มะเร็งช่องปาก
มะเร็งช่องปาก ( Oral Cancer ) คือ เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งในช่องปาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งที่บริเวณริมฝีปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก หรือพื้นปาก นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ทอนซิลด้านหลังช่องปาก รวมถึงในบริเวณช่องคอที่เชื่อมต่อระหว่างปากกับหลอดลมหรือคอหอย ทุกคนสามารถเป็นมะเร็งช่องปากได้ แต่ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก หรือมีการติดเชื้อไวรัส human papilloma ( HPV ) มีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ ช่องปากประกอบด้วยเนื้อเยื่อมากมายไม่ว่าจะเป็น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก หรือแม้กระทั่งเพดาน ลิ้น และเนื้อเยื่อที่มีอยู่รอบ ๆ ช่องปาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก
- การสูบบุหรี่ สูบในปริมาณมาก และสูบมาเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
- ผู้ที่กินหมากและยาฉุน ส่งผลทำให้เซลล์ภายในช่องปาก มีอาการอักเสบเกิดขึ้นได้แบบเรื้อรัง จนกระทั่งกลายเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตามมา
- ผู้ที่ไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ส่งผลทำให้ช่องปากสกปรกเป็นอย่างมาก มีอาการติดเชื้อบ่อยครั้ง และมีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่เหงือกและฟันแบบเรื้อรัง ส่งผลทำให้เซลล์สามารถกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส เอชพีวี ทางช่องปาก
อาการของมะเร็งช่องปาก
อาการมะเร็งช่องปากมักจะมีลักษณะผอมลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ได้ และมีลักษณะอ้าปากไม่ได้ เพราะโรคมะเร็งช่องปากอยู่ในช่วงที่ลุกลามไปในส่วนของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ภายในช่องปาก
- รู้สึกเจ็บในช่องปาก และปวดหู
- มีแผลในปากที่หายยาก
- เลือดออกในปาก
- กลืนลำบากหรือเคี้ยวลำบาก
- การเจริญเติบโตของก้อนเนื้อ
- เสียงแหบเจ็บคอเรื้อรัง
- อาการกรามบวม
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อาการชาที่ลิ้นหรือบริเวณอื่น ๆ ของปาก
- พบก้อนที่ลำคอ
- มีกลิ่นปากที่รักษายาก
- ต่อมน้ำเหลืองเป็นก้อนโต
ระยะของมะเร็งช่องปาก
มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งช่องปากระยะแรกนั้นอาจจะมีขนาดโตประมาณ 2 เซนติเมตร
มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งอาจจะมีขนาดโตกว่า 2 เซนติเมตร แต่จะไม่เกิน 4 เซนติเมตร
มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งจะมีขนาดโตกว่า 4 เซนติเมตร และมีลักษณะลุกลามเข้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองช่วงลำคอเพียงแค่ต่อมเดียวเท่านั้น ซึ่งต่อมน้ำเหลืออาจจะมีขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร
มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อ พร้อมทั้งอวัยวะใกล้เคียง หรือ ได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอถึงหลายต่อมด้วยกัน ส่งผลทำให้ต่อมน้ำเหลือมีขนาดโตกว่า 6 เซนติเมตร พร้อมทั้งได้มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และ อวัยวะที่ไกลออกไป ไม่ว่าจะเป็น ตับ ปอด หรือแม้กระทั่งกระดูก
โรคมะเร็งช่องปากถือได้ว่าเป็นโรคมะเร็งที่สามารถพบได้บ่อย และเป็นโรคมะเร็งที่ติดอันดับหนึ่งใน 10 ที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ แพทย์มักจะวินิจฉัยโรค โดยเริ่มต้นสอบถามเกี่ยวกับประวัติ อาการของผู้ป่วย ตลอดจนกระทั่งมีการตรวจช่องปาก พร้อมทั้งการตรวจหาโรคมะเร็งให้แน่ชัดยิ่งขึ้น ด้วยการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนหรือแผลที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เพื่อนำไปตรวจผลทางพยาธิวิทยาต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน นับได้ว่ายังคงไม่มีวิธีการตรวจหรือการคัดกรอง โรคมะเร็งช่องปาก ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะให้ค้นพบโรคมะเร็งในระยะแรกเริ่ม แต่สำหรับผู้ที่สงสัยหรือค้นพบอาการผิดปกติภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบก้อนเนื้อ หรือ การเกิดแผลที่หายยากภายในช่องปาก ตลอดจนกระทั่งการค้นพบว่าต่อมน้ำเหลือบริเวณลำคอ มีลักษณะที่โตขึ้นจนผิดปกติไป ก็ควรที่จะรีบเข้าพบแพทย์และปรึกษาแพทย์โดยด่วน
การรักษามะเร็งช่องปาก
วิธีการรักษา มะเร็งช่องปาก มักจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค พร้อมทั้งอายุและสุขภาพของผู้ป่วยโดยตรง ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัด หรือ ใช้รังสีรักษา ซึ่งจะมีการให้เคมีบำบัดร่วมด้วยให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากในระยะที่ลุกลามไปมากแล้ว ซึ่งตอนนี้ยังคงไม่มียาที่จะสามารถรักษาโรคมะเร็งช่องปากได้อย่างตรงเป้าหมาย เพราะยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งช่องปาก
มะเร็งช่องปากและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของปาก เช่น ปัญหาการพูด การกลืนลำบาก และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
การป้องกันมะเร็งช่องปาก
วิธีการป้องกัน มะเร็งช่องปาก เราสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งชนิดนี้ พร้อมทั้งการรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากอย่างเป็นประจำ หรือ การเข้าพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแลสุขภาพภายในช่องปากเพียงแค่ปีละครั้ง ก็จะทำให้เราทุกคน สามารถห่างไกลจากโรคมะเร็งช่องปากได้แล้ว
อย่างไรก็ตามแนวทางการรักษามะเร็งมะเร็งช่องปากในปัจจุบัน คือ การผ่าตัด การฉายแสง และเคมีบำบัด ทำให้การพักฟื้นหลังการรักษามะเร็งช่องปากระยะลุกลาม สามารถช่วยให้การรับประทานอาหาร การกลืน และการพูดกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติซึ่งเป็นการบำบัดอีกอย่างหนึ่ง
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.