การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis )

0
13625
การตรวจปัสสาวะหาค่าความผิดปกติของร่างกาย (Urinalysis)
การตรวจปัสสาวะเพื่อนำค่าผลตรวจที่ได้ไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆของโรคที่เกิดขึ้นในร่างกาย หรือ โรคที่ยังไม่เกิดเพื่อการป้องกัน
การตรวจปัสสาวะหาค่าความผิดปกติของร่างกาย (Urinalysis)
การตรวจปัสสาวะเพื่อนำค่าผลตรวจที่ได้ไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆของโรคที่เกิดขึ้นในร่างกาย หรือ โรคที่ยังไม่เกิดเพื่อการป้องกัน

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis ) วิธีการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะเพื่อนำค่าผลตรวจที่ได้ไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆของโรคที่เกิดขึ้นในร่างกาย หรือ ยังไม่เกิดโรค ก็ให้ตรวจเพื่อการป้องกัน และมีแนวทางการดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเหมาะสมนั้นมีความสำคัญมาก เรามาทำความรู้จักกับลักษณะทางกายภาพของปัสสาวะให้มากขึ้นกันค่ะ

ลักษณะทางกายภาพของ ปัสสาวะ ( Urine )
เกณฑ์การวัด อาการแสดงของปัสสาวะ อาการผิดปกติที่อาจเกิดโรค
สีของปัสสาวะ
สีระดับปกติ เหลืองซีดหรือเหลืองเข้ม
สีระดับผิดปกติ เหลืองจัด อาจมีภาวะขาดน้ำ
สีระดับผิดปกติ ใสซีด อาจเป็นโรคไต
อาจเป็นโรคเบาหวาน
สีระดับผิดปกติ แดง อาจมีเลือดปน
ความใสของปัสสาวะ
ความใสปกติ สีใสและไม่มีตะกอน
ความใสผิดปกติ ขุ่น อาจมีเม็ดเลือดปะปน
อาจมีเชื้ออสุจิปะปน
อาจมีเชื้อโรค
กลิ่นของปัสสาวะ
กลิ่นปกติ กลิ่นคล้ายเปลือกไม้
กลิ่นผิดปกติ มีกลิ่นฉุน อาจเกิดจากกลิ่นของอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง
อาจมีการอักเสบที่ช่องทางเดินปัสสาวะ
อาจมีกรดอะมิโนออกมาปะปน
ค่าความถ่วงจำเพาะ ( Urine Specific Gravity ) 
ค่าปกติ 1.005 – 1.030
ค่าผิดปกติ มีระดับสูง อาจเข้มข้นเพราะร่างกายขาดน้ำ
ค่าผิดปกติ มีระดับต่ำ อาจเจือจางเพราะโรคไต

สารชีวเคมีใน ปัสสาวะ

เนื่องจากปัสสาวะนั้น ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบ คือ เลือด ที่ไตเป็นผู้กรองเอาสารชีวเคมีที่ดีคือให้เลือดกลับไปใช้ได้อีก ดังนั้น น้ำปัสสาวะแท้จริงจึงคงเหลือแต่   

1.สารของเสีย

2.สิ่งที่เป็นพิษ เช่น มีแอลกอฮอล์ในร่างกาย

3.สารในสภาวะของเหลวจากเลือดจำนวนหนึ่ง

รวมกันในรูปของน้ำปัสสาวะที่ไตขับทิ้งออกสู่กระเพาะปัสสาวะโดยรวบรวมไว้รอการปลดปล่อยให้พ้นออกจากร่างกายต่อไป ในร่างกายของคนที่มีสุขภาพเป็นปกติ จึงย่อมปรากฏแต่สารของเสียซึ่งเป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการใช้ปะปนผสมอยู่ในปัสสาวะเท่านั้น และในร่างกายของคนที่มีสภาวะผิดปกติ ย่อมปรากฏมีสารชีวเคมีที่ดีซึ่งควรอยู่แต่ในเลือด แต่กลับหลุดออกมาสู่น้ำปัสสาวะ จึงทำให้สามารถตรวจวิเคราะห์เพื่อจะทราบถึงสาเหตุแท้จริงของสภาวะผิดปกติหรือโรคได้ต่อไป

คำแนะนำในการเก็บน้ำปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ

ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ได้แนะนำวิธีการเก็บปัสสาวะของผู้ประสงค์จะสงค์กรวดน้ำปัสสาวะของตนเอง ให้ดำเนินการดังนี้

วันแรก เมื่อตื่นนอนตอนเช้าให้ปัสสาวะทิ้งโถส้วมไป 1 ครั้ง ภายหลังจากนับแต่เวลานั้นอีก 24 ชั่วโมงต่อมา จึงให้ถ่ายปัสสาวะใส่ลงในภาชนะรวบรวมเก็บไว้ในตู้เย็น ปัสสาวะส่วนนี้ คือ จำนวนที่จะนำไปตรวจ นับเป็นชนิดปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ( 24 Hours Urine )

วันที่สอง เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ก็ให้ถ่ายปัสสาวะครั้งแรกใส่ลงในภาชนะแล้วปิดฝาให้เรียบร้อย เก็บไว้ในตู้เย็น ปัสสาวะส่วนนี้ คือ จำนวนที่จะนำไปตรวจเป็นชนิดน้ำปัสสาวะตัวอย่าง ( Spot Urine )

ในกรณีได้เตรียมการใดๆเลยโดยเทเก็บปัสสาวะ ณ เวลาใดก็ได้จะเรียกว่า ปัสสาวะสุ่มตรวจ ( Random Urine )   

ภายหลังจากนั้น จึงให้รีบนำส่งปัสสาวะไปรับการตรวจวิเคราะห์โดยเร็วที่สุด หรือในโอกาสแรกที่ทำได้

บทบาทของไตในการผลิต น้ำปัสสาวะ

เมื่อจะกล่าวถึงการตรวจวิเคราะห์บรรดาสารชีวเคมีในน้ำปัสสาวะทั้งหลายหรือคุณลักษณะพิเศษเกี่ยวกับปัสสาวะทั้งปวง ก็ย่อมไม่อาจมองข้ามบทบาทของไตในฐานะที่เป็นผู้สร้างน้ำปัสสาวะ หรือเป็นต้นตอของผู้ปล่อยผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย คือ น้ำปัสสาวะ    

1.บทบาทของไตในการธำรงรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย และ
2.สภาพของไตที่เสื่อมลงจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

1.บทบาทของไตในการธำรงรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย เพื่อให้เกิดความปกติสุข อาจกล่าวในสาระสำคัญโดยสรุปได้ ดังนี้

  • ไตเป็นอวัยวะจำเป็นยิ่งอย่างหนึ่งที่มีหน้าที่ขับถ่ายสารของเสียที่เกิดจากปฏิกิริยาการธำรงชีวิตของร่างกาย เช่น กระบวนการเผาผลาญอาหารทั่วไปย่อมเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการย่อยสลายโปรตีน ย่อมเกิดสารแอมโมเนีย และยูเรีย ตามลำดับ ฯลฯ สารของเสียทั้งหลายเหล่านั้น ไต จะมีส่วนช่วยบำบัดปล่อยทิ้งผ่านทางปัสสาวะ
  • ควบคุมปริมาณของของเหลวและสารละลายภายในร่างกาย เพื่อความสมดุลของปริมาตร ความสมดุลของกรด-ด่าง ตลอดจนเกลือแร่ชนิดต่างๆ
  • มีหน้าที่ร่วมกับตับในการขจัดทิ้งบรรดาสารพิษที่ละลายน้ำได้ เช่น สารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหาร แอลกอฮอล์ หรือแม้แต่ยารักษาโรคชนิดที่ละลายน้ำได้ ( Water Soluble Drugs ) หน้าที่ในข้อนี้ของไตเสมือนรับหน้าที่ดำเนินการต่อจากตับว่า หากตับได้ตรวจสอบได้ว่าอะไรเป็นพิษต่อร่างกายก็จะถูกกรองทิ้งสารพิษนั้นทิ้งออกไปนอกร่างกายปนไปกับปัสสาวะทันที
  • ไตยังมีบทบาทสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำหน้าที่คล้ายต่อมไร้ท่อ ( Endocrine Function ) โดยสามารถผลิตสารชีวโมเลกุลหลายอย่าง

ไตมีเอนไซม์ สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ( Eryhropoietin ) ซึ่งไตผลิตขึ้นแล้วส่งให้ไขกระดูกดำเนินการทางชีวเคมีต่อไป

วิตามินดี ( Vitamin D ) ส่วนหนึ่งผลิตขึ้นมาจากคอเลสเตอรอล ซึ่งถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด แต่วิตามินดี ส่วนน้อยอีกจำนวนหนึ่งก็ผลิตขึ้นมาใช้โดยไต ทั้งนี้ วิตามินดี ทั้งหมดนี้ไตจะส่งให้ ลำไส้เล็กใช้เป็นเครื่องมือดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเอามาใช้ในร่างกาย

เอนไซม์เรนีน ( Renin Enzyme ) เป็นเอนไซม์ที่ไตผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมความดันเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไตได้รับเลือดแดงไม่พอเลี้ยงเซลล์ของไต เอนไซส์เรนีนจะถูกหลั่งออกมามากขึ้นและถูกดัดแปลงไปตามลำดับ จนสามารถไปบีบหลอดเลือดทั่วร่างกายให้ตีบแคบลง ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นถึงระดับมีเลือดแดงพอที่จะส่งไปเลี้ยงเซลล์ของไตได้ แต่ร่างกายโดยรวมย่อมจะเดือดร้อน เพราะความดันเลือดจะสูงขึ้นมากกว่าเกณฑ์ปกติ ( ค่ามาตรฐานคือ 130/85 มม.ปรอท )

2.สภาพของไตที่เสื่อมลง จนถึงขั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ชนิดที่เรียกว่า ไตวายเฉียบพลัน  อาจปรากฏข้อมูลบ่งชี้ดังนี้

  • ปริมาณ ปัสสาวะน้อยลงจนถึงระดับน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร/วัน
  • ค่า BUN และค่า creatinine ในเลือดสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติมากพร้อมๆกัน
  • ปริมาณแร่ธาตุในเลือด อาจตรวจพบค่าในระดับผิดปกติ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม 

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4

Reference range list from Uppsala University Hospital (“Laborationslista”). Artnr 40284 Sj74a. Issued on April 22, 2008.

Normal Reference Range Table Archived December 25, 2011, at the Wayback Machine. from The University of Texas Southwestern Medical Center at Dallas. Used in Interactive Case Study Companion to Pathologic basis of disease.

medscape.com – Urine Calcium: Laboratory Measurement and Clinical Utility By Kevin F. Foley, PhD, DABCC; Lorenzo Boccuzzi, DO. Posted: 12/26/2010; Laboratory Medicine.