Total PSA สารตรวจวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก

0
8307
Total PSA สารตรวจวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก
PSA เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้ทราบถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมาก
Total PSA สารตรวจวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก
PSA เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้ทราบถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมากในเพศชาย

PSA คือ

PSA ย่อมาจาก Prostate Specific Antigen ( พรอซ-เทท สเปซิฟิก แอนติเจน ) คือ สารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเป็นสารแปลกปลอมที่เจาะจงว่าผลิตมาจากต่อมลูกหมากเป็นสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากที่มีความไวต่อการตรวจเป็นอย่างมาก ทำให้ทราบได้อย่างรวดเร็วว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมาก

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Total PSA

ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่ตั้งอยู่ที่ก้นถุงกระเพาะปัสสาวะ โดยมีหน้าที่หลักคือ

1. ต่อมลูกหมากผลิตน้ำซีเมน ( Semen ) ซึ่งเป็นน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงตัวอสุจิ และทำหน้าที่ดันตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ของผู้หญิงจนเกิดเป็นการปฏิสนธิเกิดมาเป็นทารก

2. ต่อมลูกหมากมีหน้าที่เป็นวาล์ว เปิด-ปิด ท่อปัสสาวะตามคำสั่งของระบบประสาท เพื่อปล่อยเอาน้ำปัสสาวะออกมาจากร่างกาย และต่อมลูกหมากก็มีการสารพิเศษชนิดหนึ่งออกมาจับตัวเข้ากับโปรตีน จนได้เป็น PSA อีกด้วย

การตรวจค่า PSA บ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากได้แน่นอนหรือเปล่า

PSA เป็นสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากที่มีความไวต่อการตรวจเป็นอย่างมาก และมีความแม่นยำน่าเชื่อถือมากกว่าการตรวจด้วยสัญญาณบ่งชี้อีกตัวหนึ่ง ซึ่งก็คือ Prostatics Acid Phosphatase ( PEP ) ในปัจจุบันจึงนิยมหันมาตรวจหาสัญญาณมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA กันมากขึ้น ส่วน PEP ไม่ค่อยมีผู้นิยมใช้กันแล้ว

ในการตรวจค่า PSA ที่สูงกว่าปกติ จะให้ค่าความแม่นยำประมาณ 80% โดย 20% ที่เหลืออาจเป็นเพราะความผิดปกติของต่อมลูกหมากที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากโต หรือภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็มีข้อจำกัดอีกด้วยว่า ค่า PSA ควรจะอยู่ในระดับ 4-10 ng / mL เท่านั้น ถึงจะเรียกได้ว่า “ เขตบ่งชี้สีเทา ” โดยหากพบค่า PSA ที่สูงเกินกว่า 10 mg/mL ก็บ่งชี้ได้ว่าอาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูงมากทีเดียว

โดยปกติแล้วค่า PSA จะสูงขึ้นจากปกติเล็กน้อย หลังจากเพิ่งมีการหลั่งน้ำกามได้ไม่นาน ดังนั้นการตรวจหาค่า PSA หลังจากมีเพศสัมพันธ์จึงอาจได้ผลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงให้คำแนะนำว่า ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนการเข้ารับการตรวจ PSA หรือให้งดกิจกรรมทางเพศทุกอย่างก่อนเข้ารับการตรวจหาค่า PSA เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลการตรวจมีความแม่นยำมากที่สุด

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าผลการตรวจค่า PSA อาจจะไม่แน่ชัด แต่ก็มีวิธีการแยกแยะเพื่อเพิ่มความแม่นยำว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่เหมือนกัน

วิธีการตรวจสำหรับผู้ที่มีค่า PSA สูงกว่า 4 ng / mL เพื่อหาความแม่นยำของสัญญาณบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก สำหรับวิธีการตรวจเพื่อความแม่นยำสามารถทำได้หลายวิธี โดยอาจตรวจสอบเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งหรืออาจตรวจหลายวิธีร่วมกันเพื่อความมั่นใจก็ได้

ตรวจด้วยค่า Free PSA คือ การตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA ไปพร้อมๆ กับการหาค่า Free PSA ไปด้วย โดยการพิจารณาผลการตรวจนั้น หากพบว่าค่า Free PSA มีค่าน้อยกว่า 25% ก็แสดงว่า ผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแน่นอน

ตรวจด้วยอัตราส่วน Free PSA ต่อ PSA จะใช้วิธีการตรวจด้วยวิธีนี้ โดยจะเอาค่าที่ได้ของทั้งสองค่ามาเทียบอัตราส่วนกัน เพื่อแยกให้ชัดเจนมากขึ้นว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมีต่อมลูกหมากโตกันแน่ โดยส่วนใหญ่จะพบตัวเลขดังนี้

อัตราส่วนของ Free PSA : PSA ที่บ่งชี้ว่าอาจจะเป็นคือ
ผลลัพธ์ = ตัวเลขสูง ต่อมลูกหมากโต
ผลลัพธ์ = ตัวเลขต่ำ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

ตรวจด้วยค่าความเร็วของ PSA การตรวจด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 2 ปีและทำการบันทึกผลเอาไว้ โดยจะตรวจทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งหากค่าการตรวจที่ได้เป็นดังนี้

การตรวจ PSA ตรวจด้วยอัตราส่วน Free PSA ต่อ PSA ใช้เวลาในการตรวจอย่างน้อย 2 ปี
การตรวจต้นปีที่ 1 ได้ค่า PSA = X
การตรวจต้นปีที่ 2 ได้ค่า PSA = Y
การตรวจต้นปีที่ 3 ได้ค่า PSA = Z
และเมื่อทำการคำนวณผลการตรวจค่าดังกล่าวแล้ว พบว่า
Y-X > 0.75 ng/mL/Year หรือ
Z-Y > 0.75 ng/mL/Year หรือ
Z-X/2 > 0.75 ng/mL/Year
ผลลัพธ์ที่ได้ในข้อใดมีค่ามากกว่า 0.75 ng/mL/Year
ให้บ่งชี้ว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจความหนาแน่นโดยการใช้นิ้วสัมผัส โดยการตรวจด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการสอดนิ้วชี้เข้าไปในช่องทวารหนัก จากนั้นใช้ปลายนิ้วสัมผัสบริเวณที่ตรงกับเนื้อต่อมลูกหมาก ซึ่งหากพบว่าต่อมลูกหมากมีลักษณะดังกล่าวนี้ ให้สันนิษฐานว่าให้สัมผัสที่อ่อนนุ่ม คาดว่าเป็นเพียงแค่อาการของต่อมลูกหมากโต ให้สัมผัสที่แข็งกระด้าง คาดว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจค่า PSA โดยการใช้คลื่นเสียง ( Ultrasound ) เป็นการตรวจสอบเพื่อความมั่นใจอีกวิธีหนึ่ง โดยจะใช้เครื่องมือส่งสัญญาณเสียงความถี่สูงในการตรวจสอบโดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่มีความชี้ชัดได้เกือบแน่นอนว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่และกำลังอยู่ในระยะไหน โดยการตรวจด้วยวิธีนี้ก็จะมีศัพท์เรียกการตรวจแบบเต็มๆ ว่า Transrectal Ultrasound และเรียกโดยย่อว่า TRUS

ตรวจค่า pas ด้วยการวิเคราะห์จากชิ้นเนื้อ ( Biopsy ) เป็นการเจาะเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากมาตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยา ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำและแน่นอนที่สุด แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่สูงมากเหมือนกัน โดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจด้วยวิธีนี้ แพทย์มักจะทำควบคู่ไปกับการตรวจด้วยวิธี TRUS เพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลลัพธ์ที่ได้มากที่สุด

วิธีการตรวจต่างๆ ที่กล่าวมา เป็นการตรวจโดยแพทย์ที่จะสามารถแยกแยะระหว่างอาการต่อมลูกหมากโตและโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เป็นอย่างดี ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการตรวจเหล่านี้ในคนที่พบค่า PSA สูงกว่า 4 ng / mL

Total PSA ค่าปกติคือเท่าไหร่

โดยปกติแล้วค่าปกติของ Total PSA จะมีค่าปกติทั่วไป Total PSA : <4 ng / mL หรือยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือดเป็นหลัก

ค่าปกติของ Total PSA

Total PSA : <4 ng / mL

 

ค่าความผิดปกติของ Total PSA

ผลการตรวจค่า psa น้อยกว่า <4 ng/mL หรือเท่ากับ 4 คือปกติ
หากผลการตรวจค่า psa เกิน 4 ng/mL คืออาการผิดปกติ

อาจเกิดจากต่อมลูกหมากอักเสบ
อาจเกิดจากสภาวะต่อมลูกหมากโต
หรืออาจเกิดจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ค่า High PSA คือ ค่า PSA ที่สูงกว่าปกติ

ค่า PSA สูงเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

ซึ่งสรุปได้ว่าค่า PSA ที่สูงกว่าปกติ ก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้มะเร็งหรือไม่ใช่ก็ได้ โดยจะใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ผ่านทางการตรวจเลือด ดังนั้นเมื่อตรวจพบว่าผลของค่า PSA มากกว่าค่าปกติ ควรให้แพทย์วินิจฉัยจนได้ข้อสรุปที่แท้จริงก่อน เพราะจริงๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็ได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 

Catalona WJ, Richie JP, Ahmann FR, Hudson MA, Scardino PT, Flanigan RC, deKernion JB, Ratliff TL, Kavoussi LR, Dalkin BL (May 1994). “Comparison of digital rectal examination and serum prostate specific antigen in the early detection of prostate cancer: results of a multicenter clinical trial of 6,630 men”. The Journal of Urology. 151 (5): 1283–90. PMID 7512659.

Velonas VM, Woo HH, dos Remedios CG, Assinder SJ (2013). “Current status of biomarkers for prostate cancer”. International Journal of Molecular Sciences. 14 (6): 11034–60. doi:10.3390/ijms140611034. PMC 3709717 Freely accessible. PMID 23708103.

“Prostate cancer – PSA testing – NHS Choices”. NHS Choices. 3 January 2015.

“Talking With Your Patients About Screening for Prostate Cancer” (PDF). Retrieved 2012-07-02.