อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing )
อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) เกิดจากการปิดกั้นผนังทางเดินหายใจบวมกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องปากหย่อนตัว

อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing )

เมื่ออากาศมีการเคลื่อนตัวหรือไหลแบบปั่นป่วน ( Tubulent Flow ) ผ่านบริเวณทางเดินหายใจส่วนที่แคบ ทำให้ผนังทางเดินหายใจเกิดการสั้นขึ้น จึงทำให้ อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) ขณะหายใจ ซึ่งลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงที่ทำให้ทางเดินหายใจเกิดการปิดกั้น ลักษณะที่ทำให้เกิดการปิดกั้น คือ ผนังทางเดินหายใจบวมกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องปากหย่อนตัว กล้ามเนื้อหลอดลมหดเกร็ง สิ่งแปลกปลอม เสมหะหรือเนื้องอกอุดกันในทางเดินหายใจ ทางเดินหายใจถูกกดโดยเนื้องอกหรือต่อมน้ำเหลืองภายนอก เป็นต้น

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ตำแหน่งและลักษณะของการปิดกั้นระบบทางเดินหายใจ

1.การปิดกั้นที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบนโรคทรวงอก

2.การปิดกั้นที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนกลางในทรวงอก

3.การปิดกั้นที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างในทรวงอก ( หลอดลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร )

การหายใจจะมีลักษณะของเสียงที่ต่างกัน

1.เสียงนอนกรน ( snoring ) คือ มีการเกิดอาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติจากการหายใจเข้าและหายใจออกในขณะนอนหลับ เป็นเสียงที่มีความถี่ต่ำและค่อนข้างหยาบ เกิดเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องปากเกิดการหย่อนยาน ส่งผลให้เนื้อเยื่ออ่อนของทางเดินหายใจส่วนบนมีการสั่นสะเทือน ตั้งแต่ คอหอยหลังโพรงจมูก ( nasopharynx ), คอหอยส่วนปาก ( Oropharynx ) และคอหอยส่วนกล่องเสียง ( laryngopharynx ) หรือคอหอยหลังกล่องเสียง ( hypopharynx )

2.เสียงวี้ด ( wheezing ) คือ เสียงที่เกิดแทรกขึ้นมาจากเสียงหายใจปกติ ลักษณะของเสียงเป็นเสียงแหลมต่อเนื่อง คล้ายกับเสียงดนตรีที่เกิดจากเสียงของลมเคลื่อนที่ผ่านท่อหลอดลมที่แคบมากหรือเสียงของลมที่มีความเร็วสูงเคลื่อนที่ผ่านท่อตีบแคบกว่าปกติ สำหรับในระบบหายใจเกิดเนื่องจากเกิดผนังทางเดินหายใจที่ตีบแคบอย่างรุนแรงจนเกือบปิด เมื่อลมหายใจเคลื่อนที่ผ่านจึงเกิดการสั่นหรือแกว่งไปมา ( oscillation ) จึงทำให้เกิดเสียงวี้ดแทรกขึ้นมาในขณะที่หายใจ การตีบสามารถเกิดขึ้นกับทุกตำแหน่งตั้งแต่ทางเดินหายใจส่วนบนขนาดใหญ่นอกช่วงอกจนถึงทางเดินหายใจขนาดเล็กในทรวงอก อาจพบได้ทั้งระยะหายใจขึ้นและหายใจออกเช่นกัน เสียงวี้ดเป็นเสียงความถี่สูงคงที่หรือหลายระดับ

3.เสียงฮี้ด ( stridor ) คือ เสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่าหรือเสียงแหบขณะหายใจ เป็น monophonic wheezing ที่เกิดในหลอดลมใหญ่ ลักษณะของเสียงที่ออกมาจะมีลักษณะเหมือนกันทุกๆที่และมีความถี่สูง เกิดจากอากาศไหลผ่านทางเดินหายใจที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ที่ถือว่าเกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนกลางในขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะบริเวณ กล่องเสียง ( larynx ) และ หลอดลมใหญ่ ( Trachea ) จะมีเสียงดังที่สุดที่บริเวณลำคอด้านหน้าและพบในหายใจเข้าได้มากกว่าการหายใจออก

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ต้องทำเริ่มทำการตรวจผู้ป่วยดังนี้

1.การซักประวัติ

การซักประวัติด้วยการสอบถามผู้ป่วยว่า อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติเพื่อหาตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1ลักษณะของเสียง

ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้น สามารถบ่งบอกอาการและตำแหน่งทางเดินหายใจที่มีการปิดกั้นได้ ดังนี้

-เสียงหยาบ มีความถี่ต่ำ ทั้งระยะการหายใจเข้าและหายใจออก เกิดมากในช่วงที่ผู้ป่วยนอนหลับ การสอบถามต้องสอบถามผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เพราะเสียงดังกล่าวน่าจะเป็น snoring ที่เกิดจากโรคหรือภาวะที่ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแถบ ได้แก่ obstructive sleep apnea ( OSA ), obesity, allergix rhinitis, tonsillar hypertrophy, craniofacial anomalies, hypothyroidism, acromegaly ฯลฯ

-เสียงความถี่สูงขณะหายใจเข้า ให้คิดถึง wheezing หรือ stridor ที่เกิดจากการปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบนนอกทรวงอก คือ จมูก ปาก คอหอย larynx และ extrathoracic trachea เป็นต้น ซึ่งเกิดจากสาเหตุ เช่น ต่อมทอนซิลโต ( Tonsillar Hypertrophy ), คอพอก ( goiter ), upper airway cough syndrome, กล่องเสียงบวม ( laryngeal edema ) เนื่องจากแพ้แบบปฎิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ( Anaphylaxis ), vocal cord edema หรือ vocal cord paralysis ของโรคทางระบบประสาท การบาดเจ็บของระบบทางเดินหายใจและระบบประสาท การฉายรังสีหรือใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น

-เสียงที่มีความถี่สูงขณะหายใจออก ให้คิดถึง wheezing หรือ stridor จากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนกลางในทรวง เช่น intrathoracic trachea ร่วมกับการที่หลอดลมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร เกิดจากหลอดลมตีบ ( Tracheal stenosis ), เนื้องอกที่หลอดลม, เนื้องอกที่แพร่เข้าสู่ทรวงอก, ความผิดปกติของกระดูกอ่อนหลอดลม ( tracheobronchomalacia ), relapsing polychondritis, สาร อะมีลอยด์ ( Amyloid ) ที่เป็นโปรตีนที่มีความผิดปกติที่สร้างจากไขกระดูก เข้าไปสะสมที่หลอดลมใหญ่ ( Trachea ) หรือหลอดลมในทรวงอก, มีเสมหะเข้ามาปิดกั้นทางเดินหายใจ, ก้อนในทรวงอก ( Mediastinal mass ) เช่น เนื้องอกที่ต่อมไทมัส ( thymic tumor ), เนื้องอกเจิมเซลล์ ( Germ cell tumor ), มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ต่อมน้ำเหลืองโตหรือ substernal goiter

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

-เสียงความถี่สูงขณะหายใจออกและพบในขณะหายใจเข้าเล็กน้อย ให้คำนึกถึง wheezing ที่เกิดจากการปิดกั้นระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในทรวงอก ร่วมกับการที่หลอดลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร มีสาเหตุจาก โรคหลอดลมพองหรือโรคมองคร่อ ( Bronchiectasis ), หลอดลมฝอยอักเสบ ( bronchiolitis obliterans ) จากการติดเชื้อไวรัสหรือสเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกาย ( Graft versus host disease ) จากการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด, ภาวะหัวใจวาย ( Heart Failure ), มะเร็งเน็ตชนิด carcinoid tumor

1.2 ลักษณะของการเกิดอาการ

ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้ป่วยมีเสียงวี้ด ให้ทำการซักถามผู้ป่วยว่ามีเสียงวี้ด ( wheezing ) เกิดขึ้นทันทีหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขึ้นทันทีอาจเกิดขึ้นจากสูดหรือการสำลักสิ่งแปลกปลอม แต่ถ้ามีการเกิดเสียงวี้ด ( wheezing ) เป็นระยะ ๆ อาจเกิดจากมีเสมหะเข้ามาปิดกั้นระบบทางเดินหาย เนื่องจากปอดเกิดการอักเสบจากโรคหลอดลมพอง ( Bronchiectasis ) หรือกล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งจากโรคบางชนิด เช่น โรคหืด ( Asthma ), โรคภูมิแพ้ ทางระบบทางเดินหายใจ ( allergic bronchopulmonary aspergillosis – ABPA ) แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ อาจมีสาเหตุจากต่อมไทรอยด์เข้ามากดเบียดหลอดลมหรือเกิดเนื้องงอกที่ระบบเกี่ยวกับหลอดลม ( Bronchial tumor )

1.3 ตำแหน่งของเสียงที่เกิดขึ้น

ถ้าผู้ป่วยมีเสียงวี้ด ( wheezing ) เกิดขึ้นแบบเฉพาะจุด สาเหตุมักเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้องงอกที่ระบบเกี่ยวกับหลอดลม ( bronchial tumor ) เข้าไปปิดกั้นหลอดลมหรือเกิดการกดหลอดลมจากภายนอก แต่ถ้าผู้ป่วยมีเสียงวี้ด ( wheezing ) เกิดขึ้นแบบกระจายทั่วไป สาเหตุเกิดจากการกำเริบของโรคหืด ( Asthma ) หรือภาวะหัวใจวาย ( Congestive Heart ) หรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ ( Carcinoid syndrome ) ในผู้ป่วยเป็นเนื้องอกคาร์ซินอยด์และมีการแพร่กระจายของเนื้องอกไปสู่ตับ ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน เช่น ซีโรโทนิน ( serotonin ) เข้าสู่กระแสเลือดนั่นเอง

1.4 ปัจจัยที่เข้ามากระตุ้น อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ

ทำการซักประวัติว่าผู้ป่วยทำกิจกรรมหรือรับประทานอาหารประเภทใดแล้วจึงเกิดอาการขึ้น  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้ยา benzodiazepines ที่ก่อให้เกิดอาการหายใจแบบ snoring
  • การสูดดมสารที่สร้างการระคายเคืองในปริมาณสูง เช่น สารคลอรีน ไอโซไซยาเนต ( Isocyanate )
  • การโดนแมลงหรือสัตว์กัดต่อย ทำให้เกิดอาการทางหายใจมีปฏิกิริยาผิดปกติ ( Reactive airway dysfunction syndrome;RADS ) ที่ก่อให้เกิดการหายใจแบบมี wheezing
  • การรับประทานอาหารบางชนิด
  • การได้รับสารทึบรังสีหรือยาบางชนิด ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้แบบปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันและรุนแรง ( Anaphylaxis ) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่มีความรุนแรงมากอาจส่งผลให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการักษาต้องทำการซักถามผู้ป่วยถึงสิ่งที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ หรือให้สอบถามผู้ป่วยว่าก่อนที่จะเกิดอาการดังกล่าวผู้ป่วยได้สัมผัสหรือสูดดมสิ่งใดมาก่อน

1.5 ปัจจัยที่สามารถช่วยบรรเทาหรือทำให้อาการลดลงได้

สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เคยเกิด อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติให้ทำการสอบถามว่าอาการดังกล่าวดีขึ้นได้อย่างไร เช่น

  • การใช้ยาขยายหลอดลมโดยการสูดหรือพ่น จะสามารถช่วยลดเสียง wheezing ได้ แสดงว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียง น่าจะเกิดจากโรคหืด การกำเริบของโรคปอดชนิดเรื้องรังที่มีการปิดกั้นหลอดลมหรือการอักเสบของหลอดลม
  • การได้รับยาขับปัสสาวะ ที่ส่งผลให้อาการหายใจแบบ wheezing ดีขึ้น แสดงว่าสาเหตุของเสียง wheezing เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว ( Congestive heart failure; CHF )
  • การได้รับยาขยายหลอดลม แต่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองเสียง wheezing ที่เกิดขึ้นไม่ลดลง และอาการของผู้ป่วยดีขึ้น หลังจากที่ทำการใส่ท่อช่วยหายใจ แสดงว่าผู้ป่วยมีการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ตั้งแต่บริเวณจมูกไปจนถึงหลอดลมใหญ่ ( Trachea ) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากกล่องเสียงยาวลงไปจนถึงจุดที่แยกเข้าสู่ปอด  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

1.6 อาการร่วมที่เกิดขึ้น

ซึ่งอาการร่วมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยสามารถแบ่งตามลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นในขณะที่หายใจดังนี้

1.6.1.อาการที่เกิดร่วมกับ snoring เช่น กระสับกระส่ายหรือมีการหยุดหายใจเป็นระยะ ๆเวลานอน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน ทำให้เวลาตื่นนอนในตอนเช้ารู้สึกไม่สดชื่น ปวดศีรษะตอนเช้า ขาดสมาธิและมีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน และยังส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ หรือเรียกว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ( Obstructive Sleep Apnea: OSA ) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ขี้หนาว ท้องผูกและน้ำหนักตัวเพิ่ม ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจมีภาวะไฮโปไทรอยด์ ( Hypothyroidism ) หรือภาวะขาดไทรอยด์ ( Uneractive Thyroid ) ที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Gland ) ทำการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้กระบวนการกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายทำงานช้าลง ทำให้ร่างกายไม่มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือมีอาการคัดจมูกเนื่องจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ( allergic rhinitis ) หรือไซนัสอักเสบ ( Sinusitis ) รวมถึงกรณีที่ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดไซนัสมาก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยทำการหายใจทางปากหรือรู้สึกมีอาการเจ็บคอบ่อยๆ แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะต่อมทอนซิลโต ( Tonsillar Hypertrophy ) เกิดขึ้น เป็นต้น

1.6.2.อาการแสดงที่เกิดร่วมกับ wheezing หรือ stridor

อาการที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยสามารถช่วยในการวินิจฉัยถึงสาเหตุความผิดปกติในการหายใจได้ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อยและไอ อาจเกิดจากการสูดดมสารก่อความระคายเคืองอาจเป็นระบบหายใจมีปฏิกิริยาผิดปกติ ( Reactive airway dysfunction syndrome;RADS )
  • ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ริมฝีปากบวมคัน เกิดผื่นลมพิษขึ้นทั่วตัวและมีความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดจากการแพ้แบบปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ( Anaphylaxis )
  • ถ้าผู้ป่วยมีเสมหะปริมาณมาก แสดงว่าเกิดจากโรคหลอดลมพอง ( bronchiectasis )
  • ถ้าผู้ป่วยมีเซลล์อีโอซิโนฟิล ( Eosinophil ) ที่เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูลที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ในปริมาณที่สูงในเลือด อาจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิของอวัยวะภายใน เช่น พยาธิไส้เดือน ( Ascaris lumbricoides ), พยาธิตัวกลมที่มีชื่อว่าสตรองจิลอยด์ สเตอร์โคราลิส ( Strongyloidiasis Stercoralis ) เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีอาการบวม แสดงว่าน่าจะเกิดจากโรคหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งจะมีอาการร่วม เช่น ไอเป็นเลือด เสียงแหบ เจ็บคอ สำรอก เรอเปรี้ยว แสบร้อนหน้าอก การสูดสำลักสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

1.7 การทำงานและสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมหรืออาชีพของผู้ป่วยก็อาจที่จะช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของเสียงการหายใจที่ผิดปกติได้ เช่น wheezing ในชาวนาอาจมีสาเหตุจากโรคหืดในผู้ที่ทำงานในบริเวณที่มีฝุ่นผงจากธัญพืช ( grain dust asthma )

อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) เกิดจากการปิดกั้นผนังทางเดินหายใจบวมกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องปากหย่อนตัว

2. การตรวจร่างกาย

1.ตรวจสัญญาณชีพ ( vital signs ) คือ ชีพจรที่แสดงถึงอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิภายในร่างกายและความดันโลหิต

2. ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ( Oxygen saturation ) จากการวัดค่าออกซิเจนในพัลส์ ( pulse oximetry หรือSpO2 ) ที่สมารถบ่งบอกระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนหรือระดับออกซิเจนในเลือด และแปลผลตรวจออกมาซึ่งจะสามารถระบุได้ว่าระบบการหายใจว่ามีเสียงหายใจผิดปกติหรือไม่

3.ลักษณะของเสียงหายใจผิดปกติ ( Adventitious Sounds ) ถ้ามีลักษณะเป็น wheezing หรือ stridor จะเกิดทางเดินหายใจถูกปิดกั้น ถ้าเป็นเสียงแบบ snoring สามารถตรวจพบขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับ เกิดทั้งระยะหายใจเข้าหรือหายใจ ที่ตำแหน่งใด สามารถเกิดขึ้นแบบเฉพาะที่หรือกระจายทั่วไป การตรวจสอบถึงตำแหน่งรวมกับการซักประวัติของผู้ป่วย จะช่วยวินิจฉัยตำแหน่งที่ทางเดินหายใจเกิดการอุกตันได้ ซึ่งลักษณะเสียงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.1 monophasic คือ เสียงที่มีระดับความถี่เดียว แสดงว่าการทางเดินหายใจเกิดการอุดกั้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งเดียว หรือการอุดกั้นหลอดลมขนาดใหญ่ที่ระบบทางเดินหายใจส่วนกลาง

3.2 polyphasic คือ เสียงที่มีระดับความถี่หลายความถี่ร่วมกัน ทั้งความถี่สูงและความถี่ต่ำ แสดงว่ามีการอุดกั้นที่บริเวณหลอดลมขนาดเล็กบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนปลายหลายแห่ง

4.ตรวจร่างกายระบบอื่นๆ

นอกจากการสังเกตลักษณะของเสียง การซักประวัติและอาการรวมอื่น ๆ แล้ว เพื่อช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงจึงจำเป็นต้องทำการตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย คือ

4.1 การตรวจพบ jugular venous pressure ที่เป็นการดูความดัน ( Pressure ) โดยตรงของหลอดเลือดดำมีค่าสูงขึ้นร่วมกับ S3 gallop จะช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยมีภาวะหายใจมีเสียงผิดปกติเนื่องจากภาวะหัวใจวาย ( congestive heart failure )

4.2 การตรวจพบภาวะอ้วนอาจเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ( Obstructive Sleep Apnea: OSA )

4.3 การตรวจพบอาการคอพอก ( goiter ) หรือ ต่อมทอนซิลโต ( Tonsillar Hypertrophy ) ซึ่งอาจเข้าไปอุดกั้นทางเดินหายใจ

4.4 การตรวจพบว่าผู้ป่วยมีอาการปากและลิ้นบวม มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัว อาจเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ( Anaphylaxis )

4.5 การตรวจพบอาการนิ้วปุ้ม ( clubbing of fingers ) ผู้ป่วยอาจเป็นโรคหลอดลมพอง ( Bronchiectasis ) หรือโรคมะเร็งคลองหลอดลม  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.การตรวจสืบค้นเพื่อการวินิจฉัย

หลังจากที่ได้รับข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำมาวินิจฉัยหาตำแหน่งที่เกิดจากการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ ให้ทำการวินิจฉัยแยกโรคของสาเหตุโดยเน้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก แล้วจึงทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจpulmonary function test โดยเฉพาะการตรวจ spirometry with bronchodilator test และ flow-volume loop และถ้าผลการตรวจพบว่าอัตราการไหล ( flow ) มีค่าลดลงร่วมกับการหา  ( scooped-out ) ของ flow-volume loop แสดงว่ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจ แต่ถ้าอัตราการไหล ( flow ) มีค่าไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ แสดงว่าผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลมที่ได้รับเข้าไป

สำหรับการตรวจ diffustng capacity of the lung for carbon monoxide ( DLCO ) แล้วพบว่ามีค่าต่ำกว่าปกติในผู้ป่วยที่เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ แสดงว่าผู้ป่วยอาจมี emphysema ร่วมด้วย bronchoprovocation test แล้วพบว่าหลอดลมมีการหดตัวมากกว่าปกติ หลังจากที่ได้รับสารกระตุ้นการหดตัวของหลอดลม แสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดลมที่ไวกว่าตัว chest radiograph ซึ่งผู้ป่วยอาจมีกะบังลมแบนราบและหัวใจมีขนาดเล็ก ( Hypertnflation ) ดังนั้นเมื่อมีการอุดกั้นทางเดินหายใจจะเกิดอย่างรุนแรง contrast-enhanced computed tomography ( CT ) of chest หรือ high resolution CT ( HRCT ) of chest ซึ่งอาจพบ signet ring sign หรือ tram-track sign ใน bronchiectasis ได้หรือสามารถพบ mosaic pattern ขณะที่ทำการหายใจออกใน small airway disease นอกจากนั้นอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นในทรวงอกได้อีก เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตจากการติดเชื้อวัณโรคหรือเชื้อรา หรือโรคมะเร็งหลอดลม dynamic CT of chest และถ้าทางเดินหายใจในช่วงหายใจออกมีขนาดเล็กลงมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของช่วงหายใจเข้า แสดงว่าผู้ป่วยมีผิดปกติของกระดูกอ่อนหลอดลม ( tracheobronchomalacia ) ซึ่งสามารถใช้การการใช้กล้องส่องตรวจ lar
yngoscopy เพื่อหาตำแหน่งที่มีการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจได้ ตั้งแต่คอหอยส่วนปาก ( Oropharynx ) ถึงสายเสียง ( Vocal cord )  หรือการส่องกล้องหลอดลม ( bronchoscopy ) ร่วมกับการทำการผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย ( Biopsy ) ที่นอกจากจะช่วยหาสาเหตุของ อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ( Abnormal Sound During Breathing ) แล้วยังช่วยเกี่ยวข้องกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น หากตรวจ complete blood count ( CBC ) พบเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด eosinophilia และการตรวจอุจจาระ ( Stool examination ) แล้วมีการตรวจพบตัวอ่อนพยาธิ ( larva ) แสดงว่าอาการป่วยเกิดจากโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิ strongyloidiasis หรือเมื่อทำการตรวจแบบ thyroid function tests ( TFT ) สามารถประเมินได้ว่าต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วยมีการทำงานมากกว่าปกติหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาและเลือกวิธีการตรวจเพื่อสืบค้นต้องให้สอดคล้องกับภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย เพื่อช่วยให้ระบุตำแหน่งที่เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจได้อย่างถูกต้อง

[adinserter name=”navtra”]

4.การประเมินและดูแลรักษา

การที่จะทำการรักษาและระบุวิธีการดูแลผู้ป่วยได้ แพทย์จะต้องสืบค้นให้ได้ว่าผู้ป่วยเกิดอาการ

หลักการสำคัญในการประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วย คือ ต้องสามารถค้นหาผู้ป่วยที่อาจเกิดภาวะอาการหายใจไม่ออก ( Asphyxia ) จากการอุดกั้นที่กล่องเสียง ( larynx ) หรือหลอดลมใหญ่ ( Trachea ) เนื่องจากการเกิดภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การผ่าเปิดหลอดลมคอ ( cricothyroidotomy ) หรือการเจาะคอ ( tracheostomy ) เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในภาวะเร่งด่วนสามารถทำการตรวจเพื่อสืบค้นตามขั้นตอนปกติได้ เมื่อทราบว่าถึงตำแหน่งที่เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจที่แน่นอนแล้ว จึงสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้องตามสาเหตุต่อไป

ผู้ป่วยที่มี อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติผู้ทำการวินิจฉัยต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการซักประวัติของผู้ป่วย รวมทั้งความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างครบถ้วนและละเอียด เพื่อช่วยในประเมินตำแหน่งที่เกิดการอุดกั้นและสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดกั้นที่ระบบทางเดินหายใจ เพื่อช่วยในการเลือกวิธีการสืบค้นเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม และนำมาซึ่งการเลือกแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและทันเวลา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะรอดชีวิตสูงขึ้นด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

Rosenfeld RM, Andes D, Bhattacharyya N, Cheung D, Eisenberg S, Ganiats TG, et al. Clinical practice guideline: adult sinusitis. Otolaryngol Head Neck Surg 2007;137:S1-31.