อะโวคาโดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ? ( Avocado )

0
9948
อโวคาโดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ? (Avocado)
อโวคาโด้ หรือลูกเนย มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลาย
อโวคาโดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ? (Avocado)
อโวคาโด้ หรือลูกเนย มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลาย

อะโวคาโด

เมื่อกล่าวถึง อะโวคาโด ( Avocado ) หรือ ” ลูกเนย ” แล้ว ผู้ที่รักสุขภาพทุกคนย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะว่า อะโวคาโด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพโดยแท้จริง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอะโวคาโดมีวิตามินและแร่ธาตุมากกว่า 20 ชนิดและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ความจริงอะโวคาโดจัดว่าเป็นผลไม้หรือผัก

อะโวคาโดที่จริงแล้วคือผลไม้ชนิดหนึ่งตระกูลเบอร์รี่ อะโวคาโดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด มีสารอาหารเกือบ 20 ชนิด มีน้ำตาลต่ำ และเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในไม่กี่ชนิดที่มีโปรตีน

แหล่งกำเนิดของอะโวคาโด

อะโวคาโด มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโก เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Lauracease เป็นไม้ชนิดยืนต้น ลำต้นโตเต็มวัยมีความสูงสุดประมาณ 18 เมตร มีเปลือกรอบต้นสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นสีเขียว มีดอกสีเขียวอมเหลือง เวลาออกดอกจะออกเป็นช่ออยู่ที่ปลายกิ่ง ผลมีลักษณะคล้ายลูกสาลีหรือลูกแพร์คือเป็นทรงกลมรี เปลือกมีสีเขียวเข้ม เนื้อมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม เนื้อเนียนละเอียดคล้ายเนื้อครีม มีรสชาติเหมือนเนยจึงได้ชื่อว่าลูกเนย ภายในผลมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ผลดิบรับประทานไม่ได้เนื่องมีรสขมที่เกิดจากสารแทนนิน ซึ่งสารนี้ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะได้ แต่เมื่อผลสุกจะมีสีม่วงหรือสีดำสามารถรับประทานได้เนื่องจากไม่มีสารแทนนินหลงเหลืออยู่แล้ว นอกจากนิยมรับประทานผลสุกแล้วยังนำมาสกัดเอาน้ำมันไปไว้ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ด้วย อย่างที่เราทราบกันว่าผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกาย ด้วยรสชาติและลักษณะเนื้อที่คล้ายกับเนยทำให้บางคนไม่ชื่นชอบในรสชาติสักเท่าใดนักแต่ก็นำมาดัดแปลงด้วยการนำมาปรุงเป็นอารหารชนิดอื่น ๆ เพื่อง่ายต่อการรับประทาน เช่น ทานกับน้ำสลัด ทานกับซอส ทานกับสเต็ก เป็นต้น แล้วใน

สารอาหารใน อะโวคาโด

สารอาหารใน อะโวคาโด จะอยู่ในส่วนที่เป็นเนื้อ การทานต้องทานเนื้อของผลที่สุกแล้วเท่านั้นห้ามทานผลดิบ ซึ่งสารอาหารที่มีอยู่ในเนื้อ คือ

วิตามินอี เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงมาก วิตามินอีในอะโวคาโดเป็นวิตามินที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ จึงต้องรับมาจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นวิตามินอีจากเนื้อสัตว์และผลไม้ วิตามินอีช่วยในการป้องกันเซลล์สมอง เซลล์ผิวหนัง เซลล์หัวใจและหลอดเลือด ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดจากเซลล์สมองถูกทำลาย ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึงมีน้ำมีนวล

โพแทสเซียม ( Potassium ) ช่วยควบคุมอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งเป็นตัวควบคุมการหมุนเวียนของเลือดในร่างกายให้มีความไหลลื่นไม่อุดตัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตในการทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำและเกลือของร่างกาย ลดการบวมน้ำและขับปัสสาวะออกมาเป็นปกติ ช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ไกลโคเจนเกิดขึ้นอย่างสมดุล

วิตามินซี ( Vitamin C ) ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้มีความแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดีโดยเฉพาะโรคไข้หวัด และช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าบำรุงกระดูกทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง

วิตามินเอ ( Vitamin A ) ที่ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวกับดวงตา ลดความเสี่ยงในการเกิดต้อ และอาการตามองไม่เห็นในที่มืด

วิตามินบี ช่วยบำรุงระบบประสาท ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น ปลายประสาทเสื่อม เหน็บชา เป็นต้น

โฟเลท มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองของทารกที่อยู่ในครรภ์ บำรุงเซลล์ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่อมีอายุสูงขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของสเปิร์มเพื่อให้มีบุตรง่าย โฟเลทจัดเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกตัวหนึ่งที่ช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของเซลล์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้

โปรตีนสูง เป็นผลไม้ที่มีโปรตีนสูงและเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีเส้นใยสูง สามารถช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานมีประสิทธิภาพ ลดอาการท้องผูก ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว

สารแคโรทีนอยด์ ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระถึง 11 ชนิดด้วยกัน แคโรทีนอยด์นี้ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์โดนทำลายจากอนุมูลอิสระ เพิ่มความแข็งแรงของภูมิต้านทานในร่างกาย ลดการเจริญเติบโตและการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในส่วนต่างๆ ได้ ส่วนของเนื้อที่มีสารนี้อยู่มากที่สุดก็คือส่วนที่มีเข้มจัดบริเวณติดกับเปลือกของผล ดังนั้นการกินเนื้อ อะโวคาโด เราไม่ควรปอกเปลือกออกจนเหลือแต่เนื้อสีเหลืองเท่านั้น เราควรจะรักษาเนื้อส่วนที่ติดเปลือกไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อที่เราจะได้รับแคโรทีนอยด์มากขึ้น

กรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและหัวใจ เพราะร่างกายสามารถนำไปย่อยสลายพร้อมใช้งานได้ทันที ทำให้ไม่หลงเหลือสะสมอยู่ในเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้ และยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ซึ่งจากการทดลองของนักวิจัยได้มีการทดลองให้กลุ่มทดลองรับประทานอะโวคาโดวันละ 1 ผลต่อเนื่อง พบว่าระดับไขมันเลวในกลุ่มคนที่เข้าร่วมการทดลองนั้นลดลง ในที่นี้ยังมีการให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำแต่คาร์โบไฮเดรตสูง ที่เป็นไปตามมาตราฐานที่สมาคมหัวใจอเมริกากำหนดไว้ ( American Heart Association ) ซึ่งเป็นอาหารที่ทานแล้วคอเลสเตอรอลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น และให้กลุ่มทดลองรับประทานอะโวคาโดเพิ่มเป็นวันละ 2 ผล ผลปรากฏกว่าไขมันไม่อิ่มตัวหรือ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) และคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดลดลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน นอกจากไขมัน LDL จะลดลงแล้วไขมัน High Density Lipoprotein ( HDL ) ยังมีอตราส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

เราทราบประโยชน์ของ อะโวคาโด ว่ามีอยู่มากจริงๆ แต่ว่าการรับประทานอะโวคาโดสำหรับบางคนนั้นรู้สึกไม่คุ้มค่า เพราะปอกเปลือกแล้วเหลือเนื้อให้รับประทานอยู่นิดเดียวเอง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าไม่รู้เทคนิคในการปอกเปลือกอะโวคาโด ทำให้สูญเสียเนื้อส่วนที่ติดเปลือกไปมากจนเหลือแต่เนื้อส่วนในทำให้สูญเสียส่วนที่มีคุณค่ามากที่สุดไปนั่นเอง

ประโยชน์ด้านความงามของอะโวคาโด

1. เพิ่มชุ่มชื้นให้ผิวและหมักผม
อะโวคาโดมีไขมันดีค่อนข้างสูงจึงสามารถนำมาบำรุงผิวและเส้นผมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นได้ โดยให้นำอะโวคาโด ½ ลูก น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะและโยเกิร์ต ½ ถ้วย ผสมกันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นนำมาพอกหน้าและเส้นผมทิ้งไว้ แล้วล้างทำความสะอาด ทำเป็นประจำจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี   

2. พอกหน้า
อะโวคาโดมีวิตามินสูงเมื่อนำมาพอกหน้าทำความสะอาดผิวหน้าได้ โดยใช้ไข่แดง 1 ฟอง นม ½ ถ้วยและอะโวคาโดบดละเอียด ½ ลูก นำมาตีให้ส่วนผมเข้ากันจนเป็นเนื้อครีม จากนั้นใช้สำลีแผ่นชุบแล้วนำมาเช็ดให้ทั่วใบหน้า ล้างหน้าให้สะอาด จะทำให้ใบหน้าสะอาดและดูสดใสขึ้น

3. ลดรอยคล้ำใต้ตา
ลดรอยคล้ำใต้ตา โดยการนำอะโวคาโดมาปอกเปลือกแล้วเฉือนเนื้อให้มีลักษณะเหมือนรูปพระจันทร์เสี้ยวประมาณ 3-4 ชิ้น จากนั้นนำอะโวคาโดวางไว้บริเวณใต้ตาประมาณ 20 นาที ทำเป็นประจำรอยหมองคล้ำใต้ตาจะค่อยๆ จางลงและดวงตาสดใสขึ้น

เทคนิคการปอกเปลือก อะโวคาโด

1.นำลูกอะโวคาดโดล้างให้สะอาดและพักไว้จนสะเด็ดน้ำ
2.นำมีดมากดลงบนลูกอะโวคาโดในแนวยาว คือแนวขั่วลูกจนถึงท้ายลูก การกดมีดให้กดผ่านเนื้อไปจนกระทบกับเมล็ดภายในของลูก ทำการหมุนมีดไปในแนวเดียวกันจนรอบลูก
3.ทำการบีดมีดเพื่องัดเนื้ออะโวคาโดด้านใดด้านหนึ่งออกมาจากเมล็ด เราจะได้เนื้อด้านหนึ่งมีเมล็ดอะโวคาโดติดอยู่ตรงกลาง เนื้ออีกด้านหนึ่งเป็นรูอยู่ตรงกลาง
4.นำปลายมีดทำการงัดเมล็ดอะโวคาโดออกจากเนื้อส่วนที่มีเมล็ดติดอยู่
5.ทำการลอกเปลือกอะโวคาโดออกให้บางที่สุด อย่าใช้ช้อนหรือมีดขูดเนื้อออกมาทานเพราะว่าการขูดจะทำให้เราสูญเสียเนื้อติดกับเปลือกมากกว่าการลอกเปลือก

เพียงเท่านี้เราก็จะได้รับประทานเนื้อ อะโวคาโด อย่างคุ้มค่าและอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบครันแล้ว นอกจากวิธีการ ปอกอะโวคาโดแล้วการเก็บรักษาอะโวคาโดไม่ให้เนื้อกลายเป็นสีดำก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเนื้ออะโวคาโดเมื่อสัมผัสกับอากาศระยะเวลาหนึ่งเนื้อที่เป็นสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีดำไม่น่ารับประทาน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในเนื้อของอโวคาโดมีสารประกอบฟินอลที่เมื่อเจอกับสารประกอบในอากาศแล้วจะจับตัวเกิดเป็น ควิโนน และเมื่อมีควิโนนหลายตัวจับตัวกันเป็นสายโพลีเมอร์กลายเป็นเมลานินที่เป็นเม็ดสีนั่นเอง ดังนั้นการเก็บไม่ให้ดำ ให้เราบีบน้ำมะนาวเคลือบไปบนเนื้อให้ทั่วทั้งลูก และนำไปใส่ในกล่องหรือถุงสุญญากาศ และนำไปแช่เย็น

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะรับประทานอะโวคาโดแบบไหนดี เรามีเมนูแนะนำในการปรุงอะโวคาโดคือ ” ซอสกัวคาโมชนิดเผ็ด “

ส่วนผสม

1.อะโวคาโดสด 2 ผล ( เลือกผลที่สุกพร้อมรับประทาน )
2.ครีมเปรี้ยว ½ ถ้วย ( แนะนำให้เลือกใช้แบบครีมขาดมันเนย )
3.หัวหอมแดง ½ หัว
4.มะเขือเทศ 1 ผล
5.ชิลันโต 2 ช้อนโต๊ะ
6.พริกแดง ¼ ช้อนชา ( ควรใช้พริกแดงที่ทำการป่นแบบหยาบ )
7.น้ำมันงา 1 ช้อนชา 

ขั้นตอนการทำ

1.นำหัวหอมแดง มะเขือเทศ ชิลันโต้มาสับให้ละเอียด
2.นำแต่เนื้ออะโวคาโดมาปั่นรวมกับพริกแดงป่น น้ำมันงาและหอมแดง มะเขือเทศ ชิลันโต้ที่สับเตรียมไว้
3. นำส่วนผสมที่ปั่นรวมกันเสร็จแล้วมาใส่ภาชนะ นำไปแช่เย็นประมาณ 30 นาที
4.เมื่อแช่เย็นครบเวลาเราก็จะได้ซอสกัวคาโมลชนิดเผ็ดพร้อมเสิร์ฟ สามารถรับประทานกับขนมปังแผ่นหรือกินแกล้มกับผักสดก็ได้ ปริมาณที่เตรียมได้นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 จาน

ชอสกัวคาโมลชนิดเผ็ดนี้ จะมีปริมาณสารอาหารดังนี้

ข้อมูลทางโภชนาการ
ซอสกัวคาโมลชนิดเผ็ด
( คำนวณจากปริมาณ 1 จาน )
ปริมาณสารอาหารในแต่ละจาน
พลังงานที่ได้รับทั้งหมด 122 แคลอรี     ไขมัน 63 แคลอรี่
%คุณค่าสารอาหารต่อวัน
ไขมันรวม 7 กรัม                                         11%
ไขมันอิ่มตัว 1 กรัม                                     5%
โคลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม                                 0%
โซเดียม 40 มิลลิกรัม                                     2%
คาร์โบไฮเดรตรวม 13 กรัม                               4%
เส้นใยอาหาร 4 กรัม                                 16%
โปรตีน 4 กรัม
วิตามิน เอ      8%                         วิตามิน ซี  19%
แคลเซียม    13%                          ธาตุเหล็ก   4%

อะโวคาโด ในประเทศไทยมีให้เลือกซื้อกันตามห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งราคาอะโวคาโดที่ขายอยู่ตามท้องตลาดก็ไม่สูงนักและหาซื้อได้ง่าย จัดเป็นผลไม้ทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อสุขภาพที่คนรักสุขภาพห้ามพลาด สำหรับคนที่ต้องการหาผักหรือผลไม้ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและมีคุณค่าทางสารอาหารให้กับร่างกายแล้ว ลองนำอะโวคาโดมาปรุงเป็นอาหารรับประทานก็ดีไม่น้อย จะทานเล่นแบบสด ๆ หรือว่าจะนำมาทำสลัดผักรวมทานกับผักหลายชนิดก็อร่อยไปอีกแบบ

การเก็บรักษาอะโวคาโด

ผลอะโวคาโดสุกที่ไม่ได้หั่นเป็นชิ้นสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้2-3วัน เมื่อหั่นเนื้ออะดวคาโดเป็นชิ้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งมีวิธีเก็บรักษาไม่ให้เนื้อเปลี่ยนสีได้ง่ายๆ เพียงเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทไม่ให้อากาศเข้าได้ หรือ ห่อด้วยพลาสติกแรปอาหารห่อ หรือใช้น้ำมะนาวทาเคลือบเนื้ออะโวคาโด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

คลิปความรู้จาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641. ISBN 978-974-484-346-3.

“Persea americana Mill., The Plant List, Version 1”. Royal Botanic Gardens, Kew and Missouri Botanical Garden. 2010.

Morton JF (1987). “Avocado; In: Fruits of Warm Climates”. Creative Resource Systems, Inc., Winterville, NC and Center for New Crops & Plant Products, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette, IN. pp. 91–102. ISBN 0-9610184-1-0.