มะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายได้ไหม มีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน

0
45556
โรคมะเร็งระยะแพร่กระจายมีอาการอย่างไร (Distant Metastasis)
เมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลือง จะส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติหรือทำงานล้มเหลวของอวัยวะ

มะเร็งระยะสุดท้าย

มะเร็งระยะสุดท้าย ( Distant Metastasis ) คือ ระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลือง เพื่อแย่งสารอาหารที่จำเป็นในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับสารอาหารได้เพียงพอและมีการทำงานผิดปกติเป็นอย่างมาก หรือเรียกอีกอย่างว่า “ระยะแพร่กระจาย” ซึ่งมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้

อาการของมะเร็งระยะสุดท้าย

อาการของมะเร็งระยะสุดท้าย คือ มีการกระจายตัวของเชื้อมะเร็งไปทั่วร่างกายทั้งอวัยวะใกล้เคียงกับจุดเกิดโรค และอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น หากเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับมดลูก มะเร็งระยะแพร่กระจาย ที่มะเร็งจะมีการลุกลามไป คือ ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอุ้งเชิงกราน ส่วนต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปและจะมีการแพร่กระจายออกไปทางสายน้ำเหลืองคือต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง และต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้าอาจจะส่งผลให้เกิดมะเร็งชนิดเดียวกันได้ตลอดทั่วตัวของผู้ป่วย

การเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจายนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนกลัวกันมากและไม่อยากให้ถึงอาการระยะนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้ป่วยเองหรือแพทย์ผู้ให้การรักษาก็คือ มะเร็งระยะแพร่กระจายซึ่งเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายหรือมะเร็งระยะที่ 4 นั้นเอง หากถามว่าทำไมถึงต้องกลัวมะเร็งในระยะแพร่กระจายขนาดนี้ด้วย มะเร็งในระยะแพร่กระจายคืออะไรและอันตรายแค่ไหน มีคำตอบและคำอธิบายได้ดังต่อไปนี้

มะเร็งระยะแพร่กระจาย

มะเร็งระยะแพร่กระจาย คือ การแพร่กระจายของมะเร็วไปในอวัยวะใดก็ตามที่เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายออกไปส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติหรือทำงานล้มเหลวของอวัยวะ นั้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกผิดปกติตามอวัยวะที่มะเร็งระยะแพร่กระจายลุกลาม เช่น หากเกิดกับปอด ก็จะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจติดขัด เป็นต้น หรือถ้าเกิดกับกระดูกก็จะมีอาการปวดตามตัว ตามกระดูกได้ซึ่งแพทย์สามารถที่จะตรวจพบได้ แต่ก็อาจมีบางอวัยวะที่ไม่แสดงอาการป่วยออกมาและไม่มีวิธีตรวจพบ บางครั้งก็ตรวจพบได้ต่อเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว โดยอวัยวะที่โรคมะเร็งแพร่กระจายไปได้สูงและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตที่พบได้บ่อยคือ อวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงสูง และมีระบบน้ำเหลืองมากมาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ กระดูก ไขกระดูกต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกล และสมอง

ชนิดของมะเร็ง
อวัยวะที่มักมีการแพร่กระจาย
มะเร็งสมอง พบการแพร่กระจายนอกสมองน้อย อาจพบในไขสันหลังได้
มะเร็งเต้านม กระดูก ตับ ปอด สมอง ลูกตา ผิวหนังบริเวณหน้าอก
มะเร็งหลอดอาหาร อวัยวะใกล้เคียง ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง
มะเร็งกระเพาะอาหาร กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด พบน้อยในสมองและกระดูก
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตับ กระดูก ปอด พบน้อยในสมอง
มะเร็งลำไส้ตรง อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด สมอง กระดูก
มะเร็งตับ มักเจริญเติบโตอยู่ในเนื้อตับเอง
มะเร็งปอด ต่อมหมวกไต ตับ กระดูก สมอง ปอดข้างเดียวกันหรือ
อีกด้าน เยื่อบุหัวใจ
มะเร็งตับอ่อน กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด สมอง
มะเร็งเม็ดสีของผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง สมอง ปอด ตับ กระดูก
มะเร็งบริเวณปากและลำคอ ปอด
มะเร็งเม็ดเลือดขาว มีการกระจายทั่วร่างกายอยู่แล้ว อาจพบในไขกระดูก ผิวหนัง
มะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด
Multiple myeloma
กระดูก
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ม้าม และไขกระดูก อาจพบการ
แพร่กระจายไปยังสมอง และกระเพาะอาหาร บางกรณีอาจ
พบการแพร่กระจายตามน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังได้ เรียกว่า
Lymphomatous menignitis
มะเร็งรังไข่ กระจายทั่วช่องท้อง ปอด ตับ (พบน้อย) สมองและผิวหนัง
มะเร็งต่อมลูกหมาก กระดูก สมอง
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด ตับ กระดูก

มะเร็งระยะสุดท้าย คือ ระยะอาการป่วยของโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลืองแล้วเรียกอีกอย่างว่า “ระยะแพร่กระจาย”

โรคมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายไหม ?

หากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายแล้วเท่ากับว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย เป็นระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยนั้นจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเท่าไหร่ก็ตามยกเว้นมะเร็งบางชนิด ซึ่งมีโอกาสน้อยมากๆที่อาจรักษาให้หาย เช่น มะเร็งอัณฑะบางชนิด

ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จะให้การรักษาบรรเทาประทานอาการด้วยวิธีผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด และหากโรคมะเร็งที่เป็นตอบสนองได้ดีต่อการรักษา อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้อย่างมี คุณภาพประมาณ 1-2 ปี แต่สำหรับผู้ป่วยที่สุขภาพไม่แข็งแรงจะมีอัตราการอยู่รอดลดลงอยู่ที่ประมาณ 3 – 9 เดือนเท่านั้น

การรักษาโรคมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจาย

สำหรับการรักษามะเร็งระยะสุดท้ายทางแพทย์ผู้ให้การรักษาจะใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคอง หรือบรรเทาอาการผู้ป่วยเท่านั้น  จะไม่ใช่วิธีการรักษาแบบให้หายขาดเพราะไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้แล้ว โดยในการรักษาจะมีจุดประสงค์หลักที่ว่าจะทำยังไงให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้มากที่สุด ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการรักษาผู้ป่วย ก็จะใช้วิธีเหมือนกับมะเร็งใยระยะอื่นๆ เช่น วิธีการผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า และการรักษาประคับประคองตามอาการ  ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาตาม สุขภาพของผู้ป่วย อายุ อาการ และชนิดของเซลล์มะเร็งเป็นหลัก ว่าจะเลือกวิธีการใด ที่จะเหมาะสมต่อผู้ป่วยรายนั้นๆมากที่สุด

มะเร็งระยะสุดท้ายอยู่ได้นานแค่ไหน

วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจาย คือการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและได้รับรักษาอย่างทันเวลาก่อนที่โรคมะเร็งจะมีการแพร่กระจายของโรคออกไป ดังนั้นหากพบความผิดปกติอะไรของร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที และสำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรกๆ ต้องปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรหลีกเลียงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นตัวกระตุ้นของมะเร็ง เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ควรที่จะป้องกันไว้ก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เพราะหากเป็นแล้วคุณเองก็ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้อีกเลย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557

Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.