คอเลสเตอรอลชนิดที่ต้องควบคุมไม่ให้สูงเกินไป Low-Density Lipoprotein (LDL)
LDL เป็นไขมันที่ความหนาแน่นต่ำชนิดหนึ่ง ถูกสร้างขึ้นจากตับ ซึ่งถ้ารับมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย

Low Density Lipoprotein

Low Density Lipoprotein ( LDL ) คือ ไขมันที่ความหนาแน่นต่ำ เป็นคอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดไม่ดี ส่งผลเสียต่อร่างกายและต้องถูกควบคุมไม่ให้สูงเกินไป หากมีมากเกินไปจะเข้าไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบและแข็ง ทำให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้ LDL ถูกสร้างขึ้นจากตับ จากนั้นจะเข้าสู่กระแสเลือดโดยอาศัยตัวนำอย่าง ไลโปรตีน จะเรียกว่า  LDL-c

การตรวจวัดค่าระดับ LDL ในแต่ละช่วงอายุ

การตรวจเลือดสามารถวัดระดับคอเลสเตอรอลของคุณรวมถึง LDL คุณควรได้รับการทดสอบนี้เมื่อใดและบ่อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับอายุ ปัจจัยเสี่ยง และประวัติครอบครัวของคุณ คำแนะนำทั่วไป คือ

  • ผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ครั้งแรก
  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ปีขึ้น ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ทุกๆ 5 ปี
  • ผู้ชายอายุ 45 ถึง 65 ปี และผู้หญิงอายุ 55 ถึง 65 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ทุก 1 ถึง 2 ปี

การตรวจวัดค่า LDL-c

โดยปกติวิธีที่สามารถตรวจหาค่า LDL-c ได้นั้น มี 2 วิธีดังนี้

1. การตรวจโดยตรง Direct LDL-c
การตรวจโดยวิธี Direct LDL-c คือ การตรวจเพื่อหาค่า LDL โดยตรง ซึ่งสามารถตรวจได้โดยการเจาะเลือดไปตรวจโดยแพทย์ วิธีนี้จะให้ผลที่แม่นยำ

2. การคำนวณด้วยค่าของคอเลสเตอรอลตัวอื่นๆ LDL ( calc )การตรวจวิธีที่การคำนวณด้วยค่าของคอเลสเตอรอลตัวอื่นๆ คือ การนำผลตรวจของ Total cholesterol ( TC ), High Density Lipoprotein ( HDL ) และ Triglyceride ( TG ) มาเข้าสูตรเพื่อหาค่า LDL การตรวจ LDL ส่วนมากจะใช้วิธีคำนวณโดยอาศัยสูตรวิธีนี้ เนื่องจากสะดวกประหยัด และรวดเร็วซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้

LDL = TC – HDL – 20% TG

คณะผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์เลือด นำโดย ดร.เต วาย วัง ( The Y. Wang, Ph.D. ) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ LDL ทั้ง 2 วิธีว่า ค่าที่ตรวจได้จะมีเท่าหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข คือ ค่าของ Triglyceride จะต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg / dL หรือไม่ต่ำกว่า 50 mg / dL หากค่าที่ตรวจอยู่ในระหว่างเกณฑ์ ก็ถือว่า LDL ที่ตรวจมีผลที่น่าเชื่อถือได้ แต่หากค่าของ Triglyceride ไม่อยู่ในเกณฑ์ ควรตรวจ LDL ด้วยวิธี Direct LDL-c เท่านั้น จึงจะได้ผลตรวจที่แม่นยำที่สุด

ตัวอย่างการตรวจหาค่า LDL

ผู้ป่วยรายหนึ่งทำการตรวจวัดค่าของคอเลสเตอรอลต่างๆได้ดังนี้

TC        =    262 mg / dL ,  HDL     =   79 mg / dL , TG       =   55 mg / dL

ดังนั้นผู้ป่วยรายนี้ สามารถตรวจหาค่า LDL ได้ทั้ง 2 วิธี เนื่องจากค่าของ TG   =   55 mg / dL ซึ่งอยู่ในค่ามาตรฐานของ Triglyceride ( 50 – 400 mg / dL )

จากสูตร LDL = TC – HDL – 20% TG   นำมาแทนค่าเพื่อเข้าสูตรได้ดังนี้   

LDL = 262 – 79 – ( 55 * 20 / 100 ) = 172 mg / dL

วิธีลดระดับค่า LDL

เนื่องจากค่าของ LDL คือปริมาณของไขมันชนิดที่ไม่ดีที่อยู่ในร่างกาย ดังนั้นจึงมีวิธีในการลดค่า LDL ในร่างกายลง เพื่อให้เป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. เลือกประเภทของอาหารที่จะทาน โดยเน้นทานอาหารครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อร่างกาย เช่น     

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ( cholesterol ) จำพวกอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก หรืออหากจำเป็นจะต้องทาน ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากจนเกินไป
  • หลีกเหลี่ยงอาหารทีมีไขมันชนิดอิ่มตัว ( Saturated Fat ) ที่เป็นไขมันชนิดไม่ดี ซึ่งสามารถพบได้ในกลุ่มอาหารดังต่อไปนี้ เช่น เนื้อสัตว์ นม เนยในน้ำมันปาล์มเป็นต้น โดยไขมันประเภทอิ่มตัวนี้ จะเพิ่มค่าทั้ง LDL และ HDL รวมถึงค่า TC ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ ( Trans Fat ) เช่น เนยเทียม มาการีน ผงฟูที่ใส่ในขนม เป็นต้น  ไขมันประเภทนี้ จะไปทำการเพิ่มค่า LDL และลดค่า HDL ในร่างกายลงด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุงสูงๆ เพราะจะทำให้เกิดไขมันทรานส์ ขึ้นในอาหารชนิดนั้น  เช่น  อาหารในร้านฟาสต์ฟู้ดต่างๆ
  • ในแต่ละมื้อควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง ( Fiber ) เช่น ผัก ผลไม้ ทุกชนิด

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  โดยให้ใช้เวลาในการออกกำลังกายติดต่อกันนาน 30 นาทีขึ้นไป จะส่งผลให้ลดปริมาณของ  LDL และเพิ่ม HDL ไปด้วยพร้อมๆ กัน

3. ควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4. งดการสูบบุหรี่อย่างถาวร ไม่ใช่การลดปริมาณ

5. ในกรณีที่ค่า LDL สูงกว่าปกติ ควรพบแพทย์  เพื่อรับยาลดปริมาณ LDL ในร่างกาย

ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระดับ LDL ภายในร่างกาย

  • อาหาร โดยเฉพาะของทอดเป็นไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ในอาหารที่คุณกินทำให้ระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) การมีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับแอลดีแอล และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลอีกด้วย
  • การออกกำลังกายที่ไม่สม่ำเสมอ หรือการไม่ออกกำลังกาย อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้ระดับ LDL ของคุณสูงขึ้นตามมาด้วย
  • การสูบบุหรี่ทำให้ HDLหรือไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายลดลง เนื่องจากเอชดีแอลช่วยในการกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ LDL ออกจากหลอดเลือดแดง หากร่างกายมี HDL น้อยนั่นอาจส่งผลทำให้ร่างกายมีระดับ LDL ที่สูงขึ้น
  • อายุและเพศ เมื่อผู้หญิงและผู้ชายอายุมากขึ้นระดับคอเลสเตอรอล cholesterol ก็จะสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะมีระดับคอเลสเตอรอลรวมต่ำกว่าผู้ชายในวัยเดียวกัน หลังจากวัยหมดประจำเดือนระดับ LDL ของผู้หญิงมักจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • กรรมพันธุ์และยีน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น พ่อหรือแม่มีไขมันในเลือดสูงเมื่อมีลูก ลูกก็มีโอกาสเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดสูงที่สืบทอดมาจากครอบครัว หากไม่ดูแลใส่ใจและชอบรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์สุขภาพของตนเองรวมถึงอาหารที่ทำให้อ้วน และเครื่องดื่มที่ทำให้อ้วน อาหารที่ทำจากน้ำมันกับเนย เช่น ขนมปังขาว น้ำหวาน เฟรนช์ฟรายส์ น้ำอัดลม ของทอดทุกชนิด แอลกอฮอล์ ขนมอบกรอบ ขนมหวาน ชาและกาแฟที่ใส่ครีม ใส่น้ำตาลหวานๆ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด น้ำผลไม้สำเร็จรูปที่ผสมน้ำตาล
  • การใช้ยาบางอย่างรวมถึงยาเตียรอยด์ ยาความดันโลหิต และยารักษาโรคเอชไอวีที่สำคัญผู้ป่วยโรคเอดส์อาจมีระดับ LDL ในเลือดสูงได้เช่นกัน
  • เชื้อชาติ โดยเฉพาะประเทศที่นิยมกินชีส เนย ทำอาหารโดยการทอดเป็นประจำ ขนมปังขาวเป็นอาหารหลักพบว่าจะมีระดับแอลดีแอล คอเลสเตอรอลสูงกว่า 

การวินิจฉัยความผิดปกติของคอเลสเตอรอล LDL

ความผิดปกติของไขมันได้รับการวินิจฉัยโดยการเจาะเลือด ผู้ป่วยควรอดอาหารก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันทุกชนิด ( ดื่มน้ำเปล่าได้ )

  • ผลที่ออกมาพบว่า ค่า น้อยกว่า 100 mg/dL แปลว่า ค่าไขมันในเลือดปกติ
  • ผลที่ออกมาพบว่า ค่า มากกว่า 130 mg/dL ขึ้นไป แปลว่า ค่าไขมันในเลือดเริ่มสูง อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง

ดังนั้น การใช้ผลตรวจจากค่า LDL ที่ได้แพทย์สามารถในการคำนวณโอกาสความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยแต่ละคนได้อีกด้วย ค่าของ LDL ที่วัดได้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินผลถึงค่าความเสี่ยงต่อโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Heart Disease ) หรือ CHD ได้ โดยวิธีการคำนวณจะใช้อัตราส่วน LDL ต่อ HDL ( คล้ายกับอัตราส่วน TC ต่อ HDL ) ดังนี้

การคำนวณความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ค่าของ LDL ที่วัดได้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินผลถึงค่าความเสี่ยงต่อโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Heart Disease ) หรือ CHD ได้ โดยวิธีการคำนวณจะใช้อัตราส่วน LDL ต่อ HDL ( คล้ายกับอัตราส่วน TC ต่อ HDL ) ดังนี้

อัตราส่วน LDL : HDL ( หรือ LDL ÷ HDL )

ตารางแสดงอัตราส่วน LDL : HDL แสดงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ค่าความเสี่ยง ชาย หญิง
ต่ำกว่าปกติ 1.0 1.5
ปกติ 3.6 3.2
มีความเสี่ยง 6.3 5.0
ความเสี่ยงสูง 8.0 6.1

ค่าปกติของ Direct LDL-c

หลังจากทำการตรวจวัดค่าของ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) แล้ว ซึ่งสามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี  ให้นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับตารางดังต่อไปนี้ เพื่อจะได้ทราบว่า สุขภาพของเรานั้นมีปริมาณ LDL อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อใด ดังนี้

การจัดค่า ชาย หญิง
Direct LDL-c ( mg/dL )
ค่าปกติ ( ดีมาก ) <100 <110
เกือบดี 100 – 129 110 – 129
เริ่มสูง 130 – 159 >129
สูง 160 – 189
สูงมาก >190

จากตารางสามารถสรุปได้ว่า ค่าของ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) ในร่างกายของผู้ชายไม่ควรให้มีค่าเกิน 129 mg/dL ส่วนในเพศหญิงต้องไม่เกิน 129 mg/dL เท่ากัน  และหากค่าที่วัดได้เกินกว่าค่ามาตรฐาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาและทางป้องกัน ต่อไป

หากมี LDL ในร่างกายมากไปจะกลายเป็นไขมันตัวร้ายที่สามารถทำให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้

กรณีค่า LDL-C มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. ตรวจวัด LDL-C ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลว่า

  • อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัว
  • อาจเกิดสภาวะร่างกายมีโปรตีนต่ำกว่าปกติ  ( Hypoproteinemia ) ซึ่งอาจเกิดจาการดูดซึมอาหารของลำไส้ทำได้น้อยกว่าปกติ  โดยอาจมีสาเหตุจากบริโภคอาหารที่มีโปรตีนต่ำเกินไปหรือ เกิดบาดแผลจากไฟลวกอย่างรุนแรง
  • อาจเกิดสภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ทำให้เกิดการแยกสลาย Catabolism LDL และ VLDL มากเกินไป ส่งผลให้จำนวน Low-Density Lipoprotein ( LDL ) ในกระแสเลือดลดลง

2. ตรวจวัด LDL-C ได้มากกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลว่า

  • อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัว
  • อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
  • อาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคตับเรื้อรัง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำลาย LDL ในร่างกายลดลงไปด้วย
  • อาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น  ทานอาหารที่ไขมันสูง สูบบุหรี่จัด หรือเป็นผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย
  • อาจเกิดจากไตทำงานผิดปกติ โดยปล่อยทิ้งสารอาหารประเภทโปรตีน ออกมามากว่าปกติทางปัสสาวะ จึงมีผลไปกระตุ้นตับให้เร่งผลิต LDL ให้มีขึ้นมากกว่าปกติ
  • อาจเกิดโรคความผิดปกติของการสะสมไขมัน ( Von Gierkdesease ) ซึ่งเกิดจากปัญหาที่ร่างกายมีเอนไซม์จากโปรตีนต่ำ ทำให้การสลายไกลโคเจน ที่เป็นน้ำตาล ทำได้แย่ลง

7 สุดยอดอาหารที่ช่วยลด LDL ที่คุณสามารถทานได้ทุกวัน

จากการศึกษาพบว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์สามารถช่วยป้องกันและลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้โดยโภชนาการบำบัด หรืออาหารบำบัดโรค ( Diet therapy ) เป็นการใช้อาหารช่วยในการรักษาโรคโดยการดัดแปลงอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันให้มีส่วนผสมของอาหารดังต่อไปนี้ในทุก ๆ มื้ออาหารทั้งอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็น
ให้เป็นอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
1. ข้าวโอ๊ต ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจเนื่องจากมีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้สูงเรียกว่า เบต้ากลูแคน ซึ่งเบต้ากลูแคนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือดได้ง
2. ผักและผลไม้ ได้แก่ มะเขือม่วง กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบแดง แอปเปิ้ล องุ่น สตรอเบอร์รี่ ผลไม้รสเปรี้ยว หัวหอมใหญ่มีสรรพคุณช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด กำจัดคอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL ) ควรรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายของผักและผลไม้ที่มีสีสันเป็นประจำสามารถช่วยปกป้องโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งบางชนิด ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล LDL ที่ไม่ดีในเลือดของคุณ
3. รับประทานอาหารที่อุดมด้วยไขมันชนิดดี เช่น อะโวคาโด ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน พืชตระกูลถั่ว ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจด้วยเนื่องจากอาหารเหล่านี้มีไขมันเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ดีต่อหัวใจจะช่วยเพิ่มระดับ HDL คอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด
4. น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ใช้ประกอบอาหารแทน น้ำมันหมู เนย จะช่วยลดระดับ LDL
5. ดาร์กช็อกโกแลตและโกโก้ จากการศึกษาพบว่าดาร์กช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้ 75–85% ขึ้นไป ซึ่งมีฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูงกว่าการกินอาหารตามปกติในแต่ละมื้อที่สำคัญเป็นประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในเลือดได้
6. มันฝรั่ง ให้โพแทสเซียมที่ดีต่อหัวใจมากกว่ากล้วย เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่สำคัญทั้งหมดนี้ในปริมาณที่เพียงพอยังสามารถลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด
7. ผักใบเขียว ได้แก่ ผักคะน้า บร็อคโคลี ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง ผักเคลหรือคะน้าใบหยักจากการศึกษาพบว่าช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามร่างกายของเราก็ยังต้องการคอเลสเตอรอล เนื่องจากคอเลสเตอรอลมีบทบาทสำคัญต่อความสามารถในการสร้างเซลล์ที่แข็งแรง หากร่างกายขาดคอเลสเตอรอลก็ไม่สามารถทำงานได้ แต่ควรมีคอเลสเตอรอล LDL ในระดับที่เหมาะสมจึงจะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา และควรเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี HDL เพราะ cholesterol ที่ดีจะช่วยขจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีออกจากกระแสเลือดได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“LDL and HDL: Bad and Good Cholesterol”. Centers for Disease Control and Prevention. CDC. Retrieved 11 September 2017.

Dashty M, Motazacker MM, Levels J, de Vries M, Mahmoudi M, Peppelenbosch MP, Rezaee F (2014). “Proteome of human plasma very low-density lipoprotein and low-density lipoprotein exhibits a link with coagulation and lipid metabolism.”. Thromb Haemost.

Dashti M, Kulik W, Hoek F, Veerman EC, Peppelenbosch MP, Rezaee F (2011). “A phospholipidomic analysis of all defined human plasma lipoproteins.”. Sci Rep. 1 (139). PMC 3216620 Freely accessible.