ความดันต่ำเกิดจากอะไร ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างไร
ความดันโลหิตต่ำ เป็น ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ

ความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำคือ ( Low Blood Pressure / Hypotension ) เป็น ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ โดยแพทย์จะกำหนดความดันโลหิตต่ำเป็น 90 มากกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท

ความดันต่ำมีอาการอย่างไร

ผู้ที่มีความดันต่ำอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เมื่อวัดค่าความดันโลหิตได้ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาการของความดันต่ำที่พบบ่อย และมีอาการต่างๆดังนี้

  • เวียนหัว มึนงง หน้ามืด
  • ตาพร่ามัว
  • หายใจเร็ว
  • หน้าซีด
  • มือ เท้าเย็น
  • กระหายน้ำ
  • ร่างกายอ่อนเพลีย
  • เหงื่อออกมาก
  • เป็นลมหมดสติ

สาเหตุความดันต่ำเกิดจากอะไร

ความดันโลหิตต่ำด้มีสาเหตุหลายประการสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1) ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า นั่ง นอน หรือลุกขึ้นยืนทันที
2) ภาวะความดันโลหิตต่ำภายหลังรับประทานอาหาร
3) ภาวะความดันโลหิตต่ำจากระบบประสาทอัตโนมัติ
4) ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือภาวะช็อก
5) ความดันต่ำจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคพาร์กินสัน

ปัจจัยเสี่ยงของความดันต่ำ

1. อายุ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมักเกิดขึ้น เช่น เจอเหตุการณ์น่ากลัว ยืนเป็นเวลานาน การอยู่ในที่แออัด อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
2. ยาที่รับประทาน เช่น ยาในกลุ่ม Alpha blockers ยาในกลุ่ม Beta-blockers ยาไนโตรกลีเซอริน (Nitroglycerin) ยาขับปัสสาวะ ยาโรคซึมเศร้า
3. สารอาหาร เช่น ขาดวิตามินทั้ง B-12 โฟเลต ธาตุเหล็ก
4. โรค เช่น โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

การดูแลตัวเองสำหรับคนเป็นความดันต่ำ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 2 ถึง 3 ลิตรทุกวัน
  • ลุกขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากที่นั่ง หรือนอนราบ
  • ไม่เปลี่ยนท่านั่ง นอนลงไป หรือยืนทันที
  • นอนยกหัวขึ้นประมาณ 15 เซ็นติเมตร
  • รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง
  • ควรนอนราบหรือนั่งนิ่ง ๆ สักพักหลังจากรับประทานอาหาร
  • ทำจิตใจให้สบายลดความเครียด
  • การรับประทานเกลือ ผัก ผลไม้ที่มีโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมหรือ 1 ช้อนชา สามารถช่วยเพิ่มระดับความดันโลหิต
  • การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างน้อย 30 นาที ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตได้
  • ควรสวมถุงน่องช่วยการบีบรัด ซึ่งช่วยให้เลือดไหลกลับขึ้นจากขาและเท้าได้อย่างดี

การป้องกันความดันต่ำทำได้อย่างไร

  • การรับประทานอาหารมื้อเล็กวันละหลาย ๆ ครั้ง ช่วยป้องกันความดันต่ำได้
  • หลีกเลี่ยงการนั่ง หรือยืนเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนตอนกลางคืน

การรักษาความดันต่ำเบื้องต้น

1. อาการไม่รุนแรง หรือระดับปานกลาง ให้คอยติดตามอาการ จดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเพื่อประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษา
2. หากความดันต่ำที่เกิดจากการรับประทานยา แพทย์อาจเปลี่ยนตัวยาหรือปรับลดขนาดยาลง แต่สำหรับภาวะความดันต่ำที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้การรักษาจึงไม่เฉพาะเจาะจง แพทย์จะพิจารณาการใช้
3. สวมถุงน่อง หรือถุงน่องที่ใช้ในทางการแพทย์ ช่วยเพิ่มความดันโลหิตและการไหลเวียนของเลือด
4. เพิ่มปริมาณเกลือในอาหาร แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
5. ดื่มน้ำมากขึ้น จะช่วยเพิ่มปริมาณเลือดในร่างกาย ทำให้เลือดไม่ข้นหนืดและไหลเวียนดีขึ้น

อาหารแก้ความดันต่ำมีอะไรบ้าง

1. ธัญพืชต่างๆ เช่น เมล็ดงา ข้าวโอ๊ต ถั่วขาว ถั่วแระ นมถั่วเหลือง อัลมอนด์
2. ผลไม้ที่มีวิตามินซี วิตามินอี เช่น เงาะ ฝรั่ง กีวี ลิ้นจี่ ส้มโอ พุทรา มะขามป้อม มะขามเทศ มะละกอสุก และสตรอว์เบอร์รี สับปะรด มะปรางหวาน มะยงชิด แคนตาลูป ผลไม้ที่มีสีเขียวและสีเหลือง
3. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่ ปลา เนยแข็ง เนื้อสัตว์ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน สาหร่ายทะเล
4. เครื่องดื่มประเภทชาต่าง ๆ เช่น ชาโสม ชาขิง
5. ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกพรุนอบแห้ง ลูกเกด เมล็ดทานตะวัน อินทผาลัม

อย่างไรก็ตามคนที่เป็นความดันต่ำควรสังเกตุอาการของตนเอง ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาความดันโลหิตต่ำได้อย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม