โดยเฉพาะวิตามินซีจะสามารถเข้าไปช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวได้เป็นอย่างดี โดยที่วิตามินจะเข้าไปทำหน้าที่ในการเติมหมู่ไฮดรอกซิล ( hydroxyl group ) ให้กับไฮโดรโพรลีน ( Hydropropren ) กลายเป็นโปรคอลลาเจน ( procollagen ) และโทรโปคอลลาเจน ( tropocollagen ) ต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการสร้างสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์คอลลาเจนให้กับร่างกาย โดยเมื่อร่างกายทำให้มีการสร้างโทรโปคอลลาเจน ( tropocollagen ) เพิ่มขึ้น เมื่อมีปริมาณโทรโปคอลลาเจน ( tropocollagen ) เพิ่มขึ้น เอนไซม์ lysyl oxidase จะสามารถทำการรวมโทรโปคอลลาเจน ( tropocollagen ) ให้กลายเป็นเส้นใยคอลลาเจนได้ในปริมาณที่มากขึ้น นั้นคือวิตามินมีหน้าที่ช่วยให้มีการสร้างคอลลาเจนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นถ้าร่างกายขาดวิตามินแล้วก็จะส่งผลให้ไม่มีการสร้างโทรโปคอลลาเจน ( tropocollagen ) ที่จะนำไปผลิตคอลลาเจน จึงทำให้ปริมาณคอลลาเจนในร่างกายลดลงนั่นเอง

2. ลดการสลายคอลลาเจน
โดยวิตามินนับเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ชั้นเยี่ยมที่ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายผนังเซลล์และสร้างเอนไซม์คอลลาเลส ( Collagenase ) ได้ เนื่องจากวิตามินเป็นโมเลกุลที่มีความว่องไวในการจับกับตัวรับและสามารถเข้าไปยับยั้งการ โดยวิตามินที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปจับตัวกับอนุมูลอิสระออกซิเจน ( Reactive oxygen species หรือ ROS )และ อนุมูลอิสระไนโตรเจน ( Reactive nitrogen species หรือ RNS ) ก่อนที่อนุมูลอิสระทั้งสองนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของนิวเคลียสภายในเซลล์เพื่อสร้างเอนไซม์คอลลาเลส ( Collagenase ) ออกมาทำการย่อยสลายคอลลาเจน ทำให้เซลล์ไม่มีการสร้างเอนไซม์เอนไซม์คอลลาเลส ( Collagenase ) คอลลาเจนที่อยู่ภายในร่างกายจึงไม่ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังมีปริมาณคอลลาเจนสูง ช่วยในการ

เมื่อร่างกายได้รับวิตามินไม่เพียงพอจนร่างกายเกิดภาวะขาดความสมดุลของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายแล้ว จะส่งผลให้การทำงานของเอนไซม์มีการทำงานที่ผิดปกติและอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายกระบวนการสร้างคอลลาเจน ส่งผลให้ร่างกายมีการสร้างคอลลาเจนเกิดขึ้นน้อยลงและยังเข้าไปกระตุ้นการสลายคอลลาเจนที่มีอยู่ให้อ่อนแอ เนื่องจากการทำงานของเอนไซม์ทำการสลายคอลลาเจนได้มากขึ้น จึงทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดความเสื่อมสภาพมากขึ้น จึงทำให้ผิวหนังดูแก่เร็วกว่าที่ควร ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลตามที่ร่างกายต้องการจึงเป็นหนทางที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของผิวพรรณได้เป็นอย่างดี โดยวิตามินจะทำหน้าที่ในการส่งเสริมให้ระบบการสร้างคอลลาเจนมีการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้มีการสร้างคอลลาเจนได้มากขึ้น และช่วยลดการสลายคอลลาเจนทำให้คอลลาเจนมีความแข็งแรง และวิตามินยังเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทรงประสิทธิภาพยอดเยี่ยม จึงช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ผิวและคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวหนังโดนทำลายได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ตึงกระชับดูอ่อนเยาว์ ซึ่งการรับประทานอาหารประจำวันเพียงอย่างเดียว ร่างกายอาจได้รับวิตามินที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินและ สารต้านอนุมูลอิสระ ให้กับร่างกาย เพื่อที่ระบบการทำงานของร่างกายจะได้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพที่สมบูรณ์อายุยืนยาวนับร้อยปีแบบมีคุณภาพ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน. ผิวสวย : กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์, 2558.

Idson B: Vitamins of the skin; Cosmet Toilet 1993: 79-92.

Japsen, Bruce (15 June 2009). “AMA report questions science behind using hormones as anti-aging treatment”. The Chicago Tribune. Retrieved 17 July 2009.