โสมอเมริกา สรรพคุณกระตุ้นต่อมเพศของผู้ชาย

0
1287
โสมอเมริกา สรรพคุณกระตุ้นต่อมเพศของผู้ชาย เป็นไม้ล้มลุก มีราก 2-3 แฉกสีนวล ใบคล้ายกับนิ้วมือคน ดอกเป็นช่อสีขาวอมเขียว ผลสุกสีแดง
โสมอเมริกา
เป็นไม้ล้มลุก มีราก 2-3 แฉก-7ขึ้นไปสีนวล ใบคล้ายกับนิ้วมือคน ดอกเป็นช่อสีขาวอมเขียว ผลสุกสีแดง

โสมอเมริกา

โสมอเมริกา มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา พบขึ้นครั้งแรกในป่าแถบอเมริกาเหนือ มีการเพาะปลูกครั้งแรกในประเทศอเมริกาเมื่อปลายปี ค.ศ.1800 เป็นพืชที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างมาก ต้องควบคุมในเรื่องของอุณหภูมิ แสงแดด และความชื้นอย่างเหมาะสม เพราะรากโสมจะไม่สมบูรณ์ ในสมัยก่อนจะปลูกกันในแถบป่าทางเอเชียตะวันตก ในปัจจุบันมีการปลูกมากในอเมริกา แคนาดา เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน ชื่อสามัญ คือ American gingseng, Asiatic gingseng, Redberry[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Panax quinquefolius L. จัดอยู่ในวงศ์เล็บครุฑ (ARALIACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ARALIOIDEAE[1] (Panax มาจากคำว่า Panaxis ที่ได้มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า “Panacia” ที่แปลว่า “รักษาได้ทุกโรค”)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ โสมห้านิ้ว, โสมห้าใบ, โสม, โสมเกาหลี, โสมจีน, โสมญี่ปุ่น, โสมเอี่ยเซียม (Xi Yang Shen)[1],[2]

ลักษณะของโสมอเมริกา[1]

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุได้นานกว่า 2 ปี
    – มีความสูงได้ถึง 2-3 ฟุต
    – แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้น
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด
  • ราก
    – โสมหนึ่งต้นจะมีราก 2-3 แฉกขึ้นไป
    – รากมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกใหญ่ มีสีนวล
    – มีความกว้าง 1-2 นิ้ว และยาว 0.5-1.5 ฟุต
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบ
    – ใบมีรูปร่างคล้ายกับนิ้วมือคน
    – ใบย่อยแผ่ออกไป 3-5 ใบ
    – แผ่นใบเป็นสีเขียว
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – จะออกตรงส่วนยอดของต้นหรือตามซอกใบ
    – ดอกเป็นสีขาวอมเขียว
  • ผล
    – ผลสุกจะเป็นสีแดง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. สารสำคัญที่พบ คือ[1]
    – ginsenin
    – pacacen
    – panaxin
    – panaxic acid
    – panaquilon
  2. สารประกอบ[2]
    – มีฤทธิ์ตัวยามากกว่าโสมเอเชียถึง 2 เท่า
    – เฉพาะตัวยา Rb ที่มีประโยชน์กับสุขภาพ ใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย เหมาะสำหรับการบำรุงร่างกาย

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่รับประทานโสมในปริมาณมากเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการนอนไม่หลับ มีผื่น และมีอาการท้องร่วง หรือที่เรียกว่า “ginseng abuse syndrome”[3]
  • ผู้ที่หัวใจอ่อน ไม่ควรรับประทานน้ำโสมอเมริกันในระยะยาวนานจนเกินไป อาจจะทำให้ประสาทถูกกระตุ้นมากจนเกินไป
  • สตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน[2]
  • หากมีอาการท้องร่วง เกิดผื่นบริเวณผิวหนัง และตาแดง ควรเลิกรับประทานโสมทันที[2]

สรรพคุณของโสมอเมริกา

  • ราก ช่วยระงับอาการปวด[1]
  • ราก ช่วยทำให้ทางเดินโลหิตดีขึ้น[1]
  • ราก ช่วยกระตุ้นหัวใจและสมอง มีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาท[1]
  • ช่วยลดผลจากการกระทบกระเทือนที่เกิดขึ้นในผู้สูงวัย[2]
  • ช่วยกระตุ้นการขับของเสียออกจากร่างกาย[2]
  • ช่วยกระตุ้นการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังตามธรรมชาติ[2]
  • ช่วยรักษาสภาพผิวหนังและป้องกันการเกิดโรคผิวหนัง[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน[2]
  • ช่วยบรรเทาสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับปอด[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก[2]
  • ช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ[2]
  • ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด[2]
  • ช่วยบำรุงปอดสำหรับผู้ที่มีไอแห้ง[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด[2]
  • ช่วยป้องกันการขยายตัวจนเกินขอบเขตของต่อมอะดรีนัล[2]
  • ช่วยทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น[3]
  • ช่วยรักษาโรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม[3]
  • ช่วยทำให้สุขภาพจิตและสมรรถภาพร่างกายที่ดีขึ้น[3]
  • ช่วยกระตุ้นต่อมเพศของผู้ชาย[2]
  • ช่วยลดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้[2]
  • ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือน[2]
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง[2]
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด[2]
  • ช่วยป้องกันไขมันส่วนเกิน[2]
  • ช่วยลดความกดดันทางด้านกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของร่างกาย[2]
  • ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดง[2]
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคโลหิตจาง[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน[2],[3]
  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด[2],[3]
  • ช่วยควบคุมการสันดาปของกลูโคส[2],[3]
  • ช่วยทำให้ต่อมในตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น[2],[3]
  • ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า[2],[3]
  • ช่วยป้องกันการเกิดผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้สาร ginsenoside Rb[2],[3]
  • ช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินจากภายนอกในการรักษาคนไข้โรคเบาหวานได้[2],[3]
  • ช่วยปรับสภาพการทำงานทั่วไปของหลอดเลือดหัวใจ[2]
  • ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเส้นเลือด[2]
  • ช่วยละลายสารพิษที่ค้างในหลอดเลือดหัวใจ[2]
  • ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง[3]
  • ช่วยชะลอการแพร่กระจายของเชื้อโรคเอดส์[3]
  • ช่วยชะลอวัย[3]
  • ช่วยทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมช้าลง[3]
  • ช่วยปรับสภาพของร่างกายและจิตใจให้มีความทนทานต่อความกดดันมากยิ่งขึ้น[3]
  • ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย[3]
  • ช่วยต่อต้านสารพิษต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมได้[3]
  • ช่วยกระตุ้นเซลล์ให้สร้างภูมิคุ้มกัน[2]
  • ช่วยต้านการติดเชื้อไวรัส[2]
  • ช่วยเพิ่มการผลิตโฮโมนธัยมัส[2]
  • ช่วยเพิ่มการตอบสนองของภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น 50%[3]
  • ช่วยทำลายจุลินทรีย์หรืออนุภาคแปลกปลอมต่าง ๆ ของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น[3]
  • ช่วยทำให้ร่างกายสามารถต้านทานโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา เชื้อไวรัส สารเคมีต่าง ๆ[3]
  • ช่วยต่อต้านโรคภูมิแพ้หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่าง ๆ[3]
  • ช่วยลดความเครียด บรรเทาอาการนอนไม่หลับ[2],[3]
  • ช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง[2],[3]
  • ช่วยเพิ่มสมาธิและความสามารถในการเรียนรู้และรับรู้[2],[3]
  • ช่วยเพิ่มการสะสมของโปรตีนและการทำงานของเส้นประสาทในสมอง[2],[3]
  • ช่วยปรับระบบภายในร่างกายให้เกิดความสมดุล[2]
  • ช่วยส่งเสริมกำลังการไหลเวียนของของเหลวภายในร่างกาย[2]
  • ช่วยในการบำบัด[2]
  • ช่วยขจัดความร้อนในร่างกาย[2]
  • ช่วยทำให้ปอดชุ่มชื่นขึ้นและปรับสภาพให้ปอดและร่างกายเย็นลง[2]
  • ช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ[2],[3]
  • ช่วยเพิ่มระดับพลังงาน[2],[3]
  • ช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียเมื่อยล้าของร่างกาย[2],[3]
  • ช่วยทำให้ร่างกายมีการปลดปล่อยพลังงานมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะทำงานหรือออกกำลังกาย[2],[3]
  • ช่วยทำให้ผนังเซลล์ดูดซึมออกซิเจนได้เพิ่มขึ้น[2],[3]
  • ช่วยทำให้ใช้เวลาในการฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังจากออกกำลังกายหรือผ่านสภาวะกดดัน[2],[3]
  • ช่วยทำให้สตรีที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ ๆ มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น[2],[3]

ประโยชน์ของโสมอเมริกา

  • ประเทศทางตะวันออกมีความเชื่อเกี่ยวกับโสมว่าเป็น “ยาครอบจักรวาล” ที่ช่วยเพิ่มพลัง[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “โสม”. หน้า 791-792.
2. “โสมอเมริกา (PANAX QUINQUEFOLIUM)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.geocities.ws/pnc_piyaporn/. [09 ก.ย. 2014].
3. งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษทั่วไป, โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่. “สมุนไพรน่ารู้ เรื่อง โสม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.med.cmu.ac.th. [09 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.news-medical.net/
2. https://www.thoughtco.com/
3. https://medthai.com/