แตงโม
แตงโม เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับแคนตาลูป ฟักทอง แตงกวา มีต้นกำเนิดอยู่ในแถบทวีปแอฟริกา ทะเลทรายคาลาฮารี โดยชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทาน (สี่พันกว่าปีมาแล้ว) สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดูซึ่งเป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่ในปริมาณมากจึงมีคุณสมบัติเย็นเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกด้วย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด นอกจากนั้นสำหรับผู้ที่มีกระเพาะหรือม้ามไม่แข็งแรง กระเพาะลำไส้อักเสบ หญิงหลังคลอด หลังป่วยหนัก หรือผู้ที่มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย มีอาการท้องร่วงง่าย ไม่ควรรับประทานมากเกิน
มีชื่อสามัญ คือ Watermelon ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Citrullus vulgaris Schrad.) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE) นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงจีน (ตรัง), บะเต้า (ภาคเหนือ), บักโม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
แตงโมมีสารอีกชนิดหนึ่งที่มีสำคัญอย่างมากนั่นก็คือ Citrulline (ซิทรูไลน์) ซึ่งจะพบสารนี้ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อ ดังนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนเปลือกขาว ๆ ติดมาด้วยก็จะเป็นประโยชน์ที่ดีมากกว่าที่จะกินแต่เนื้อสด ๆ สำหรับประโยชน์ของสารนี้ก็คือ จะช่วยขยายเส้นเลือด ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย เพราะมีแคลอรีต่ำมาก แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะผ่าแตงโมรับประทาน ควรจะล้างเปลือกให้สะอาดก่อน เพื่อป้องกันสารพิษตกค้างที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแตงโมเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูพืชต่างๆ มารบกวน ชาวสวนจึงนิยมที่จะฉีดยาฆ่าแมลงเป็นปกติ
เนื้อและเปลือกของแตงโมมีสารออกฤทธิ์ที่ทำงานคล้ายกับไวอากรา หากบริโภคเข้าไปมาก ๆ สาร Citrulline ในแตงโมจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ในร่างกายทำให้เกิดกรดอะมิโนอาร์จินีนขึ้นมา ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นทำให้หลอดเลือดคลายตัวและทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้นคล้าย ๆ กับฤทธิ์ของไวอากรา แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญแย้งว่าแม้มันจะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่การที่ทานแตงโมเข้าไปมาก ๆ ก็คงช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ น่าจะมีผลแค่ทำให้ร่างกายปัสสาวะบ่อยขึ้นเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาแตงโมจะนำไปใช้เป็นยาขับปัสสาวะมากกว่ายารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และผลเสียที่จะตามมาก็คือ หากรับประทานแตงโมมากเกินไป น้ำตาลในผลแตงโมอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีผลทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น
สายพันธุ์แตงโม
สายพันธุ์แตงโมที่นิยมปลูกจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป พันธุ์ไร้เมล็ด และพันธุ์กินเมล็ด
1. พันธุ์ธรรมดาทั่วไป เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น
2. พันธุ์ไร้เมล็ด เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก
3. พันธุ์กินเมล็ด ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วที่เรียกกันว่า “เม็ดกวยจี๋” นั่นแหละ
สรรพคุณของแตงโม
1. เมล็ด แก้โรคตับ ช่วยบำรุงปอด ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงร่างกาย แก้อาการปวดกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
2. น้ำช่วยลดอาการไข้ แก้คอแห้ง ช่วยลดอาการไข้ แก้คอแห้ง ช่วยบรรเทารักษาแผลในช่องปาก
3. ใบ ใช้เป็นยาลดไข้ด้วยการใช้ใบมาชงดื่ม ใช้เป็นยาลดไข้ด้วยการใช้ใบมาชงดื่ม
4. ป้องกันการเจ็บคอด้วยการนำเปลือกไปต้มเดือดแล้วเติมน้ำตาลทรายแล้วนำน้ำมาดื่ม
5. ใช้ทารักษาแผล ด้วยการใช้เปลือกล้างสะอาด นำมาผิงไฟหรือตากให้แห้ง นำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาบริเวณแผล
6. ช่วยป้องกันหวัด
7. ช่วยขับปัสสาวะ
8. แก้อาการเมาเหล้า
9. ช่วยแก้เบาหวานและดีซ่าน
10. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
11. ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบายท้อง
12. ช่วยรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้
13. ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น
14. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
15. ช่วยควบคุมความดันโลหิต และมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตลงได้ (Citrulline)
16. มีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ
17. รากมีน้ำยาง ใช้กินแก้อาการตกเลือดหลังการแท้ง
ประโยชน์ของแตงโม
1. นำไปทำเป็นไวน์ได้
2. มีส่วนช่วยบำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอในผลแตงโม
3. เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำเป็นอาหาร อย่างแกงส้ม เป็นต้น
4. มีส่วนช่วยล้างพิษจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ด้วย
5. แตงโมมีกรดอะมิโน Citrulline ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
6. เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้
7. นำไปแปรรูปเป็น แยมแตงโม เมล็ดแตงโม หรือทำเป็นสบู่แตงโมก็ได้
8. ใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มคลายร้อน ลดความร้อนในร่างกาย
9. เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก เพราะมีแคลอรีต่ำ
10. ช่วยบำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้แข็งแรง เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
11. แตงโมพอกหน้า ใช้ทำเป็นทรีตเมนต์บำรุงผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยดูดซับความมันบน
12. สรรพคุณของแตงโมแตงโมมี “ไลโคปีน” (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
13. ประโยชน์แตงโมช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน ป้องกันการสะสมของไขมันที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ลดปริมาณไขมันที่จับอยู่ภายในเลือด
14. แตงโมมีสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายกับยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างไวอากรา ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัว ช่วยให้ระบบหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
15. ใบหน้า และลดอาการแสบแดง วิธีการง่าย ๆ เพียงแค่นำเนื้อมาฝานบาง ๆ แล้วนำมาวางไว้บนผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของผลแตงโมดิบ (ส่วนที่กินได้) ต่อ 100 กรัม พลังงาน 30 kcal 130 kJ
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 7.55 กรัม |
น้ำตาล | 6.2 กรัม |
เส้นใย | 0.4 กรัม |
ไขมัน | 0.15 กรัม |
โปรตีน | 0.16 กรัม |
วิตามินเอ | 28 ไมโครกรัม 3% |
วิตามินบี 1 | 0.033 มิลลิกรัม 3% |
วิตามินบี 2 | 0.021 มิลลิกรัม 1% |
วิตามินบี 3 | 0.178 มิลลิกรัม 1% |
วิตามินบี 5 | 0.221 มิลลิกรัม 4% |
วิตามินบี 6 | 0.045 มิลลิกรัม 3% |
กรดโฟลิก | 3 ไมโครกรัม 1% |
วิตามินซี | 8.1 มิลลิกรัม 14% |
ธาตุแคลเซียม | 7 มิลลิกรัม 1% |
ธาตุเหล็ก | 0.24 มิลลิกรัม 2% |
ธาตุแมกนีเซียม | 10 มิลลิกรัม 3% |
ธาตุฟอสฟอรัส | 11 มิลลิกรัม 2% |
ธาตุโพแทสเซียม | 112 มิลลิกรัม 2% |
ธาตุสังกะสี | 0.10 มิลลิกรัม 1% |
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (นิดดา หงส์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.thespruce.com/how-to-grow-watermelons-1403491
2.https://exoticfruits.co.uk/products/watermelon