มะเร็งปอด
มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สามารถเกิดขึ้นได้ตรงส่วนไหนของปอดก็ได้ และแพร่กระจายไปสู่กันได้ อย่างง่ายดายอีกด้วย โดยเฉพาะเซลล์ของปอดที่สามารถเกิดมะเร็งได้ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น เซลล์เนื้อเยื่อปอด เซลล์ต่อมน้ำลาย เซลล์เยื่อเมือกบุภายในหลอดลมและเซลล์ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น โดยปอดมีหน้าที่ในการหายใจและฟอกอากาศเพื่อนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายพร้อมแลกเปลี่ยนนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งปอดจะอยู่บริเวณช่องอก มีสองข้างซ้ายขวานั่นเอง โดยปอดแต่ละข้างก็จะแบ่งเป็นอีกหลายกลีบและทำหน้าที่ของตัวเองไป โดยสำหรับ
อาการมะเร็งปอด
มะเร็งปอดส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก และจะมีสัญญาณเตือนที่บอกถึงการเกิดโรคเมื่อมะเร็งมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จาก
- ไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน
- ไอปนเลือด
- หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากเป็นระยะเวลานาน
- เจ็บหน้าอก
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
- ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ
- เสียงแหบ
สาเหตุของมะเร็งปอด
สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน จนส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งปอดได้ในที่สุด โดยเฉพาะปัจจัยเหล่านี้
- การมีพันธุกรรม ซึ่งจะเป็นพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอดบางชนิด โดยจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมะเร็งในกรณีนี้ มักจะเกิดจากพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์มากที่สุด
- การสูบบุหรี่ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่พบได้มากในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด เพราะบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่จะเข้าไปทำลายปอดโดยตรง ส่งผลให้เซลล์ปอดเกิดการกลายพันธุ์ จนเป็นมะเร็งปอดในที่สุด ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงมาก และนอกจากนี้ในคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ ก็มีโอกาสป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดได้สูงไม่แพ้ผู้สูบบุหรี่โดยตรงเลยทีเดียว
- อายุ ด้วยอายุที่มากขึ้น จะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นด้วย ซึ่งจากสถิติของผู้ป่วยพบว่า จะพบมะเร็งปอดในคนที่มีอายุ 50-60 ปีมากที่สุดและมักจะเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า โดยสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ก็จะพบมะเร็งปอดได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามในประเทศไทยก็พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดติดใน 10 อันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดชนิดของโรคมะเร็งปอด
ชนิดของมะเร็งปอด
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ
1) ชนิดเซลล์ตัวโต
2) ชนิดเซลล์ตัวเล็ก
โดยสำหรับความรุนแรงของโรคนั้น พบว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็กจะมีความรุนแรงมากที่สุด และสามารถพบได้บ่อยมากอีกด้วยอาการของโรคมะเร็งปอดโรคมะเร็งปอดก็เช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ไม่มีอาการบ่งชี้เฉพาะ โดยจะมีอาการที่คล้ายกับการติดเชื้อทั่วไปของปอดแทน
ในปี พ.ศ.2550 ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้เกือบ 8 ล้านคนโดยมะเร็ง 5 ชนิดที่พบมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งปอด เสียชีวิต ปีละ 1.3 ล้านคน
ซึ่งก็มีอาการที่สามารถสังเกตและสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็น มะเร็งปอดดังนี้
- มีอาการไอเรื้อรัง โดยในบางคนอาจไอเป็นเลือดหรือมีน้ำลายปนเลือดออกมาด้วย
- รู้สึกเหนื่อยหอบได้ง่าย บางครั้งอาจคล้ายคนเป็นโรคหอบ
- น้ำหนักลดผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการไข้ต่ำๆ ที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้
- มีอาการบวม โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณใบหน้า ลำคอและแขนและอาจมีอาการเหนื่อยหอบจนไม่สามารถนอนราบได้ ทั้งนี้เกิดจากการที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปในหลอดเลือดในช่องอกนั่นเอง
- คลำพบต่อมน้ำเหลืองโตใกล้กับกระดูกไหปลาร้า ซึ่งเป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปมากแล้ว
- ในผู้ป่วยบางคนที่เป็นมะเร็งปอดอาจไม่มีอาการทางปอดแสดงออกมา แต่อาจมีอาการอื่นๆ ที่เกิดจากการแพร่กระจายของมะเร็งปอดแสดงออกมาแทน เช่น ปวดหลัง ปวดกระดูกหรือเป็นอัมพาต เป็นต้น
การวินิจฉัยและระยะของมะเร็ง
การวินิจฉัย แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ตามด้วยการตรวจร่างกายและเอกซเรย์ปอด และขั้นตอนสำคัญก็คือการนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาหรือเซลล์วิทยา เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งปอดหรือไม่ หลังจากนั้นก็จะตรวจสอบระยะของโรค
มะเร็งปอด มีทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่มะเร็งยังคงมีขนาดเล็กไม่เกิน 50 เซนติเมตร และยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากขั้วปอด
ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่มะเร็งปอดเริ่มมีการลุกลามและมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยส่วนใหญ่จะลุกลามเข้าสู่ผนังหน้าอก เยื่อหุ้มปอดและต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่มะเร็งปอด ลุกลามจนเข้าไปในปอดกลีบอื่นๆ และขยายวงกว้างมากขึ้น หรือกรณีที่ก้อนมะเร็งเกิดอยู่ใกล้กับขั้วปอดมาก ซึ่งก็เป็นระยะที่มีความอันตรายสูงพอสมควร
ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่มะเร็งมีการกระจายเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากต้นกำเนิดมะเร็ง โดยส่วนใหญ่จะพบว่ามีการแพร่กระจายเข้าไปในกระดูก ตับ สมองและน้ำเหลืองได้มากที่สุด
การรักษามะเร็งปอด
มะเร็งปอดเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูงมากและอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็สามารถรักษาให้หายได้แต่จะมีโอกาสต่ำกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วย เช่น ระยะของโรคมะเร็ง อายุ สุขภาพของผู้ป่วย การตอบสนองต่อผลการรักษา และสุดท้ายที่สำคัญก็คือผลของการผ่าตัด ว่าสามารถเอาก้อนเนื้อออกไปได้หมดหรือไม่ เพราะหากยังคงมีหลงเหลืออยู่ มะเร็งปอดก็สามารถแพร่กระจายไปอีกได้เช่นกัน
การรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโต
สำหรับการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโต จะแบ่งออกตามระยะของโรค ดังนี้
ระยะเริ่มแรก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งในบางรายก็อาจทำเคมีบำบัดร่วมด้วย
ระยะลุกลามรุนแรง แพทย์จะทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดพร้อมกับรังสีรักษา เพื่อบรรเทาและปะทังอาการให้ได้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย
ระยะแพร่กระจาย จะทำการรักษาด้วยการประคับประคองพยุงอาการ และพยายามบรรเทาอาการป่วยให้ได้มากที่สุด เนื่องจากเป็นระยะที่อาการรุนแรงและอันตรายมาก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การรักษาโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก
มะเร็งปอดจะมีความรุนแรงสูงมากและส่วนใหญ่มักจะตรวจพบเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนอื่นๆ แล้ว การรักษาจึงต้องรักษาแบบพยุงอาการ และพยายามประคับประคองให้ผู้ป่วยมีอายุอยู่ได้นานที่สุด ซึ่งก็อาจจะทำเคมีบำบัดและใช้รังสีรักษาร่วมด้วย
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางคนแพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าจะสามารถใช้วิธีการนี้ในการรักษาได้หรือไม่และนอกจากวิธีการรักษาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งปอดได้เหมือนกัน คือการใช้ยารักษาแบบตรงเป้าซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาและมีราคาแพงมาก
โดยในปัจจุบันวิธีนี้ยังคงใช้เพื่อควบคุมโรคได้ระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้สำหรับการตรวจหาโรคมะเร็งให้พบตั้งแต่เริ่มแรกเป็น ยังไม่มีวิธีที่ชี้เฉพาะ ทำได้แค่หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ หากมีความผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที และสำหรับการป้องกัน ก็ให้หลีกเลี่ยงตัวการที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดโดยเฉพาะการสูบบุหรี่และการได้รับควันบุหรี่มือสอง หากทำได้ดังนี้จะห่างไกลจากโรคมะเร็งแน่นอน
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Jemal, A (Sep 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences 1076.
เผยคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเกือบ 7 หมื่น มะเร็งปอดสูงสุด.[เว็บไซต์], สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. 2015.