- มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer )
- เชื้อพยาธิเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงหรือ ?
- อาหารเสริม ทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อหัวใจ
- การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลข้างเคียงต่อการมองเห็นอย่างไร
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- ผลกระทบจากการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อระบบไหลเวียนโลหิต
- โครงสร้าง และ ส่วนประกอบของเต้านม
- การตรวจหามะเร็ง มีวิธีการตรวจอะไรบ้าง
- การพบแพทย์เพื่อประเมินผล และติดตามผลผู้ป่วยมะเร็ง
- มะเร็งดวงตา กับการรักษาด้วยการฉายรังสี มีผลกระทบอะไรบ้าง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อกระดูก
- ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ
- ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
- วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค
- ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
- มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )
- ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม
- ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )
- มะเร็งที่พบบ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายในประเทศไทย
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด
- มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) มีสาเหตุและอาการของโรคอย่างไร
- มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer )
- มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) อาการ สาเหตุ และการรักษา
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer )
- มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer )
- มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษา ( Ovarian Cancer )
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก
- กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
- เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )
- มะเร็งตับ ( Liver Cancer )
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer )
- มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma ) สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา
- มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต
- มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
- มะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายได้ไหม มีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน
- มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer )
- มะเร็งถุงน้ำดี ( Gallbladder Cancer )
- มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma หรือ CCA )
- มะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Cancer )
- มะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ
- มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer )
- มะเร็งโพรงไซนัส และ มะเร็งโพรงจมูก
- มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
- ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
- สารตรวจค่าเลือดเฟอร์ริติน ( Ferritin )
- การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็ง
- สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม
- อาการมะเร็ง เบื้องต้น ฉบับล่าสุด 2020
- อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
- อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
- มะเร็งเกิดจากอะไร ? ( Causes of Cancer )
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ( Cancer Care )
- การตรวจ และรักษามะเร็ง
- ถาม – ตอบ ปัญหาโรคมะเร็ง
- ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer )
- จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง?
- ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย
- มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งอันดับ 1 ผู้หญิง
- อาหารเพิ่มเลือด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับคีโม
- อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง
- การอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ
- การตรวจหาสารมะเร็ง – Tumor Marker
- มะเร็ง ( cancer ) โรคที่ทุกคนต้องรู้
- โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
- สัญญาณมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยมะเร็ง
มะเร็งต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำลายเป็นอวัยวะอีกส่วนหนึ่งของระบบศีรษะ หูคอจมูกและลำคอ ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer ) ได้ โดยต่อมน้ำลายจะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ ( Major Sali Glands ) และต่อมน้ำลายขนาดเล็ก ( Minor Salivary Glands ) มีหน้าที่ในการสร้างน้ำลายเพื่อใช้ในการย่อยอาหารและหล่อเลี้ยงช่องปากและลำคอ โดยต่อมน้ำลายทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะดังนี้
ต่อมน้ำลายขนาดใหญ่มี 3 คู่ 3 ตำแหน่ง คือต่อมน้ำลายหน้าหูซึ่งเป็นต่อมน้ำลายที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาจะเป็นต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น โดยจะอยู่บริเวณซ้ายขวาของใบหน้าและบริเวณใต้ขากรรไกร ซึ่งก็จะมีท่อน้ำลายเพื่อส่งน้ำลายที่ผลิตออกมาแล้วเข้าสู่ช่องปากตลอดเวลา
ต่อมน้ำลายขนาดเล็กจะมีขนาดที่เล็กมากและกระจายอยู่ทั่วช่องปาก คอหอย ลำคอและกล่องเสียง รวมถึงในเยื่อเมือกของเนื้อเยื่ออวัยวะทั่วร่างกาย เช่น ในช่องคลอด ในหลอดลมซึ่งต่อมน้ำลายเหล่านี้จะไม่มีท่อส่งน้ำลายเหมือนกับต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ แต่จะสร้างน้ำลายออกมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นโดยตรง
สาเหตุการเกิดมะเร็งต่อมน้ำลาย
ปัจจัยการเกิดมะเร็งต่อมน้ำลายมักจะพบได้บ่อยในต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ ส่วนต่อมน้ำลายขนาดเล็กจะพบได้น้อยมาก แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ สันนิษฐานว่ามะเร็งต่อมน้ำลายน่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงรวมกันดังต่อไปนี้
มะเร็งต่อมน้ำลาย คือ ความผิดปกติของพันธุกรรมแบบไม่ถ่ายทอด ซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกตินั่นเอง เกิดจากการที่ร่างกายขาดสารอาหารสำคัญบางชนิด จึงทำให้ต่อมน้ำลายเกิดการกลายพันธุ์และเป็นมะเร็งต่อมน้ำลายในที่สุดขาดวิตามินเอและวิตามินซี ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญที่จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับต่อมน้ำลายได้รับสารรังสีบางชนิดที่มีผลกระทบต่อต่อมน้ำลาย เช่น รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ รังสีที่ใช้ในการรักษาโรคบางชนิด
มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer ) เป็นโรคที่สามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัยแต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และมีโอกาสพบได้สูงมากในคนที่มีอายุช่วง 50-55 ปี
อัตราการเกิดมะเร็งต่อมน้ำลายในผู้หญิงและผู้ชาย ก็จะอยู่ในระดับที่เท่าๆ กัน นอกจากนี้มะเร็งต่อมน้ำลายก็มีหลายชนิดย่อยๆ ไปอีก แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดได้แก่มะเร็งต่อมน้ำลายชนิดคาร์ซิโนมาซึ่งมีความรุนแรงในระดับปานกลาง หากพบในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้
มะเร็งต่อมน้ำลาย มีอาการอย่างไร
มะเร็งต่อมน้ำลาย ไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะมีอาการที่คล้ายคลึงกับอาการของโรคเนื้องอกธรรมดา ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งทันที โดยอาการที่มักจะพบได้บ่อยคือ คลำเจอก้อนเนื้อผิดปกติโดยอาจมีลักษณะอาการบวมออกมา ใบหน้าตรงส่วนที่เป็นมะเร็งอาจมีอาการชาและเบี้ยวเนื่องจากมะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสู่เส้นประสาท ต่อมน้ำเหลือบริเวณลำคอ ตรงฝ่ายใบหน้าที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำลายจะมีขนาดโตอย่างเห็นได้ชัด
การวินิจฉัยและระยะของมะเร็งต่อมน้ำลาย
การวินิจฉัยว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งต่อมน้ำลายหรือไม่ แพทย์จะสอบถามประวัติอาการป่วยพร้อมทั้งตรวจร่างกาย และทำการผ่าตัดเอาต่อมน้ำลายไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อความแน่ชัดมากขึ้น โดยสำหรับโรคนี้แพทย์จะไม่ตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจเหมือนกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ เพราะการตัดเอาไปแต่ชิ้นเนื้อจะทำให้เกิดการลุกลามของมะเร็งอย่างรวดเร็วจึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเอาต่อมน้ำลายไปตรวจแทนนั่นเอง
ระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำลายจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ
เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั่วไป โดยแบ่งได้เป็น
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 เซนติเมตรและไม่รุนแรงมาก
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังไม่เกิน 4 เซนติเมตร และมีความรุนแรงในระดับปานกลาง
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงและมีขนาดที่โตกว่า 4 เซนติเมตร แต่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอยังมีขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ผิวหนัง เส้นประสาท กระดูก ลำคอและอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยระยะนี้จะพบต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตกว่า 3 เซนติเมตรและเป็นระยะที่อันตรายมาก ซึ่งจะมีโอกาสในการรักษาให้หายขาดแค่เพียงน้อยนิดเท่านั้น
การรักษามะเร็งต่อมน้ำลาย
สำหรับการรักษามะเร็งต่อมน้ำลายแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การใช้รังสีรักษาและการรักษาด้วยยาแบบตรงเป้า แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดีแค่ไหน อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งต่อมน้ำลายก็สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้หากพบในระยะเริ่มแรกของโรค ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วย รวมถึงผลของการผ่าตัดว่าสามารถเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกมาได้จนหมดหรือไม่
ส่วนการตรวจหามะเร็งต่อมน้ำลายตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำได้ด้วยการสังเกตตัวเองหากมีความผิดปกติโดยมีอาการบวมหรือพบก้อนเนื้อบริเวณต่อมน้ำลาย ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ส่วนการป้องกันยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยแพทย์แนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งต่อมน้ำลายจะดีที่สุด
ผลกระทบจากการฉายแสงรักษามะเร็งของต่อมน้ำลาย
การรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในบริเวณของคอและศีรษะด้วยการฉายรังสีนั้นแน่นอนว่าเมื่อทำการฉายรังสีที่คอแล้วย่อมสร้างผลกระทบต่อต่อมน้ำลายอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายจะส่งผลให้มีการผลิตน้ำลายออกมาน้อยลง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย คือ
- ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำลายแห้ง ( Xerostomia )
- นอนไม่หลับ
- ปวดในช่องปาก
- สุขภาวะภายในช่องปากไม่ดี
- โอกาสในการติดเชื้อในช่องปากสูงกว่าปกติ
- เคี้ยวและกลืนลำบาก
อาการที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลกระทบให้ผุ้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันอย่างยากลำบาก ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายหลัก เช่น ต่อม Submandibular ต่อม Sublinggual เป็นต้น รวมถึงการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายเล็กอื่นที่อยู่ภายในช่องปากด้วยซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 7 วันและจะมีอาการข้างเคียงเช่นนี้ประมาณ 2 ปีและจะกลับเข้ามาสู่สภาวะปกติได้ดังเดิม
การแบ่งระดับความรุนแรงของอาการข้างเคียงโดย LENT-SOMA : Late Effects Normal Tissue Subjective, Objective, Management,Analytic Scal คือ การประเมินระดับความรุนแรงของผุ้ป่วยโดยที่ทำการประเมินจากการวัดเชิงประมาณของน้ำลาย ขั้นตอนการรักษา ซึ่งทำจากการวัดปริมาณน้ำลายของผู้ป่วยในขณะที่ไม่มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำลายที่มีในขณะที่มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย วิธีการวัดทำได้ด้วยการเก็บน้ำลายในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะปกติเป็นเวลา 5 นาทีและทำการเก็บน้ำลายในขณะที่มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายเป็นเวลา 5 นาทีเช่นกัน จึงจะสามารถช่วยประเมินได้ว่าอาการข้างเคียงของผู้ป่วยอยู่ที่ระดับใด ในการรักษาด้วยรังสีสามารถป้องกันไม่ให้ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายได้ ด้วยการใช้เทคนิค การฉายรังสี ตั้งแต่ 3 มิติเข้ามาช่วย เพราะว่าต่อมพาโรติดและต่อม Submandibular นั้นสามารถมองเห็นได้ด้วยการทำ Contrast-enhanced CT
ปริมาณรังสีที่สร้างผลกระทบต่อต่อมน้ำลาย |
1.เมื่อได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า 10-15 Gy จะส่งผลกระทบต่อต่อมน้ำลายเพียงเล็กน้อย |
2.เมื่อได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า 20-40 Gy ต่อมน้ำลายจะเริ่มมีการทำงานที่น้อยลงอย่างชัดเจน |
3.เมื่อได้รับปริมาณรังสีมากกว่า 40 Gy ประสิทธิภาพการทำงานของต่อมน้ำลายจะลดลงถึง 75 % ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำลายแห้งที่รุนแรง |
ซึ่งการป้องกันการเกิดภาวะน้ำลายแห้งอย่างได้ผลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสามารถทำการรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้อย่างน้อย 1 ข้าง ซึ่งคาดว่าถ้าได้รับ การฉายรังสี แต่ถ้าได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า 25 Gy แล้วต่อมพาโรติดจะสามารถทำงานได้อย่างปกติไม่ก่อให้เกิดภาวะน้ำลายแห้งเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสรุป Dose-Volume ปริมาณรังสีและผลต่อต่อมพาโรติดได้ดังนี้
1.ปริมาณรังสีเฉลี่ยไม่เกิน 20 Gy จะสามารถรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้ทั้ง 2 ข้าง
2.ปริมาณรังสีเฉลี่ยไม่เกิน 26 Gy จะสามารถรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้ 1 ข้าง
3.ปริมาณรังสีเฉลี่ยมากกว่า 30 Gy จะไม่สามารถรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้เลย
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20427″]
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.