สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจและหลอดเลือดคืออะไร?
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการอักเสบที่ผนังเส้นเลือดคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ สะสมจนเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

โรคหัวใจขาดเลือด

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือด ( Ischemic heart disease ) สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจขาดเลือดนั้นเกิดจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล แต่ตอนนี้เราได้รับรู้ความจริงที่ได้สร้างความตกตะลึงให้กับ ทุกคนว่า

“ สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาหตุของโรคที่แท้จริง ”

นั่นหมายความว่าความเชื่อที่วงการแพทย์เชื่อกันมานับ 60 ปี เกี่ยวกับสาเหตุโรคหัวใจ สาเหตุการเกิดของโรคหัวใจขาดเลือดที่ว่ามีต้นเหตุมาจากคอเลสเตอรอลและไขมันไม่อิ่มตัว ทำให้แนวทางในการรักษา คือ การทานยาลดคอเรสเตอรอลและการให้ผู้ป่วยลดบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นไม่จริง ไม่ควรให้ความเชื่อถือและยังค้นพบอีกว่าสาเหตุที่แท้จริงของการโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและโรคร้ายแรงอีกหลายชนิด คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอลอย่างที่เคยเชื่อกัน

สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจขาดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาเหตุโรคหัวใจที่แท้จริง

สาเหตุที่อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

1. จากความเชื่อว่าสาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดมาจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน ทำให้คนหันมาบริโภคอาหารที่ Low Far, Fat Free อาหารที่ไม่มีไขมันอิ่มตัว และรับประทานยากลดไขมันกลุ่ม Statin ที่มีราคาสูงมากเพื่อป้องกันการเกิดโรค แต่ทว่าในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาเราพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาพบว่าปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 75 ล้านคน ผู้ป่วย โรคเบาหวาน 20 ล้านคน และผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ( Pre-Diabetes ) อีกมากกว่า 57 ล้านคนและแนวโน้มผู้ป่วยนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี จากจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเราพบว่ามีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งที่มีการป้องกันทุกวิถีทางแล้วแต่ทำไมจำนวนผู้ป่วยถึงยังเพิ่มขึ้น   

นั่นเป็นเพราะความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้หลักโภชนาการและแนวทางของอุตสาหกรรมอาหารเกิดความผิดพลาด ทำให้ประชากรของโลกอยู่ในสภาวะโรคอ้วน เบาหวาน และโรคเซลล์เซื่อมเร็วขึ้น สร้างความสูญเสียทั้งทางทรัพยากรบุคคลและทางเศรษฐกิจอย่างไม่น่าให้อภัย

2. สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงที่ทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด คือ การอักเสบที่ผนังเส้นเลือด โดยปกติคอเลสเตอรอลที่เข้าสู่ร่างกายจะไหลไปตามหลอดเลือดได้อย่างอิสระไม่จับเป็นตะกรันบนผนังหลอดเลือด แต่เมื่อใดก็ตามถ้าผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบเป็นแผลแล้ว เมื่อนั้นคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นตะกรันยึดติดอยู่บนผนังหลอดเลือดที่อักเสบนั้น การที่ผนังหลอดเลือดอักเสบเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อโรค ไวรัสและสารพิษเข้าไป แต่ว่าถ้าร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อโรคที่เข้าไปได้จนหมด เชื้อโรคที่เหลือเหล่านั้นจะเข้ามาทำลายเซลล์ตามผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังเซลล์เกิดการอักเสบ ในครั้งแรกๆ ร่างกายจะสามารถรักษาแผลอักเสบให้หายได้ ทำให้การอักเสบจะยังไม่มีผลต่อร่างกายเท่าใดนัก แต่ถ้ามีการอักเสบซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็นแผลเรื้อรังเมื่อนั้นจะทำให้เกิดตะกรันที่เป็นอันตรายร้ายแรง นอกจากเชื้อโรคและไวรัสที่เป็นตัวที่ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบแล้ว สารพิษจากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นก็สามารถก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้เป็นอย่างดี สารพิษในอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่สำคัญ ก็คือ ไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ที่เราพบได้มากจากน้ำตาลในแป้งขัดขาวและอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง ๆ รวมถึงน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีทางอุตสหกรรม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น รวมถึงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมนำน้ำมันพืชและน้ำตาลเหล่านี้ไปเป็นส่วนผสมและสิ่งเจือปนกันด้วยเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคนั่นเอง แต่สิ่งที่ทำนั้นกลับให้ผลในทางตรงกันข้ามเพราะแทนที่จะช่วยเพื่อความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดและลดการการอักเสบของหลอดเลือดแล้ว กลับทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบเรื้อรังจนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ อีกมากมายในเวลาต่อมา

การที่ไขมันไม่อิ่มตัวทำให้หลอดเลือดอักเสบก็ได้ นายแพทย์ Dr.Dwight Lundell, M.D. ได้พูดให้เราเห็นภาพง่ายๆ ว่าเหมือนกับการที่เราเอาแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูบริเวณเนื้ออ่อนใต้ท้องแขน เมื่อเราถูไปมาสักพักเราจะพบว่าผิวหนังบริเวณนั้นจะค่อยๆ แดง และมีเลือดซึมออกมาทีละน้อย ภาพที่เราเห็นก็เหมือนกับสภาพของผนังหลอดเลือดที่เกิดการอักเสบนั่นเอง คือจะมีลักษณะ ช้ำและมีเลือดซึมออกมา ถ้าแผลนี้ยังมีการอักเสบเกิดขึ้นเรื่อยไม่หายก็จะเกิดเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อร่างกายได้รับอาหารที่น้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินไปและร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด จนมีน้ำตาลหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด น้ำตาลที่เหลืออยู่ในกระแสเลือดนี้จะเข้าไปจับตัวกับโปรตีนกลาย เป็นตัวร้ายที่เข้ามาทำลายผนังหลอดเลือดให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเกินความต้องการของร่างกาย ก็เปรียบเสมือนการนำแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูผนังหลอดเลือดให้เป็นแผลครั้งแล้วครั้งเล่า ต่างกันก็ตรงที่เวลาที่เราถูแปรงสีฟันนั้นใช้เวลาไม่นานก็เป็นแผล แต่น้ำตาลที่จับตัวกับโปรตีนในเลือดจะใช้เวลาหลายปีกว่าผนังหลอดเลือดจะเป็นแผลอักเสบเรื้อรังได้

https://www.youtube.com/watch?v=zHias4-PcT0&t=1s

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงนอกจากน้ำตาลที่ทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดแล้ว น้ำมันพืชก็มีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพดหรือแม้แต่น้ำมันดอกทานตะวันก็ตาม ด้วยความเชื่อที่ว่าน้ำมันพืชเป็นไขมันไม่อิ่มตัวและมีโอเมก้า-6 ที่ไม่ทำให้เป็นสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้คนหันมาบริโภคน้ำมันดังกล่าวเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นและอุตสาหกรรมอาหารก็ต้องตามกระแสความเชื่อดังกล่าว หันมาใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีที่คุณซื้อมาใช้นั้น เมื่อคุณเปิดฝาเพื่อใช้งานนานเป็นเดือนเป็นปีน้ำมันพืชก็ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนเลยแม้แต่น้อย ทำไมกันล่ะ? ทั้งๆ โอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 นั้นเมื่อโดนออกซิเจนในอากาศจะเกิดปกฏิกิริยาออกซิเดชั่นกลายทำให้เหม็นหืนแล้วแท้ๆ ข้อนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่าน้ำมันพืชที่เราบริโภคอยู่นี้ได้ผ่านกรรมวิธีอะไรมาบ้างถึงได้ไม่มีกลิ่นหืนนานขนาดนี้

จากความเชื่อที่ผิดๆ นั้นทำให้ผู้คนหันมาบริโภคน้ำมันพืชที่เป็นโอเมก้า-6 กันมากขึ้น เป็นผลให้โภชนการของคนเราเกิดความผิดเพื้ยนจนร่างกายขาดความสมดุลของสารอาหารภายในร่างกายไป ปกติร่างกายของคนเราต้องมีอัตราส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 ต่อ ไขมันโอเมก้า-3 ไม่เกิน 3 : 1 แต่ด้วยความเชื่อทำให้คนหันมาบริโภคน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นทำให้อัตราส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 ต่อไขมันโอเมก้า-3 ในร่างกายกลายเป็น 15 : 1 และในบางคนมีอัตราส่วนเป็น 30 : 1 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราส่วนที่อันตรายอยู่ในขั้นวิกฤติเลยทีเดียว รู้หรือไม่ว่า!!! น้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า- 6 มากถึง 7,280 mg น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 มากถึง 6,940 mg แต่ว่าน้ำมันจากไขมันสัตว์พบว่ามีไขมันโอเมก้า-6 ไม่เกิน 20% เท่านั้น การที่ไขมันโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 มีอัตราส่วนที่ผิดปกติ ผนังเป็นผลให้ผนังหุ้มเซลล์จะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพราะว่าไขมันโอเมก้านี้ เป็นส่วนประกอบของผนังหุ้มเซลล์ ถ้ามีไขมันตัวใดมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้ผนังเซลล์เสียหายเปราะบาง เซลล์จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า Cytokines ออกมาทำให้ผนังเซลล์เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะอ้วนจากการกินอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันในปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายเข้าไปทุกวัน เพราะว่ายิ่งเราอ้วนเซลล์ก็จะยิ่งขับสาร Cytokines และสารที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้มีการเกิดตะกรันเกาะที่บริเวณผนังหลอดเลือดได้มากขึ้นั่นเอง ซึ่งเมื่อมีตะกรันเกิดขึ้นเราจึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง หลอดเลือดตีบตัน โรคอัลไซเมอร์ เส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ เป็นต้น 

คุณหมอยังได้กล่าวสรุปไว้ตอนท้ายไว้ด้วยว่า “ ทางรอดสำหรับประชากรโลก คือ การกลับไปสู่การปรุงอาหารแบบสดใหม่ บริโภคอาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการแปรรูปใดๆ หรือผ่านกรรมวิธีให้น้อยที่สุด เลิกกินน้ำตาลและลดการกินหวาน รวมถึงการงดบริโภคน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารที่ทำให้เก็บไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืนออกจากชีวิตเราเสียให้หมด ” นี่คือทางรอดที่จะทำให้เราหลุดรอดจากการเป็นโรคต่างๆ ได้ดีที่สุด

ถ้าคุณอยากให้ตัวเองและคนที่คุณรักมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคร้ายและสาเหตุโรคหัวใจที่เข้ามาคุกคามชีวิตของคุณแล้ว ขอให้แชร์บทความนี้ต่อไปเพื่อที่ทุกคนจะได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับสาเหตุของโรคหัวใจโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

“Essential Fatty Acids”. Micronutrient Information Center, Oregon State University, Corvallis, OR. May 2014. Retrieved 24 May 2017.

“Omega-3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid”. Mayo Clinic. 2017. Retrieved 24 May 2017.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.