โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน

0
6624
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) คือ โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้เนื้อเยื้อมีลักษณะเป็นปุ่มและกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน
โรคตับแข็ง คือ โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้เนื้อเยื้อมีลักษณะเป็นปุ่มและกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ

โรคตับแข็ง คือ

โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) คือ โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวรใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 15 ถึง 20 ปี ทำให้เนื้อเยื้อมีลักษณะเป็นปุ่มและกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนสุขภาพแข็งแรง เนื่องจากความสามารถในการกำจัดเชื้อลดลง

สาเหตุของตับแข็ง

1. ไขมันพอกตับจากการดื่มสุรา
2. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
3. โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน
4. ความผิดปกติของเมตาบอริซึม เช่น ภาวะเหล็กเกิน โรควิลสัน
5. ยาและสารพิษ
6. โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหัวใจด้านขวาล้มเหลวเรื้อรัง
7. โรคตับอักเสบเหตุไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา
8. โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

อาการของตับแข็ง

โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมาก อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนและระยะของโรค ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยได้แก่

  • มีไข้ต่ำๆ
  • อาการอ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • ผอมลงน้ำหนักลด
  • ภาวะบวมทั่วร่างกาย
  • ผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ดีซ่าน ( Jaundice ) เช่น อาการตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ท้องมาน ( ascites ) ท้องโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ร่างกายส่วนอื่นผอมลง
  • มีอาการแน่นใต้ชายโครงขวา หรือคลำก้อนได้ใต้ชายโครงขวา หรือม้ามโต
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • อาการทางสมอง ผู้ป่วยมีอาการสับสน ไม่ค่อยรู้ตัว

การวินิจฉัยตับแข็งโดยแพทย์

1.การซักถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เช่น มีประวัติการดื่มสุราเป็นเวลานาน
2.การตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ
3.ตรวจภาพตับด้วยอัลตราซาวด์
4. เจาะชิ้นเนื้อจากตับ ตรวจทางพยาธิวิทยา

ระยะของตับแข็ง

  • ระยะที่ 1 ผู้ป่วยระยะ compensated ที่ตรวจไม่พบภาวะท้องมาน และไม่พบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1 ต่อปี
  • ระยะที่ 2 ผู้ป่วยระยะ compensated ที่ตรวจพบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง โดยที่ไม่มีภาวะท้องมานและไมมีเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 3 – 4 ต่อปี หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นอัตราการเสียชีวิตต่อปีก็จะมากขึ้น
  • ระยะที่ 3 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่ตรวจพบภาวะท้องมาน โดยมีหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพองร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้แต่ต้องไม่เคยมีเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง ผู้ป่วย ในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 20 ต่อปี
  • ระยะที่ 4 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่มีภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง โดยที่อาจพบภาวะท้องมานร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดคือร้อยละ 57 ต่อปีโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งอาจเสียชีวิตภายใน 6 สัปดาห์ หลังการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • ระยะที่ 5 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด ระยะนี้เป็นระยะที่เพิ่งถูกกำหนดขึ้นจากข้อสังเกตที่ว่าผู้ป่วยในระยะ decompensated อาจมีการติดเชื้อได้ง่ายจาก
    ภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ลดลง โดยจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตสูงสุดถึงมากกว่าร้อยละ 60

การรักษาและการป้องกัน

การรักษาภาวะตับแข็งมีวัตถุประสงค์ เพื่อหยุดการพัฒนาของเนื้อเยื่อแผลเป็นในตับและเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
  • หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ AและB ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าคนปกติ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดโอกาสของการเกิดภาวะไขมันพอกตับขึ้นจนนำไปสู่โรคได้
  • หลีกเลี่ยงหรืองดการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคตับ
  • พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตามการเกิดพังผืดในตับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคตับแข็ง ซึ่งเมื่อโรคมีการดำเนินเข้าสู่ระยะแรกผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Cirrhosis (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [8 มิถุนายน 2562].