

เหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง เติบโตได้ดีในที่ร่มและในที่ที่มีความชื้นสูง มักจะขึ้นตามชายน้ำหรือบริเวณริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ เช่น บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงก์ ชื่อสามัญ Sea holly, Thistleplike plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus Vahl ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acanthus ilicifolius Lour., Acanthus ilicifolius var. ebracteatus (Vahl) Benoist, Dilivaria ebracteata (Vahl) Pers.) จัดอยู่ในวงศ์ (ACANTHACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ แก้มหมอ (สตูล), แก้มหมอเล (กระบี่), อีเกร็ง (ภาคกลาง), นางเกร็ง, จะเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ชนิดของสายพันธุ์
- พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง (Acanthus ilicifolius L.) สามารถพบได้มากทางภาคใต้
- พันธุ์ที่เป็นดอกสีขาว (Acanthus ebracteatus Vahl) สามารถพบได้มากทางภาคกลางและภาคตะวันออก และเป็นพรรณไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการ
ลักษณะของเหงือกปลาหมอ
- ต้น
– เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง
– มีความสูงได้ถึง 1-2 เมตร
– ลำต้นมีความแข็ง
– มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม
– ลำต้นรูปร่างกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว
– ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร
– สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้กิ่งปักชำ - ใบ
– เป็นใบเดี่ยว
– ใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ
– ขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ
– ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น
– แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นใบเป็นสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา
– เนื้อใบแข็งและเหนียว
– ใบมีความกว้าง 4-7 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร
– ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
– ก้านใบสั้น - ดอก
– ออกดอกเป็นช่อตั้งอยู่บริเวณปลายยอด
– มีความยาว 4-6 นิ้ว
– ดอกมีพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว
– ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกออกจากกัน
– บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ - ผล
– ผลเป็นฝักสีน้ำตาล
– ฝักมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี
– มีความยาว 2-3 เซนติเมตร
– เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักมีความป้าน
– ข้างในฝักจะมีเมล็ด 4 เมล็ด
สรรพคุณของเหงือกปลาหมอ
- สามารถนำสรรพคุณทางยามาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด
- สามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้เกือบทุกชนิด
- สามารถการนำมาใช้รักษาริดสีดวงทวารได้
- ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ ส่วนลำต้นทั้งสดและแห้ง ใบทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด และทั้งต้น
- ช่วยบำรุงรากผม โดยการใช้ใบมาคั้นเป็นน้ำแล้วนำมาทาให้ทั่วศีรษะ
- ช่วยแก้ไขข้ออักเสบและแก้อาการปวดต่าง ๆ
- สามารถใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัดได้
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังหรือประดง รักษากลากเกลื้อน อีสุกอีใส
- ช่วยรักษาแผลอักเสบ
- ช่วยรักษานิ่วในไต
- ช่วยแก้ไข้
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยรักษามุตกิดระดูขาว ตกขาวของสตรี
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
- ช่วยรักษาฝีทุกชนิดทั้งภายในและภายนอก
- ช่วยแก้อัมพาต
- ช่วยรักษาโรคงูสวัด
- ช่วยรักษาตกขาวของสตรี
- ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยแก้หืดหอบ
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ
- ช่วยบำรุงประสาท
- ใช้ปิดพอกฝี
- ช่วยรักษาฝี ฝีเรื้อรัง แผลฝีหนอง ฝีดาษ ตัดรากฝี
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
- ช่วยขับพยาธิ
- แก้อาการไอ
- ช่วยแก้อาการเจ็บหลังเจ็บเอว
- ช่วยแก้โรคเหน็บชา อาการชาทั้งตัว
- ช่วยถอนพิษ
- ช่วยแก้ผดผื่นคันตามร่างกาย ใช้ล้างแผลเรื้อรัง
- ช่วยรักษาแผลพุพอง
- ช่วยรักษาวัณโรค
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
- ช่วยแก้โรคกระษัย อาการซูบผอม
- ช่วยแก้ผิวแตก
- ช่วยรักษาโรคเรื้อน คุดทะราด
- ช่วยขับโลหิต
- ช่วยรักษาประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะ
- ช่วยแก้อาการเจ็บตา ตาแดง
- ช่วยแก้ไข้จับสั่น
- ช่วยแก้พิษไข้หัว
- ช่วยรักษาอาการปอดอักเสบ
- ช่วยยับยั้งมะเร็ง ต้านมะเร็ง
- ช่วยแก้อาการร้อนทั้งตัว ตัวแห้ง
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตามัว
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยรักษาอาการธาตุไม่ปกติ
- ช่วยทำให้เลือดลมเป็นปกติ
- ช่วยทำให้อายุยืน ร่างกายแข็งแรง
- ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี เส้นเลือดไม่อุดตัน
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ
ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ
- สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม
- สามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบตัวหรืออบด้วยไอน้ำ
- สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาแคปซูลสมุนไพร
- สามารถนำมาทำเป็นยาชงสมุนไพร หรือทำเป็นในรูปแบบของยาเม็ดได้
สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ชำนาญ หิมะคุณ), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การส่วนพฤกษศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หนังสือยอดสมุนไพรยาอายุวัฒนะ (อาจารย์ยุวดี จอมพิทักษ์), หนังสือกายบริหารแกว่งแขน (โชคชัย ปัญจทรัพย์)
อ้างอิงรูปจาก
1. https://eol.org/pages/482869
2. https://medthai.com/