ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ความหวัง กำลังใจ
ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายปกติ ขึ้นอยู่ว่าผู้ป่วยทำได้มากน้อยขนาดไหน และได้รับการพักผ่อนที่ดีและเหมาะสม

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต้องดูแลเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องอาหารการกินและการใช้ชีวิต มะเร็ง เป็นโรคไม่ติดต่อที่มีความรุนแรงของโรคสูงชนิดหนึ่ง ในแต่ละปีจะมีผู้ยอดเสียชีวิตจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆเป็นจำนวนมากในทั่วโลกหลายล้านคน รวมถึงในประเทศไทย มะเร็งก็เป็นโรคที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงมากด้วยเช่นกัน สาเหตุ หลักๆ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากความรุนแรงของโรคแล้วก็คือ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะรู้ว่าตนเองมีเชื้อมะเร็งอยู่ในร่างกาย ก็มักจะเป็นอาการของโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจาย หรือ มะเร็งในระยะท้ายๆแล้ว ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเราจะเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า “ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ”

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย คือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดต่างๆและมีอาการอยู่ในระยะท้ายๆ เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็นปกติแล้ว แต่แพทย์จะใช้วิธีการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต การรู้ว่าป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายก็คงสร้างความตกใจให้ไม่น้อยสำหรับตัวผู้ป่วยเองและญาติพี่น้อง ผู้ป่วยหลายคนทำใจได้ยากที่จะต้องยอมรับกับเรื่องนี้ จนทำให้บางคนอาจคิดสั้นถึงการทำร้ายตนเองได้เลย

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในระหว่างที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่สำคัญและผู้ป่วยต้องการมากที่สุดก็คือกำลังใจจากคนรอบข้าง บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ตลอดจนบุคลกรทางการแพทย์ผู้ให้การรักษา

เพราะเป็นผู้ที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากสุดในระหว่างการทำการรักษา และพยาบาลยังเป็นบุคคลที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจและเชื่อใจในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นผู้ทำให้ผู้ป่วยมีความหวังและกำลังใจที่จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับครอบครัวได้อย่างปกติ กล้าเผชิญกับปัญหาของโรคร้ายหรือการลุกลามของโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยความมั่นใจ ไม่หวาดกลัวใดๆ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มักต้องการกลับไปอยู่ที่บ้าน

ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรค มะเร็งระยะสุดท้าย และสามารถทำใจได้ในเบื้องต้นแล้วก็มักอยากจะกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน มากกว่าการต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลตลอด การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านจึงต้องอาศัยแรงกาย แรงใจอย่างยิ่ง ซึ่งการที่จะนำผู้ป่วยมะเร็งกลับมาอยู่บ้านได้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษาว่าสามารถอนุญาตให้รับผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่บ้านได้หรือไม่ ซึ่งหากแพทย์อนุญาตให้ทำได้ ทางผู้ที่เป็นบุคคลในครอบครัวหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย จะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเบื้องต้นไว้ด้วย ซึ่งวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเบื้องต้นสามารถได้ดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็นปกติ แพทย์จะใช้วิธีการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สามารถทำได้ดังนี้

1. หากิจกรรมให้ผู้ป่วยให้ทำ

โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเครียดหรือหงุดหงิดที่ต้องกลับมาบ้านแล้วอยู่เฉยๆ ไม่มีอะไรให้ทำ ได้แต่นั่งๆนอนๆ ดังนั้นเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงควรหากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เล่นเกม การฝึกสมาธิ ทำการฝีมือ หรืองานอดิเรกอื่นๆ ที่ผู้ป่วยชื่นชอบก็ได้ รวมถึงการพาผู้ป่วยไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ไม่แออัด เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

2. เตรียมพร้อมรองรับสภาวะอารมณ์ที่แปรปรวนของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ในช่วงแรกๆที่กลับมารักษาตัวที่บ้าน เมื่อต้องอยู่ที่บ้านเฉยๆ ผู้ป่วยมักจะมีภาวะอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล เกิดภาวะการนอนไม่หลับขึ้นได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะลดน้อยลงเมื่อผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิด ควรพูดให้กำลังใจผู้ป่วย และต้องยอมรับพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ป่วยที่อาจจะมีอารมณ์ที่ค่อนข้างแปรปรวน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรช่วยสนับสนุนหรือหากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ จะสามารถช่วยป้องกันความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ และช่วยให้ผู้ป่วยได้มีกำลังใจในการเผชิญกับโรคร้ายต่อไปได้

3. หมั่นสังเกตอาการความผิดปกติของผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ต้องคอยหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ว่ามีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยทันที เช่น หากผู้ป่วยมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานเกิน 2 วัน ให้มาพบแพทย์โดย ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัดของแพทย์ นอกจากนี้ยังมีอาการต่างๆ ที่ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจ ได้แก่ มีแผลอักเสบบวมแดง เกิดแผลเป็นมีหนองน้ำและเหลืองไหลออกจากแผล มีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก มีอาการบวมตามร่างกาย เป็นต้น

4. การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลการผ่าตัด

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารีบการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการมะเร็งตามคำสั่งของแพทย์ ซึ่งผู้ใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวต้องเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เมื่อกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน โดยเฉพาะวิธีในการดูแลทำความสะอาดแผลก็จะแตกต่างกันไป การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งที่ผ่าตัด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลแผล หลังจากผ่าตัดใหม่ๆ 5-7 วันแรกไม่ควรให้แผลถูกน้ำและไม่ควรใช้แป้งใดโรยแผล เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลได้ นอกจากนี้ เมื่อแผลผ่าตัดหายดีแล้ว ก็สามารถที่จะให้ผู้ป่วยอาบน้ำ โดยใช้สบู่ลูบเบาๆ บริเวณแผล และใช้ผ้าเช็ดตัวนุ่มๆ ซับเบาๆ ให้แผลแห้งได้

5. การทานอาหารของผู้ป่วย

หากไม่มีคำสั่งการห้ามใดๆ จากแพทย์เกี่ยวกับอาหาร การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยก็สามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกและจัดอาหารที่ดีมีประโยชน์ สารอาหารครบ 5 หมู่ ให้กับผู้ป่วย เลี่ยงการให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีสารกระตุ้นมะเร็งอย่างเช่น อาหารปิ้งย่าง รวมทั้งควรติดตามดูน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่เกินมาตรฐาน

6. การออกกำลังกาย

ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายปกติ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่า จะทำได้มากน้อยขนาดไหน แต่หากมีอาการเหนื่อย หรือความผิดปกติใดๆเกิดขึ้น ควรหยุดออกกำลังกายทันที การเดินออกกำลังเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่ควรทำหลังจากเข้ารับการผ่าตัด โดยในช่วงเริ่มต้นควรเดินในระยะสั้นๆก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มระยะทางให้มากขึ้น

7. การพักผ่อน

ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนที่ดีและเหมาะสม ควรหาเวลานอนพักให้บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากออกจากโรงพยาบาลใหม่ๆ และควรมีการวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการอ่อนเพลียของผู้ป่วย นอกจากนี้ควรหาเวลาพักผ่อนในตอนกลางวัน อย่างน้อยวันละ 20 นาที ให้กับผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนให้หลับ เพียงแต่ให้เกิดการพักผ่อนให้กับผู้ป่วย ส่วนในช่วงกลางคืนผู้ป่วยต้องพยายามนอนให้ได้วันละ 8-10 ชั่วโมง

8. การมีเพศสัมพันธ์

ผู้ป่วยยังคงมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดเรื่องความอ่อนเพลียของร่างกาย รวมถึงผู้ที่มีแผลจากการผ่าตัดเพราะอาจจะเกิดความกระทบกระเทือนแผลได้

9. การให้กำลังใจจากคนรอบข้าง

กำลังใจจาก คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในทุกระยะ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและยอมรับถึงภาวะในปัจจุบันที่เป็นอยู่ได้ ทำให้ผู้ป่วยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการรักษาโรคจากทางแพทย์ ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีความสุข และพร้อมจะต่อสู้กับโรคร้ายจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายในชีวิตของเขา

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความปวดกับมะเร็ง

อาการของผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถพบได้เกือบทุกชนิดคือ อาการปวดต่างๆตามบริเวณร่างกาย ซึ่งอาจเกิดได้จากเชื้อมะเร็งเอง หรืออาจเป็นอาการปวดจากการเข้ารับการรักษามะเร็งก็ได้ อาการปวด เป็นความรู้สึกที่ส่งผลอย่างมากในการทำลายความสุขของผู้ป่วยโรคมะเร็ง และยังคอยรบกวนการประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆอีกด้วย โดยอาการปวดอาจจะปวดตลอดเวลาหรือปวดเป็นบางช่วงเวลา หรือบางคนอาจจะไม่ปวดเลย ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของโรค สภาพร่าง กายและจิตใจผู้ป่วย และระยะของมะเร็งที่เป็น โดยผู้ป่วยที่เป็น มะเร็งระยะสุดท้าย มักจะมีอาการปวดที่มากกว่ามะเร็งในระยะแรกๆ หากผู้ป่วยมีจิตใจที่อ่อนแอ หรือมีอาการเครียด วิตกกังวล หรือมีร่างกายที่อ่อนล้า จะมีส่วนทำให้ความปวดที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้นได้ด้วย

หากผู้ป่วยมีอาการปวดมากๆ ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที เพื่อที่แพทย์จะได้หาวิธีในการรักษาอาการปวดต่างๆ เหล่านี้ให้คลายและเบาลงได้ และอย่าเพิ่งเบื้อกับการซักถามอาการปวดซ้ำๆที่แพทย์หรือพยาบาลต้องถามบ่อยๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน และนำไปใช้ในการรักษานั้นเอง ซึ่งคำถามที่แพทย์มักถามผู้ป่วยบ่อยๆ เช่น

  • รู้สึกปวดตั้งแต่เมื่อไร
  • ปวดตรงบริเวณไหนบ้าง
  • ปวดอย่างไร
  • ช่วงเวลาความถี่ของการเกิดอาการปวด
  • ความรุนแรงในการปวด
  • ปัจจัยที่ทำให้ความปวดลดลงหรือเพิ่มขึ้น
  • วิธีบำบัดที่เคยได้รับมาก่อนรวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  • อื่นๆ ตามการวินิจฉัยจากแพทย์

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากการบำบัดความปวดจากมะเร็ง

ในการรักษาอาการปวด โดยส่วนมากแพทย์จะให้ยา ที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวด ซึ่งมีด้วยกันหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาให้ยาตามสาเหตุและความรุนแรงของอาการ การใช้ยาแก้ปวดอาจใช้เพียงหนึ่งชนิด หรือใช้ร่วมกันมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้ แต่ก็อาจจะถูกนำมาใช้บำบัดร่วมกับวิธีการบำบัดอื่นๆได้ด้วย

ยาชนิดที่มักจะนิยมนำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง คือ ยาในกลุ่มมอร์ฟีน ซึ่งอยู่ในรูปแบบ การรับประทาน ปิดบนผิวหนัง อมใต้ลิ้น หรือเหน็บทางทวารหนัก แต่ยาชนิดนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์แล้วเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้เองโดยไม่ผ่านแพทย์หรือใช้ตามที่คนอื่นแนะนำมาเด็ดขาด เนื่องจาก ยาแก้ปวดทุกชนิดโดยเฉพาะยากลุ่มมอร์ฟีน อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ปวดศีรษะ คอแห้ง งุนงง ง่วงซึม สับสน ท้องผูก คลื่นไส้ หากมีอาการผิดปกติ ให้หยุดยาก่อนชั่วคราวและรีบไปปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาโดยทันที ปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวดมากกว่าร้อยละ 80 สามารถควบคุมอาการปวดได้ในระดับที่ผู้ป่วยพอใจโดยการให้ยาแก้ปวดชนิด รับประทาน การอมยาไว้ใต้ลิ้น ใช้วิธีปิดบนผิวหนัง หรือเหน็บทางทวารหนักเท่านั้น

นอกจากนี้ยาในกลุ่มที่รักษาอาการปวดหลายชนิด โดยเฉพาะที่ใช้บำบัดชนิดความปวดชนิดรุนแรง หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ ร่างกายอาจจะเกิดภาวะชินต่อยาชนิดนั้นได้ หรือเมื่อได้รัยยาติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วมีการหยุดยาแบบกะทันหัน ก็อาจจะเกิดภาวะร่างกายเกิดอาการขาดยาขึ้นได้ ซึ่งอาการนี้ไม่ใช่สภาพของการติดยาแต่อย่างใด แต่ให้รีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังกล่าว การใช้ยาอย่างถูกวิธี โดยปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะไม่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดยา หรือ ภาวะการดื้อยา ดังนั้นผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนที่จะทานยาอะไรก็แล้วแต่

สิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายต้องการ คงไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง การอยู่ในบ้านหลังใหญ่ แสนสะดวกสบาย แต่สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุดก็คือ ความรัก ความเข้าใจ การเอาใจใส่และกำลังใจ ทั้งจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด เพื่อนสนิท มิตรสหายต่างๆ รวมถึงบุคลาการทางการแพทย์ที่ให้การรักษากับผู้ป่วยด้วย การที่ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะอยู่จะสู้กับโรคร้ายต่อไปในทุกๆวัน แต่หากผู้ป่วยมีกำลังใจที่ไม่ดีแล้วละก็จะยิ่งทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม และอาจจะเสียชีวิตในเวลาอันสั้นก็เป็นไปได้เช่นกัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง 

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Tongaonkar HB, Desai SB (September 2005). “Benign mixed epithelial stromal tumor of the renal pelvis with exophytic growth: case report”. Int Semin Surg Oncol. 2: 18. PMC 1215508 Freely accessible. PMID 16150156.