การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด ( Platelet Count )
เกล็ดเลือด ( PLATELET ) มีต้นกำเนิดมาจากไขกระดูก ทำหน้าที่สำคัญในการช่วยหยุดยั้งการไหลของเลือดขณะเกิดบาดแผล และป้องกันการเสียเลือดมาก

เกล็ดเลือด ( Platelet )

Platelet Count ( เพลตเล็ท เคานต์ ) คือ จำนวนนับเกล็ดเลือด เกล็ดเลือด ( Platelet ) มีบาทสำคัญในการช่วยหยุดยั้งการไหลของเลือดขณะเกิดบาดแผลเพื่อป้องกันการเสียเลือดมากเกินควร เกล็ดเลือด ( Platelet ) หรือ thrombocyte มีต้นกำเนิดมาจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดตัวอื่น เมื่อขณะยังเป็นวัยรุ่นจะถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า megakaryocyte อยู่ภายในไขกระดูก เมื่อโตเต็มที่จะออกมาสู่หลอดเลือดแล้วมีรูปร่างลักษณะเป็นแผ่น โดยมีรูปร่างไม่เป็นระเบียบและมีขนาดโดยทั่วไปเล็กกว่าเม็ดเลือดแดง

วัตถุประสงค์ในการตรวจ เกล็ดเลือด

คือ เพื่อนับจำนวนของ เกล็ดเลือด หากมีน้อยกว่าระดับปกติก็ย่อมมีผลในการห้ามเลือดให้กระทำการได้ช้าเนิ่นนานกว่าที่ควาจะเป็น แต่หากมีมากกว่าระดับปกติ ก็อาจบ่งชี้ว่าร่างกายกำลังมีโรคสำคัญหรือกำลังมีการอักเสบชนิดรุนแรง

หน้าที่ของเกล็ดเลือดภายในร่างกาย

เกล็ดเลือดเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่ทำหน้าที่ในกลไกการห้ามเลือด ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย และการแข็งตัวของเลือด หากผนังหลอดเลือดได้รับความเสียหายเกล็ดเลือดจะรีบไปที่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บและสร้างซีโรโทนินทำให้หลอดเลือดหดตัว ปิดรอยฉีกขาด หยุดเลือด และเสริมสร้างความแข็งแรงของเยื่อบุหลอดเลือด หากเกล็ดเลือดต่ำแล้วเกิดได้รับบาดเจ็บจนมีเลือดออกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดไหลไม่หยุดจนไม่สามารถควบคุมได้หรือตั้งใช้เวลาในการห้ามเลือดนานขึ้น เมื่อมีเกล็ดเลือดในเลือดมากเกินไปเรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดสูง เป็นภาวะผิดปกติของร่างกายในการสร้างเกล็ดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเกล็ดเลือดสูงโดยไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นอันตรายจากเส้นเลือดอุดตันในสมอง เส้นเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ เป็นต้น

เกล็ดเลือดที่ดีต่อสุขภาพควรมีปริมาณเท่าไหร่

จำนวนเกล็ดเลือดปกติอยู่ในช่วง 150,000 ถึง 450,000 เกล็ดเลือดต่อไมโครลิตรของเลือด การมีเกล็ดเลือดมากกว่า 450,000 เป็นภาวะที่เรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดสูง แต่การมีน้อยกว่า 150,000 เรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) เป็นการตรวจเลือดพื้นฐานที่แพทย์นิยมใช้ตรวจในการตรวจสุขภาพประจำปีเนื่องจากการตรวจนี้ทำได้ค่อนข้างง่าย
ค่าปกติของ เกล็ดเลือด แต่ละช่วงวัย ได้แก่
ทารก = 200,000 – 475,000 เซลล์ / ลบ.มม.
เด็ก = 150,000 – 450,000 เซลล์ / ลบ.มม.
ผู้ใหญ่ = 150,000 – 400,000 เซลล์ / ลบ.มม.

การมีเกล็ดเลือดน้อยเกินไปหมายความว่าอย่างไร

ถ้าศัพท์ทางการแพทย์เรียกการมีเกล็ดเลือดมากเกินไปว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (leukopenia)
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้จากระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลหรือ absolute neutrophil count (ANC)  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 เม็ดเลือดขาวต่ำเล็กน้อย (1000-1500 cell/mm)
ระดับที่ 2 เม็ดเลือดขาวต่ำในระดับปานกลาง (500-1000 cell/mm)
ระดับที่ 3 เม็ดเลือดขาวต่ำระดับรุนแรง (<500 cell/mm)
จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อจะมากขึ้นตามระดับความรุนแรงของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะมีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำที่สุดภายใน 6-12 วันหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด และปริมาณเม็ดเลือดขาวจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 21 วัน

อาการที่บ่งชี้ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

  • เกิดรอยช้ำ หรือเกิดห้อเลือด
  • มักมีเลือดออกที่เหงือก จมูก หรือทางเดินอาหาร
  • เมื่อเกิดบาดแผล เช่น ของมีคมบาด เลือดหยุดไหลช้ากว่าปกติ
  • ผื่นหรือจุดขนาดเล็กกระจายใต้ผิวหนัง
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ

สาเหตุที่จำนวนเกล็ดเลือดของคุณลดลง

  • ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาฆ่าเชื้อ ยาขับปัสสาวะ
  • โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • การรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา
  • โรคภูมิต้านทานตนเอง หรือโรคออโตอิมมูน
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น เอสไอวี โรคหัด และโรคไวรัสตับอักเสบ
  • การติดเชื้อในไตหรือความผิดปกติ
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคตับแข็ง
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสูบบุหรี่มากเกินไป

ค่าผิดปกติของ เกล็ดเลือด 
1. ในทางน้อย
1.1 ที่เกิดจากสาเหตุภายนอกที่มาทำลายเม็ดเลือด อาจแสดงว่า

  • ถูกไวรัสบางชนิดโจมตีทำลาย เช่น ไวรัสขนาดใหญ่ชนิดโจมตีเซลล์ , เฮิร์พไวรัส , ไวรัส HIV
  • การเสียเลือดมาก หรือการได้รับการถ่ายเลือดปริมาณมากผิดปกติ
  • เกิดการติดเชื้อที่ไม่ใช่ไวรัสที่ร้ายแรง

1.2 ที่เกิดจากสาเหตุภายที่ทำให้ไขกระดูกลดการผลิต เกล็ดเลือด อาจแสดงว่า

  • อาจเกิดโรคที่ส่งผลกระทบต่อไขกระดูก เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคพังผืดจับเจาะไขกระดูก
  • อาจเกิดจากการถูกรังสีรักษา หรือรังสีบำบัดในการรักษาโรค
  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • มีการติดเชื้อจากไวรัสบางชนิด
  • อาจได้รับยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาเสริมฮอร์โมนสำหรับสตรี ยารักษาอาการชัก ยาขับปัสสาวะ 

1.3 ที่เกิดจากภายในร่างกาย

  • อาจเกิดอาการม้ามโต
  • ร่างกายได้รับน้ำมากกว่าปกติ
  • อาจเกิดโรคไต

2. ในทางมาก อาจแสดงว่า

  • เกิดการอักเสบจากแผลเรื้อรังภายในร่างกาย
  • อาจเกิดโรคมะเร็งที่ไขกระดูก
  • อาจมีแผลหรือมีการบาดเจ็บขนาดใหญ่ทำให้ร่างกายสร้าง เกล็ดเลือด เพิ่มมากกว่าปกติ

เกล็ดเลือด มีต้นกำเนิดมาจากไขกระดูก ทำหน้าที่สำคัญในการช่วยหยุดยั้งการไหลของเลือดขณะเกิดบาดแผล และป้องกันการเสียเลือดมาก

ชนิดของ เกล็ดเลือด

เอ็มพีวี ( MPV ) Mean Platelet Volume
เกิดมาจากไขกระดูก เป็นค่าเฉลี่ยปานกลางของปริมาตร เกล็ดเลือด โดยมีหน่วยนับเป็น เฟมโตลิตร ( fL )

วัตถุประสงค์ในการตรวจ MPV
เพื่อหาค่าเฉลี่ยปานกลางของปริมาตร เกล็ดเลือด ว่ามีขนาดเล็ก ปกติ หรือใหญ่กว่าปกติ

ค่าปกติของ MPV
ค่าปกติทั่วไป = 6 – 10 fL

ค่าผิดปกติของ MPV
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า

  • เกล็ดเลือด นั้นใกล้สิ้นอายุขัยจึงทำให้มีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
  • อาจเกิดสภาวะไขกระดูกเสื่อม จนทำให้เกิดโรคโลหิตจาง

2. ในทางมาก อาจแสดงว่า

  • เกิดเกล็ดเลือดใหม่มากผิดปกติ
  • อาจเกิดโรคที่ไขกระดูก จึงทำให้ผลิต เกล็ดเลือด ใหญ่กว่าปกติ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.