มะแฟน พรรณไม้พื้นบ้านสรรพคุณเป็นยารักษาแผลในปาก

0
1565
มะแฟน
มะแฟน พรรณไม้พื้นบ้านสรรพคุณเป็นยารักษาแผลในปาก เป็นสมุนไพรพื้นบ้านใช้รากแก้ไข้ ถอนพิษ ผลมีเนื้อนุ่มสีขาวรสเปรี้ยว ผลแก่สีแดง ผลสุกเป็นสีดำรสหวาน
มะแฟน
มีเนื้อนุ่มสีขาวรสเปรี้ยว ผลแก่สีแดง ผลสุกเป็นสีดำรสหวาน

มะแฟน

มะแฟน เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมักใช้รากแก้ไข้ ถอนพิษ ไข้กลับไข้ซ้ำ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษตานซาง ถอนพิษผิดสำแดง ผล รักษาแผลในปาก ใบอ่อนและผลรับประทานได้ผลดิบมีรสเปรี้ยวและผลสุกจะมีรสหวาน ส่วนลำต้นเนื้อไม้มีความเหนียวนิยมนำมาใช้ทำเสาที่พักอาศัย กระดาษพื้นบ้าน ประตูไม้ วงกบ โต๊ะนั่ง รวมถึงใช้ทำอุปกรณ์ใช้ทางการเกษตร ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Protium serratum (Wall. ex Colebr.) Engl. จัดอยู่ในวงศ์ (BURSERACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่นๆว่า แฟนส้ม (เลย), ส้มแป้น (นครราชสีมา), ค้อลิง (ชัยภูมิ), มะแทน (ราชบุรี), กะโปกหมา กะตีบ (ประจวบคีรีขันธ์), ปี (ภาคเหนือ), มะแฟน (ภาคกลาง), พี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฟีแซ พีแซ ผี (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตะพีเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ไฮ่ม่าดี้ (ปะหล่อง), เจี้ยนต้องแหงง (เมี่ยน) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของมะแฟน

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงได้ถึงประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นเป็นพูพอน เรือนยอดค่อนข้างทึบ เป็นพุ่มกลมในช่วงบน เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดใหญ่ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ชอบอยู่กลางแจ้ง ทนต่อความร้อนได้ดี มักพบขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป หรือตามป่าเบญจพรรณบริเวณเขาหินปูนและป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-800 เมตร[1],[3]
  • ใบ เป็นใบประกอบ เป็นช่อๆ แบบขนนก ช่อใบติดเรียงสลับ แต่ละแขนงจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 3-11 ใบ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ยกเว้นใบยอดช่อจะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปรียาว หรือเป็นรูปแกมขอบขนาน ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมมนหรือเบี้ยวๆ ขอบใบอ่อนหยักเป็นฟันเลื่อย ส่วนใบแก่มักเรียบหรือเป็นรูปคลื่น ใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 6-13 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบอ่อนมีขนขึ้นหน่อยๆ เมื่อแก่แล้วขนจะหลุดออกหมดเป็นใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมองเห็นเส้นใบเป็นรูปตาข่ายได้ค่อนข้างชัดเจน ก้านใบมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร[1],[3]
  • ดอก จะออกดอกเป็นช่อกระจายอยู่ตรงบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อจะมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ ลักษณะของดอกจะมีกลีบดอกและรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ส่วนโคนกลีบของรองกลีบดอกจะติดกันคล้ายรูปถ้วยตื้นๆ ปลายแยกออกเป็นแฉกเล็กๆ 5 แฉก ส่วนกลีบดอกจะมี 5 กลีบ มีขนอยู่ด้านนอก ดอกเป็นสีขาว สีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองอ่อน ตรงกลางดอกจะมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 10 อัน และมีเกสรเพศเมีย 1 อัน มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์[1],[3]
  • ผล มีลักษณะค่อนข้างกลมมน และมีร่องแบ่งอยู่ประมาณ 2-4 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ภายในผลมีเนื้อที่นุ่มเป็นสีขาวและมีเมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมแข็ง ส่วนเปลือกผลจะเป็นสีแดง สีเขียว สีเหลือง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ออกผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม[1],[3]

สรรพคุณของมะแฟน

1. ราก ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก)[4]
1.1 ราก สามารถนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ กระทุ้งพิษไข้หัว ไข้เหนือ (ราก)[1],[2]
1.2 รากสดหรือรากแห้ง สามารถนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้พิษซาง พิษตานซาง ถอนพิษผิดสำแดง และเป็นยาถอนพิษต่างๆ (ราก)[1],[2],[4]
2. ผล มีสรรพคุณเป็นยารักษาแผลในปาก (ผล)[4]

ประโยชน์ของมะแฟน

1. ผล มีรสที่เปรี้ยว สามารถรับประทานได้[1],[2]
2. ใบอ่อน สามารถรับประทานได้เช่นกัน (กะเหรี่ยงแดง)[2]
3. เนื้อไม้ มีความเหนียว เมื่อตัดใหม่ๆ แก่นจะเป็นสีแดง พอทิ้งไว้นานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีอิฐหรือสีน้ำตาลคล้ำ เสี้ยนไม้มักสน เนื้อไม้ละเอียดและสม่ำเสมอพอประมาณ เลื่อย ผ่า ไสกบ ตกแต่งได้ง่าย[2],[3]
4. เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเสาอาคารบ้านเรือน กระดานพื้น ฝา ฝ้า เพดาน ประตู หน้าต่าง วงกบ กรอบรูป กรอบกระจก กรอบประตูหน้าต่าง เครื่องเรือน เครื่องใช้ทางการเกษตร ไถ หัวหมูไถ ใช้ทำฟืน ฯลฯ[2],[3]

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).“ม ะ แ ฟ น”. หน้า 625-626.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ม ะ แฟ น”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [02 พ.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ม ะ แ ฟ น”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [02 พ.ย. 2014].
4. พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “มะแฟน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [02 พ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.http://rspg.mfu.ac.th/plant-genetic-conservation/