กุ่มน้ำ
กุ่มน้ำ (Crataeva) เป็นไม้ยืนต้นที่มีใบและดอกสวยงามจึงเหมาะสำหรับการปลูกเป็นไม้ประดับ ยอดอ่อนนำมาปรุงเป็นอาหารได้ด้วยการดอง นอกจากนั้นยังเป็นต้นที่สามารถลดการกัดเซาะริมตลิ่ง และยังทนทานต่อน้ำท่วมขังได้ดีอีกด้วย ทว่าส่วนของกิ่งและใบมีสารไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย ก่อนนำมาใช้จึงต้องทำให้สุกเสียก่อน และส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักกุ่ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva religiosa G.Forst.
ชื่อสามัญ : กุ่ม น้ำ ชื่อ สามัญ “Crataeva”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “กุ่มน้ำ” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ผักกุ่ม ก่าม ผักก่าม” จังหวัดสุพรรณบุรีและภาคตะวันตกเฉียงใต้เรียกว่า “อำเภอ” ชาวละว้าเชียงใหม่และภาคเหนือเรียกว่า “รอถะ” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “เหาะเถาะ” ชาวปะหล่องเรียกว่า “ด่อด้า”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กุ่ม (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE)
ชื่อพ้อง : Crataeva magna (Lour.) DC.
ลักษณะของต้นกุ่ม
ต้นกุ่ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มักจะพบตามริมแม่น้ำ ข้างลำธาร หรือที่ชื้นแฉะในป่าเบญจพรรณ ตามริมน้ำลำธารในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ
เปลือกต้น : เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ และมีสีเทา จะทำการผลัดใบร่วงหมดทั้งต้นเมื่อออกดอก
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ แผ่นใบค่อนข้างหนา มีสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างใบมีสีอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อย 3 ใบ หูใบเล็ก และร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปใบหอกหรือขอบขนาน ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยวเล็กน้อย ใบกุ่มมีเส้นแขนงของใบข้างละประมาณ 9 – 20 เส้น เส้นใบสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านล่าง เมื่อใบแห้งจะมีสีค่อนข้างแดง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะถี่ มักจะออกตามยอด ในหนึ่งช่อมีหลายดอก กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม กลีบดอกมีสีขาวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบมีลักษณะค่อนข้างกลมถึงวงรี ดอกมีรังไข่เป็นรูปวงรีหรือรูปทรงกระบอก มีอยู่ 1 ช่อง มักจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปกลมวงรี มีเปลือกหนา ผลหรือเปลือกมีสีนวลหรือสีเหลืองอมเทา เมื่อสุกจะเป็นสีเทา ผลแก่ผิวจะเรียบ ด้านในผลมีเมล็ดมาก
เมล็ด : มีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีขนาดกว้างและยาวเท่ากัน เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม
สรรพคุณของกุ่ม
- สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาบำรุงร่างกาย เป็นยาบำรุงกำลังของสตรี ช่วยแก้กษัย แก้ในกองลม เป็นยาตัดลมในลำไส้ ช่วยแก้ไข้ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้ลมทำให้เรอ ช่วยขับเหงื่อ เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ริดสีดวง ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับน้ำเหลืองเสียในร่างกาย เป็นยาช่วยระงับพิษที่ผิวหนัง ทำเป็นยาลูกกลอนช่วยแก้อัมพฤกษ์และอัมพาต
– ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยขับผายลม เป็นยาขับลม ด้วยการนำเปลือกต้นผสมกับเปลือกกุ่มบก เปลือกทองหลางใบมน แล้วต้มเป็นน้ำดื่ม - สรรพคุณจากแก่น ช่วยแก้นิ่ว
– ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการนำแก่นมาต้มกับน้ำดื่ม - สรรพคุณจากราก เป็นยาบำรุงกำลังของสตรี ช่วยแก้อาการปวดท้อง ช่วยขับหนอง
– เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ด้วยการนำรากมาแช่น้ำกินเป็นยา - สรรพคุณจากใบ ช่วยทำให้เจริญอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ลมขึ้นเบื้องสูง ช่วยแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยขับผายลม เป็นยาขับลม เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยแก้อาการปวดเส้น แก้โรคไขข้ออักเสบ แก้อัมพาต เป็นยาทาภายนอก เป็นยาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงทั่วบริเวณที่นวด
- สรรพคุณจากผล ช่วยแก้ไข้
- สรรพคุณจากดอก ช่วยแก้อาการเจ็บในตา ช่วยแก้อาการเจ็บตา ช่วยแก้อาการเจ็บในลำคอ ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว
- สรรพคุณจากกระพี้ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
ประโยชน์ของกุ่ม
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารได้ด้วยการนำมาดองน้ำเกลือตากแดด นำดอกและใบอ่อนมาดองหรือต้มใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาทำแกงอ่อมได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ
3. ใช้ในการเกษตร สามารถช่วยลดการกัดเซาะริมตลิ่งได้ และทนทานต่อน้ำท่วมขังอีกด้วย
4. เป็นความเชื่อ เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวมีฐานะ มีเงินเป็นกลุ่มเป็นก้อนเหมือนชื่อของต้นกุ่ม
5. เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ไม้กุ่มเป็นไม้เนื้ออ่อนจึงนำมาใช้ในงานแกะสลักอย่างพวกเครื่องดนตรีไทย ลำต้นนำมาใช้ทำเป็นไหข้าวได้
คุณค่าทางโภชนาการของผักกุ่มดอง
คุณค่าทางโภชนาการของผักกุ่มดอง ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 88 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 15.7 กรัม |
โปรตีน | 3.4 กรัม |
เส้นใย | 4.9 กรัม |
ไขมัน | 1.3 กรัม |
น้ำ | 73.4 กรัม |
วิตามินเอ | 6,083 หน่วยสากล |
วิตามินบี1 | 0.08 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.25 มิลลิกรัม |
วิตามินบี3 | 1.5 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 5 มิลลิกรัม |
แคลเซียม | 124 มิลลิกรัม |
เหล็ก | 5.3 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 20 มิลลิกรัม |
ข้อควรระวังของกุ่มน้ำ
1. กิ่งและใบมีสารไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษ ไม่ควรใช้รับประทานสดแต่ควรทำให้สุกก่อน
2. ใบแก่มีพิษ ดังนั้นไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป ไม่งั้นใบจะมีฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้อาเจียน มึนงง ไม่รู้สึกตัว มีอาการหายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย กระตุก ชักก่อนจะหมดสติ
กุ่มน้ำ เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาและเป็นพิษต่อร่างกาย เหมือนดาบสองคมแต่ถ้าใช้อย่างถูกต้องก็จะเป็นยาสมุนไพรที่ดีชนิดหนึ่ง นอกจากนั้นสามารถนำมาปลูกประดับได้เพราะมีดอกและใบสวยงาม และยังเป็นไม้ที่ช่วยในการกัดเซาะริมตลิ่งได้ เหมาะอย่างมากในการปลูกไว้ริมน้ำ กุ่มน้ำมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกต้นและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงร่างกาย แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้นิ่วและแก้อัมพฤกษ์อัมพาตได้ ค่อนข้างเป็นต้นที่ดีต่อระบบขับถ่ายเป็นอย่างมาก
สนใจสั่งซื้ออาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยคลิ๊ก Line: @ amprohealth
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [6 ต.ค. 2013].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [6 ต.ค. 2013].
๑๐๘ พรรณไม้ไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com. [6 ต.ค. 2013].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [6 ต.ค. 2013].
ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [6 ต.ค. 2013].
เกษตรอินทรีย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kasetintree.com. [6 ต.ค. 2013].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [6 ต.ค. 2013].
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: smc.ssk.ac.th. [6 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : Medthai