- มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) มีสาเหตุและอาการของโรคอย่างไร
- เชื้อพยาธิเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงหรือ ?
- อาหารเสริม ทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อหัวใจ
- การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลข้างเคียงต่อการมองเห็นอย่างไร
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- ผลกระทบจากการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อระบบไหลเวียนโลหิต
- โครงสร้าง และ ส่วนประกอบของเต้านม
- การตรวจหามะเร็ง มีวิธีการตรวจอะไรบ้าง
- การพบแพทย์เพื่อประเมินผล และติดตามผลผู้ป่วยมะเร็ง
- มะเร็งดวงตา กับการรักษาด้วยการฉายรังสี มีผลกระทบอะไรบ้าง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อกระดูก
- ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ
- ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
- วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค
- ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
- มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )
- ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม
- ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )
- มะเร็งที่พบบ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายในประเทศไทย
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด
- มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer )
- มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) อาการ สาเหตุ และการรักษา
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer )
- มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer )
- มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษา ( Ovarian Cancer )
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก
- กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
- เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )
- มะเร็งตับ ( Liver Cancer )
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer )
- มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma ) สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา
- มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต
- มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
- มะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายได้ไหม มีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน
- มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer )
- มะเร็งถุงน้ำดี ( Gallbladder Cancer )
- มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma หรือ CCA )
- มะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Cancer )
- มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer )
- มะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ
- มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer )
- มะเร็งโพรงไซนัส และ มะเร็งโพรงจมูก
- มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
- ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
- สารตรวจค่าเลือดเฟอร์ริติน ( Ferritin )
- การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็ง
- สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม
- อาการมะเร็ง เบื้องต้น ฉบับล่าสุด 2020
- อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
- อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
- มะเร็งเกิดจากอะไร ? ( Causes of Cancer )
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ( Cancer Care )
- การตรวจ และรักษามะเร็ง
- ถาม – ตอบ ปัญหาโรคมะเร็ง
- ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer )
- จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง?
- ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย
- มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งอันดับ 1 ผู้หญิง
- อาหารเพิ่มเลือด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับคีโม
- อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง
- การอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ
- การตรวจหาสารมะเร็ง – Tumor Marker
- มะเร็ง ( cancer ) โรคที่ทุกคนต้องรู้
- โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
- สัญญาณมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยมะเร็ง
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) เป็นภาวะที่เซลล์ของหลอดอาหารมีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวของเซลล์มากกว่าปกติ จนเกิดเป็นก้อนเนื้อหรือมีการก่อเชื้อมะเร็งขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในมหันต์ภัยโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง เป็นโรคที่นับวันจะดูมีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้น กับการที่อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของเรา ล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเชื้อโรคมะเร็งขึ้นได้ทั้งหมด ซึ่งยังรวมไปถึง อวัยวะที่มีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกายมนุษย์ อย่างหลอดอาหาร ก็สามารถที่จะมีโอกาสเกิดมะเร็งหลอดอาหารขึ้นได้เช่นเดียวกัน
ชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่พบได้บ่อย
มะเร็งหลอดอาหารส่วนใหญ่สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
- มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส (Squamous cell carcinoma) เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหาร มักเกิดที่ส่วนต้นและส่วนกลางของหลอดอาหาร
- มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา (Adenocarcinoma) เกิดจากส่วนที่เป็นต่อมในส่วนปลายของหลอดอาหาร
- มะเร็งหลอดอาหารชนิดที่ 3 เรียกว่า มะเร็งเซลล์ขนาดเล็ก อาจหาได้ยากมากเริ่มต้นในเซลล์ประสาทซึ่งเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่ปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อตอบสนองต่อสัญญาณจากเส้นประสาท
อาการของมะเร็งหลอดอาหาร
โรคนี้เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่หากเป็นแล้วจะสังเกตได้ยาก เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ในระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการใดๆแสดงออกมา ยังคงใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ และโรคมะเร็งหลอดอาหารนี้จะไม่มีอาการเฉพาะตัวของโรคที่เด่นชัด โดยอาการทั่วไปที่แสดงออกมา จะมีความคล้ายกับอาการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยมักทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้เมื่อมีอาการที่หนักแล้ว หรือเป็นระยะที่เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายแล้ว โดยอาการที่จะสามารถพบได้บ่อยๆ คือ
- กลืนอาหารได้ลำบากมากกว่าปกติ หรือรู้สึกเจ็บขณะกลืนอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เป็นของแข็ง หากเป็นมากขึ้นแล้วจะกลืนไม่ลงทั้งอาหารที่เป็นของแข็งและของเหลว แม้กระทั่งน้ำลายก็ตาม
- มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หรือ มีเสมหะปดเลือดออกมาบ่อยครั้ง
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทรายสาเหตุ
- มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนบ่อยครั้ง
- รู้สึกปวดที่บริเวณกระดูกซี่โครงส่วนบนหรือในลำคอ
- เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น อาจมีต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้าโตจนสามารถคลำได้
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เซลล์ของหลอดอาหารมีการเจริญเติบโตมากเกินปกติ จนทำให้เกิดเป็นเชื้อมะเร็งหลอดอาหารได้นั้น ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีการวิเคราะห์กันว่า อาจะเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. การสูบบุหรี่ เป็นที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่นั้น เป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งได้เกือบทุกชนิด เนื่องจากสารประกอบบางอย่างในบุหรี่จะไปกระตุ้นให้เชื้อมะเร็งมีการก่อตัวขึ้นภายในร่างกาย
2. มะเร็งหลอดอาหารความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัว และการตายของเซลล์ปกติ ข้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ เป็นเวลานานๆติดต่อกัน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารมากว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
4. การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ผู้ที่ทานผลไม้น้อยจะมีความเสี่ยงมากว่าผู้ที่ทานผลไม้ปกติ และยังรวมถึงผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ บ่อยๆอีกด้วย และเกิดโรค มะเร็งหลอดอาหาร
5. เชื้อชาติ เนื่องจากคนในบางเชื้อชาติ จะสามารถตรวจพบโรคมะเร็งหลอดอาหารได้มากว่าชาติอื่นๆ เช่น เชื้อชาติจีน อินเดีย และอิหร่าน เป็นต้น
6. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกณฑ์มาตรฐาน จนถึงระดับการเป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงมากว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
7. การบริโภคอาหารที่เป็นสารก่อมะเร็งบ่อยๆ เช่นอาหารประเภทปิ้งย่าง อาหารที่ใส่สารกันบูด รวมถึงอาหารที่มีการแปรรูป หรือผ่านการถนอมอาหารบางประเภทด้วย
8. เป็นโรคเรื้องรังเกี่ยวกับหลอดอาหาร ผู้ที่มีภาวะของการเจ็บป่วยเกี่ยวกับหลอดอาหารบ่อยๆ และเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรค มะเร็งหลอดอาหาร มากว่าคนปกติ
9. ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากภาวะกรดไหลย้อนจะส่งผลให้ เยื่อบุภายในหลอดอาหารเกิดการบาดเจ็บและเกิดความเสียหายต่อเนื่องจนอาจนำไปสู่มะเร็งในหลอดอาหารได้
10. ผู้ที่เคยป่วยเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆมาก่อน โดยเฉพาะมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับศีรษะและลำคอจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคประเภทนี้มาก่อน
11. การได้รับสารเคมีบางชนิดบ่อยๆ อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เช่น จากอาชีพในการทำงาน การเผลอกลืนสารเคมีบางชนิดเข้าไป ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น เข้าไปสะสมจนทำให้เกิดเป็นตัวกระตุ้นมะเร็งนั่นเอง
ใครที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร
- อายุ : ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45 ถึง 70 ปี อาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร
- เพศ : ผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าผู้หญิง 3 ถึง 4 เท่า
- การสูบบุหรี่ : ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารโดยเฉพาะมะเร็งเซลล์สความัส
- การดื่มแอลกอฮอล์ : การดื่มหนักเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเซลล์สความัสของหลอดอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมกับการสูบบุหรี่
- โรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง หรือการอักเสบของหลอดอาหาร : เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมอะดีโนคาร์ซิโนมาของหลอดอาหาร แต่ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารยังค่อนข้างต่ำ
- การรับประทานอาหาร : ผู้ที่ทานอาหารที่มีผักและผลไม้ใน วิตามิน และแร่ธาตุในปริมาณน้อย อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
- โรคอ้วน : การมีน้ำหนักและไขมันในร่างกายมากเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารต่อมอะดีโนคาร์ซิโนมา
ระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งหลอดอาหารสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะเหมือนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ดังต่อไปนี้
ระยะที่ 1 : เป็นระยะเริ่มต้นของโรค ก้อนเนื้อมะเร็งยังมีขนาดเล็กอยู่ เชื้อยังคงอยู่เฉพาะในหลอดอาหาร ไม่มีการแพร่กระจายไปยังที่อื่นๆ
ระยะที่ 2 : ก้อนมะเร็งหลอดอาหารเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อของหลอดอาหาร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 2 ต่อม
ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งหลอดอาหารลุกลามไปยังรอบๆ และมีการลุกลามออกมาทะลุเนื้อเยื่อของหลอดอาหารแล้ว นอกจากนี้ยังลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองเกิน 3 ต่อมขึ้นไปแล้ว
ระยะที่ 4 : เป็นระยะสุดท้ายของโรคมะเร็งหลอดอาหาร เชื้อมะเร็งจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด และแพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ รวมถึงต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยอวัยวะที่พบเชื้อจากการลุกลามได้บ่อยๆ คือ ปอด ตับ กระดูก และผิวหนัง โดยหากเป็นถึงระยะนี้แล้ว จะไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้เลย
การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร
1. การผ่าตัด หากแพทย์วิเคราะห์แล้วว่าผู้ป่วยสามารถที่จะผ่าตัดได้ และตัวของผู้ป่วยเองยังไม่มีการแพร่กระจายของโรค แพทย์จะนิยมใช้วิธีนี้ในการรักษา โดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออกจากหลอดอาหาร ซึ่งหลังจากผ่าตัดแล้ว แพทย์อาจจะใช้วิธีการรักษาอื่นควบคู่ไปด้วย อย่างเช่น การให้เคมีบำบัด หรือใช้รังสีรักษา โดยจะต้องดูผลกระทบจากการผ่าตัดก่อน นอกจากนี้แพทย์อาจใช้วิธี การให้เคมีบำบัด หรือใช้รังสีรักษา เพื่อทำมะเร็งมีขนาดเล็กลงก่อนที่จะผ่าตัดก็เป็นได้
2. การใช้รังสีรักษา เป็นวิธีการรักษาอีกรูปแบบหนึ่ง หากแพทย์วิเคราะห์แล้วว่าไม่สามารถใช้การผ่าตัดได้ ซึ่งวิธีนี้แพทย์จะใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เข้าไปทำรายเชื้อมะเร็งที่หลอดอาหาร
3. การใช้เคมีบำบัด หมายถึงการใช้ยาเพื่อให้ไปฆ่าเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้น โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยกินทางปากหรือฉีดเข้าเส้นเลือดก็ได้ โดยวิธีนี้แพทย์ผู้รักษามักจะใช้ร่วมกับวิธีการผ่าตัด
แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหารหลากหลายวิธีในทางการแพทย์ แต่เนื่องจากโรคมะเร็งชนิดนี้เป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคที่สูงมากชนิดหนึ่ง จึงทำให้รักษาให้หายเป็นปกติได้ยากในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็มีโอกาสรักษาให้หายเป็นปกติได้เช่นกัน เพียงต่อผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ที่มี
สุขภาพที่แข็งแรง มีตำแหน่งของก้อนมะเร็งอยู่ในบริเวณที่สามารถจะผ่าตัดได้ และต้องมาพบแพทย์ตั้งแต่ระยะของโรคมะเร็งยังไม่เกิดการแพร่กระจาย
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลอดอาหารและการป้องกันโรค
นอกจากจะเป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีความรุนแรงของโรคสูงแล้ว ความน่ากลัวของโรค มะเร็งหลอดอาหารอีกอย่างหนึ่งคือ ในปัจจุบันยังคงไม่มีวิธีการใดที่สามารถจะป้องกันการเกิดโรคชนิดนี้ได้ รวมถึงยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองมะเร็งอีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้มีความสมบรูณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเชื้อมะเร็งขึ้นได้
ในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ส่งผลกระทบสามารถทำให้คนบางคนมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าคนอื่น ๆ รวมทั้งาการเป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรงเป็นเวลาหลายปีจะเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งต่อมอะดีโนคาร์ซิโนมาของหลอด
อาหารได้เช่นกัน
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20375″]
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0
Tongaonkar HB, Desai SB (September 2005). “Benign mixed epithelial stromal tumor of the renal pelvis with exophytic growth: case report”. Int Semin Surg Oncol. 2: 18. PMC 1215508 Freely accessible. PMID 16150156.