มะพูด
ผลไม้ป่าดงดิบรสเปรี้ยวอมหวานแห่งอินโดนีเซีย ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองสดอมสีส้ม เนื้อผลมีสีเหลืองเรียบเป็นมัน มีรสเปรี้ยวอมหวาน

มะพูด

มะพูด (Yelloe mangoesteen) เป็นพันธุ์ไม้ในตระกูลมังคุดและส้มแขก และยังถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่งผลไม้ชนิดนี้เมื่อผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวานรับประทานได้หรือใช้แทนมะนาวในการปรุงอาหาร หรือใช้ผลสุกแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ผลไม้กวน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz อยู่ในวงศ์มังคุด ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น จำพูด ปะหูด ไข่จระเข้ ปะพูด พะวาใบใหญ่ ส้มปอง ประโฮด ตะพูด ประโหด ส้มม่วง มะนู ประหูด ตะพูด

ลักษณะ

  • ต้น มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน[3] เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-10 เมตร บ้างก็ว่าสูงประมาณ 15 เมตร เรือนยอดมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่ เป็นทรงพุ่ม ลำต้นตรง อาจมีร่องรอยแผลเป็น ลักษณะเป็นปุ่มปมตะปุ่มตะป่ำ เกิดจากการหลุดร่วงของกิ่งก้าน จะแตกกิ่งก้านต่ำเป็นพุ่มโปร่ง ก้านแตกออกจากลำต้นถี่ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เรียบ แตกเป็นร่อง ถ้าเปลือกต้นเกิดบาดแผลจะมียางสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไหลออกมา โดยการใช้เมล็ด การใช้ต้นกล้าปักชำ มีเขตการกระจายพันธุ์ที่ป่าดิบชื้น ตามชายห้วย พื้นที่ริมน้ำที่ป่าเบญจพรรณ พบเจอได้มากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ และพื้นที่แถบชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ที่ต่างประเทศสามารถพบเจอได้ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ชวา ลาว กัมพูชา บอร์เนียว[1],[2],[3],[5],[6]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอก แกมรูปขอบขนาน ที่โคนใบจะกว้างมนตัดตรง เว้าคล้ายรูปหัวใจแล้วค่อย ๆ สอบเรียวเล็กที่ปลายใบ ขอบใบจะเรียบ ใบกว้าง 8-12 เซนติเมตร ยาว 15-25 เมตร แผ่นใบจะเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบจะเหนียวหนาคล้ายกับแผ่นหนัง ส่วนหลังใบจะเรียบลื่นและเป็นมัน มีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีขน แต่บางครั้งก็ไม่มี ใบแห้งจะมีสีเหลืองอมสีเทา ก้านใบยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขนบาง ๆ ปกคลุม[1],[2],[3]
  • ดอกออกเป็นช่อ ช่อละ 3-5 ดอก ดอกออกที่ตามซอกใบตามแผลใบตามกิ่งก้าน ดอกมีสีขาวอมเหลือง ดอกแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบซ้อนกัน ดอกจะมีลักษณะตูมเป็นทรงกลม กลีบดอกมีลักษณะเป็นทรงกลม หนามีสีเหลืองอ่อน ถ้าดอกบานเต็มที่จะกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร บานเป็นรูปถ้วยโถ ดอกออกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม[1],[3],[7]
  • ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 เซนติเมตร ผิวผลจะเรียบเป็นมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองสดอมสีส้ม เนื้อผลมีสีเหลือง มีรสเปรี้ยวอมหวาน ในผลมีเมล็ด 2-5 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรี มีสีน้ำตาล ติดผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[1],[2],[3],[7]

สรรพคุณของมะพูด

  • สามารถแก้อาการช้ำในได้ (ผล)[4]
  • สามารถช่วยขับถ่ายโลหิตเสียให้ตก (ผล)[4]
  • ผลจะมีฤทธิ์ที่เป็นยาระบายอ่อน ๆ[4]
  • สามารถแก้อาการเจ็บคอได้ (ผล,น้ำที่คั้นจากผล)[1],[2],[3]
  • สามารถแก้อาการร้อนในได้ (ราก)[1],[2],[3]
  • น้ำที่คั้นได้จากผลจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้[1],[2],[3]
  • นำเมล็ดมาบดผสมน้ำส้มหรือเกลือ สามารถใช้ทาแก้อาการบวมได้[9]
  • เปลือกต้นจะมีรสฝาด นำไปต้มแล้วกรองเอาน้ำมาใช้ชำระล้างบาดแผล[2],[3],[4]
  • สามารถถอนพิษผิดสำแดงได้ (ราก)[1],[2],[3]
  • สามารถช่วยขับเสมหะ และช่วยกัดเสมหะได้ (ผล,น้ำที่คั้นจากผล)[1],[2],[3],[4]
  • สามารถแก้อาการไอได้ (ผล,น้ำที่คั้นจากผล)[1],[2],[3],[4]
  • รากจะมีรสจืด สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ได้[1],[2],[3]

ประโยชน์ของมะพูด

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีทรงพุ่มสวยงาม ใบกับผลจะเด่น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเพื่อให้ร่มเงา เช่น ปลูกที่บริเวณศาลา ที่ใกล้ทางเดิน ริมน้ำ หรือในสวนผลไม้[3],[7]
  • ผลดิบจะมีรสเปรี้ยว สามารถใช้ผลดิบแทนมะนาวในการทำแกงส้มกุ้งสดได้[3]
    คนไทยโบราณเชื่อกันว่า ถ้าปลูกต้นในบริเวณบ้าน จะส่งเสริมให้ลูกหลานเป็นคนช่างพูดช่างเจรจา พูดในสิ่งที่ดีงาม พูดจาไพเราะ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน และสามารถแก้เด็กปากหนักไม่ยอมพูดกับใคร นิยมปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้าน[3],[5]
  • ผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว สามารถทานเป็นผลไม้ได้ ปัจจุบันมีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้กับผลไม้กวน[2],[3],[9]
  • ใบกับเปลือกต้น สามารถนำมาใช้สกัดย้อมสีเส้นไหมได้ จะให้สีเหลืองคล้ายกับสีเหลืองของดอกบวบ[3] ให้สีเหลืองสด สีน้ำตาล[6]

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 49 Unit

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินเอ 42 I.U.
วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.3 มิลลิกรัม
วิตามินซี 5 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม
โปรตีน 0.4 กรัม
เส้นใยอาหาร 1.0 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 12.2 กรัม
ไขมัน 0.5 กรัม

แหล่งที่มา ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร[8]

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ม ะ พู ด (Mapud)”. หน้าที่ 229.
ข้อมูลพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะพูด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [12 ม.ค. 2014].
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. “มะพูด”. (รศ.ชนะ วันหนุน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 158.108.70.5/botanic/. [12 ม.ค. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. “มะ พูด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [12 ม.ค. 2014].
๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “มะ พูด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com. [12 ม.ค. 2014].
พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม. “ม ะ พู ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th. [12 ม.ค. 2014].
สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. “มะพูด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.155.220.217/office/ppdd/publicpark/thai/2011/. [12 ม.ค. 2014].
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “มะพูด”. อ้างอิงใน: หนังสือไม้อเนกประสงค์กินได้ (คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [12 ม.ค. 2014].
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 29 ธันวาคม 2554. “มะ พู ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th. [12 ม.ค. 2014].
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ม ะ พู ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [12 ม.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/