กะหล่ำปลี ผักยอดฮิตที่ช่วยลดน้ำหนัก ชะลอการเกิดผมหงอก ดีต่อลำไส้และตับ

0
6728
กะหล่ำปลี เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งวิตามินและแร่ธาตุรวมทั้งไฟเบอร์สูง
ประโยชน์ของกะหล่ำปลี (Cabbage)
กะหล่ำปลี เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งวิตามินและแร่ธาตุรวมทั้งไฟเบอร์สูง

กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี ( Cabbage ) คือ พืชในวงศ์เดียวกับผักกาด ( Brassicaceae หรือ Cruciferae ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brassicaca Oleracea Var. Capitata L. มีต้นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียน กะหล่ำปลี คือ พืชล้มลุกที่มีใบเลี้ยงเดียวกว้าง ใบจะเรียงตัวรอบต้นเป็นวงกลมและจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ จึงทำให้กะหล่ำปลีมีลักษณะของต้นเป็นทรงกลม กะหล่ำปลี่เป็นผักที่มีวิตามินซีสูงเมื่อรับประทานแบบดิบ การรับประทานกะหล่ำปลียังช่วยลดอาการเผ็ดร้อนของอาหารได้ โดยการรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อย่าง ส้มตำ ลาบ น้ำตก เป็นต้น   

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกะหล่ำปลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea var. capitata L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Cabbage” “Common Cabbage” “White Cabbage” “Red Cabbage”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “กะหล่ำใบ” และ “กะหล่ำปลีเขียว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

ลักษณะของกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี เป็นไม้ล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ กะหล่ำปลีธรรมดา เช่น พันธุ์โกลเดนเอเคอร์ พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต กะหล่ำปลีแดงหรือกะหล่ำปลีม่วง มีใบเป็นสีแดงทับทิม สามารถขึ้นได้ดีในที่อากาศหนาวเย็น กะหล่ำปลีใบย่น มีผิวใบหยิกย่น มักจะขึ้นได้ดีในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นพิเศษ
ลำต้น : มีลักษณะเป็นทรงกลมข้อ ๆ เปลือกลำต้นมีสีขาว
ราก : เป็นระบบรากแก้ว มีรากแตกแขนงออกด้านข้างและมีรากฝอยบริเวณปลายราก
ใบ : ใบมีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ใบแตกออกด้านข้างลำต้น ผิวใบมีลักษณะเรียบแต่เป็นลูกคลื่น ขอบใบย่น ใบโค้งงอเข้าตรงกลางและหุ้มลำต้นซ้อนกันแน่นจนเรียกกันว่า “หัวกะหล่ำปลี” มีลักษณะกลมและค่อนข้างแบน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ช่อดอกแทงออกตรงกลางของหัว ประกอบด้วยกลีบรองดอกสีเขียว 4 ดอก ถัดมาด้านในเป็นกลีบดอกที่มีสีเหลืองสดจำนวน 4 กลีบ ด้านในสุดมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ประกอบด้วยเกสรชั้นใน 4 อัน และชั้นนอก 2 อัน และตรงกลางมียอดเกสรตัวเมียที่เป็นลักษณะพู 2 อัน ซึ่งเชื่อมมายังรังไข่ที่อยู่ด้านในสุดของฐานดอก ดอกกะหล่ำปลีจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน
ผล : ผลเรียกว่า “ฝัก” มีลักษณะเรียวยาวและปลายฝักแหลม เปลือกฝักมีร่องเป็นรอยตะเข็บสองข้าง ซึ่งจะปริแตกออกเมื่อฝักแห้ง ด้านในประกอบด้วยเมล็ดขนาดเล็กเรียงซ้อนกันเป็นแถว
เมล็ด : มีลักษณะกลม เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมล็ดแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดแก่เต็มที่มีสีดำ เปลือกเมล็ดบาง ฝักหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 10 – 20 เมล็ด

กะหล่ำปลี เป็นพืชในวงศ์เดียวกับผักกาด มีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเผ็ดร้อนของอาหาร

ชนิดของ กะหล่ำปลี

1.กะหล่ำปลีธรรมดา ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือสายพันธ์โกลเด้นเอเคอร์แอละสายพันธุ์โคเปนเฮเกมาร์เก็ต มีใบเป็นสีเขียว เรียบ ลักษณะของต้นเกิดจากการรวมตัวของใบเป็นวงกลม ใบด้านนอกมีสีเขียวอ่อนถึงกลางส่วนใบด้านในมีสีเหลืองอ่อน
2.กะหล่ำปลีแดง สายพันธุ์นี้ลักษณะหัวกลมแต่จะมีใบเป็นสีแดงต่างจากสายพันธุ์ธรรมดาที่มีใบเป็นสีเขียว ใบของกะหล่ำปลีแดงจะหนา กะหล่ำปลีแดงเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศหนาวเย็น
3.กะหล่ำปลีใบย่น สายพันธุ์นี้จะใบจะมีสีเขียวเข้มและมีลักษณะพิเศษคือใบย่นเป็นคลื่นหรือหยิกทั้งใบ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก 

สรรพคุณของกะหล่ำปลี

  • สรรพคุณด้านความงาม ช่วยลดน้ำหนัก บำรุงผิวพรรณและช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดผมหงอก บำรุงรากผม
  • สรรพคุณด้านไขมัน ลดคอเลสเตอรอล
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรง ป้องกันการถูกทำลายของ DNA และลดความเสียหายของ DNA ในร่างกาย
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ ป้องกันหวัด แก้อาการเจ็บคอ
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารและล้างสารพิษในลำไส้ กระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของแผลในลำไส้ บำรุงลำไส้ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยในการขับปัสสาวะ
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ต้านมะเร็งและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ ต้านมะเร็งในตับ
  • สรรพคุณสำหรับผู้ชาย ลดโอกาสของการเป็นมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้ถึง 66% หากรับประทานมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • สรรพคุณด้านการผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียดและนอนหลับสบาย
  • สรรพคุณช่วยบำรุงอวัยวะ บำรุงไต บำรุงตับและเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของตับ สร้างกลูตาไธโอนซึ่งจำเป็นต่อตับในการช่วยล้างสารพิษจากควันไอเสียและยาต่าง ๆ
  • สรรพคุณสำหรับผู้หญิง รักษาระดับเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงให้คงที่ เสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์
    – บรรเทาอาการปวดตึงคัดเต้านม ด้วยการลอกกะหล่ำปลีออกเป็นใบแล้วนำมาประคบที่เต้านมข้างละใบ ใช้ผ้าพันทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที โดยไม่ต้องนวดคลึง

ประโยชน์ของกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี ยังสามารถนำมาประยุกต์เป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย เช่น ผัดผักใส่กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีสดกินกับสลัด กะหล่ำปลีสดกินกับไส้กรอกอีสาน ต้มจับฉ่าย แกงส้มใส่กะหล่ำปลี ต้มจืด กะหล่ำปลียัดไส้หมู กะหล่ำปลีต้มจิ้ม น้ำพริก เป็นต้น แต่ว่าการรับประทานแบบดิบก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะว่ากะหล่ำปลีดิบมีสารพิษ กอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่สามารถขัดขวางการดูดซึมของไอโอดีน ทำให้ร่างกายขาดสารไอโอดีนเป็นที่มาของโรคคอหอยพอกได้ เมื่อรับประทานกะหล่ำปลีดิบในปริมาณที่มากและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีดิบ

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีดิบต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม
น้ำตาล 3.2 กรัม
เส้นใย 2.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 1.28 กรัม
วิตามินบี1 0.061 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินบี2 0.040 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี3 0.234 มิลลิกรัม (2%) 
วิตามินบี5 0.212 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี6 0.124 มิลลิกรัม (10%)
วิตามินบี9 43 ไมโครกรัม (11%)
วิตามินซี 36.6 มิลลิกรัม (44%)
แคลเซียม 14 มิลลิกรัม (1%) 
เหล็ก 40 มิลลิกรัม (4%)
แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม (3%)
แมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม (8%)
ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม (4%)
โพแทสเซียม 170 มิลลิกรัม (4%)
โซเดียม 18 มิลลิกรัม (1%)
สังกะสี 0.18 มิลลิกรัม (2%)
ฟลูออไรด์ 1 ไมโครกรัม

สารออกฤทธิ์ในกะหล่ำปลี

  • กะหล่ำปลีมีกรดทาร์ทาริก (Tartaric acid) ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำตาลและแป้งกลายเป็นไขมัน
  • กะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนิน ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
  • กะหล่ำปลีมีสารซัลเฟอร์ ช่วยระงับประสาท
  • กะหล่ำปลีมีกรดโฟลิก ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์
  • กะหล่ำปลีมีสาร Sulforaphane ช่วยป้องกันการถูกทำลายของ DNA และลดความเสียหายของ DNA ในร่างกาย     

คำแนะนำและข้อควรระวัง

คำแนะนำ

  • การนำมาปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง คือวิธีที่รักษาวิตามินและสารอาหารไว้ได้มากที่สุด
  • ควรล้างผักให้สะอาดเพราะกะหล่ำปลีเป็นผักที่ติดอันดับ TOP5 ที่มีสารปนเปื้อนมากที่สุดโดยเฉพาะยาฆ่าแมลงที่อันตรายต่อร่างกาย วิธีการล้างที่ดีที่สุดคือ ปอกเปลือกออกแล้วแช่น้ำสะอาดประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25 – 72 หรือจะใช้ความร้อน แช่น้ำซาวข้าว แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น แช่น้ำยาล้างผัก ก็ได้เช่นกัน

ข้อควรระวังในการทานกะหล่ำปลี

  • กะหล่ำปลีมีปริมาณของใยอาหารสูง หากรับประทานแต่เพียงน้อยจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แต่หากรับประทานมากจนเกินไปจะเข้าไปขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมไอโอดีน เนื่องจากมีสารกอยโตรเจน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคคอหอยพอก
  • กะหล่ำปลีดิบก็มีสารเคมีตกค้างอยู่มาก เพราะใบที่ห่อซ้อนกันอย่างแน่นหนาทำให้มีสารเคมีตกค้างอยู่ในใบสด ยากที่จะล้างออกได้หมด ส่งผลให้ร่างกายรับเอาสารเคมีเข้าไปสะสม และเกิดอาการเจ็บป่วย ทางที่ดีควรนำไปผ่านความร้อนก่อนรับประทาน

กะหล่ำปลี เป็นผักที่พบได้บ่อยในเมนูอาหาร มีรสชาติหวานกรอบและอร่อยหากนำมาปรุง ส่วนมากมักจะพบกะหล่ำปลีสีเขียวและสีม่วง เป็นผักที่นำมาช่วยในเรื่องลดน้ำหนักได้แต่ต้องระวังในการรับประทานเพราะมีโทษมากพอควรหากรับประทานมากเกินไป สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดน้ำหนัก ชะลอการเกิดผมหงอก บำรุงลำไส้และบำรุงตับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Delahaut, K. A.; Newenhouse, A. C (1997). “Growing broccoli, cauliflower, cabbage and other cole crops in Wisconsin” (PDF). University of Wisconsin. p. 1. Retrieved 2012-08-12.

“Brassica oleracea L. – Cabbage”. United States Department of Agriculture. Retrieved 2012-08-10.

Classification for species Brassica oleracea L.”. PLANTS database. United States Department of Agriculture. Retrieved 2012-08-10.

“Of Cabbages and Celts”. Aggie Horticulture. Texas A&M University. Retrieved 2013-10-19.