หญ้าแพรก
หญ้าแพรก ถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น ความชื้นในปริมาณที่ค่อนข้างมาก พบขึ้นเองได้ตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมขังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม จะขึ้นในที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 40-400 เมตร ชื่อสามัญ Bermuda grass, Bahana grass, Creeping-cynodon, Dub grass, Dog’s tooth grass, Florida grass, Scutch grass, Lawn grass, Wire grass[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynodon dactylon (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ หญ้าแผด (ภาคเหนือ), หญ้าเป็ด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หนอเก่เค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ทิซั่วเช่า (จีน), สทฺทล (สัด-ทะ-ละ) , สทฺทโล (สัด-ทะ-โล) , หริต (หะ-ริ-ตะ)[1],[2]
ความหมายของหญ้าแพรก
หญ้าแพรที่ใช้ในพานไหว้ครูมีความหมายว่า ศิษย์จะเป็นผู้มีความอดทนในการศึกษาเล่าเรียน เป็นผู้มีความอ่อนน้อมและไม่โกรธตอบ และในทางความเชื่อ ถ้าใช้หญ้าแพรกไหว้ครูแล้วจะทำให้ลูกศิษย์เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานเหมือนกับความเจริญงอกงาม จะประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับหญ้าแพรกที่แตกทอดไปตามพื้นดิน
ลักษณะของหญ้าแพรก
- ต้น[1],[2]
– เป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า มีขนาดเล็ก
– มีอายุอยู่ได้หลายปี
– ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน
– เติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดิน
– เลื้อยปกคลุมดินไปได้ประมาณ 1 เมตร
– ลำต้นชูตั้งขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร
– ลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา
– สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน - ใบ[1],[4]
– ใบจะออกเป็นกระจุกตามข้อของลำต้น
– จะออกใบตรงข้ามกัน
– ใบเป็นรูปเส้นยาวหรือรูปใบหอกเรียว
– ปลายใบแหลมยาว
– โคนใบมีขนสั้นที่เป็นสีขาวก่อนถึงส่วนที่หุ้มรอบข้อ
– ใบมีความกว้าง 1-3 มิลลิเมตร และมีความยาว 1-6 เซนติเมตร - ดอก[1],[2],[4]
– ออกดอกเป็นช่อกระจะ
– ในหนึ่งช่อจะมีดอกย่อยอยู่ 3-6 ช่อย่อย
– ก้านช่อดอกร่วมมีความยาว 1.5-5 เซนติเมตร
– ช่อดอกย่อยมีรูปร่างเป็นเส้นสีเขียวเทาไปถึงสีม่วง มีความยาว 2-5 เซนติเมตร
– มีดอกย่อยเรียงกันเป็นแถว 2 แถว
– ดอกย่อยมีความยาว 1.5-3 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่แน่นบนด้านหนึ่งของก้านดอกย่อย
– ดอกมีเกสรเพศผู้ 3 อัน มีอับเรณูสีม่วงยาว 1.1-5 มิลลิเมตร
– รังไข่มีก้านเกสรเพศเมีย 2 เส้น ส่วนปลายเป็นฝอยมีรูปร่างคล้ายขนนก
– สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี - ผล[1]
– ผลหรือเมล็ดนั้นจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก
– ผลมีความยาวได้ 11.5 มิลลิเมตร เป็นรูปไข่ มีสีน้ำตาลไปจนสีแดง
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- รายงานความเป็นพิษที่ได้ศึกษาในประเทศอินเดีย ตรวจพบ hydrocyanic acid[2]
– ทำให้สัตว์ที่กินพืชนี้เข้าไปเกิดอาการเป็นพิษ
– มีอาการกล้ามเนื้อหน้าชักกระตุก เกิดอาการกัดฟัน
– มีความดันโลหิตสูง หลังจากนั้นก็ส่งผลให้สัตว์ตาย - สารสกัดจากลำต้นด้วยอีเทอร์ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนี้[1]
– Bacillus subtilis
– Escherichia coli
– Pseudomonas aeruginosa
– Salmonella typhi
– Shigella dysenteriae
– Staphylococcus aureus
– Streptococcus faecalis - สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัส ที่มีการทดลองกับ Vaccinia virus[1]
- สารอัลคาลอย์บางชนิด[2]
– มีฤทธิ์ทำให้การไหลเวียนของโลหิตของหนูและหนูถีบจักช้าลง
– มีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา
– มีส่วนที่เป็น Glycoside มีที่ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของแมว - จากการทดลองฉีดสารอัลคาลอยด์ ในขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม[1]
– ฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของกระต่ายทดลอง
– พบว่าเลือดจากบาดแผลของกระต่ายจะเกิดการแข็งตัวขึ้น
– เลือดจะหยุดไหลได้เร็วขึ้น
คุณค่าทางโภชนาการทางอาหารสัตว์ (อายุประมาณ 45 วัน)[2]
– โปรตีน 9.7%
– เยื่อในส่วน ADF 31.5%
– NDF 67.7%
– แคลเซียม 0.5%
– ฟอสฟอรัส 0.12%
– โพแทสเซียม 1.54%
– ลิกนิน 6.4%
สรรพคุณหญ้าแพรก
- ช่วยแก้อัมพาต แก้อัมพาตครึ่งตัว[1],[2],[4]
- ช่วยแก้แขนขาชา ปวดเมื่อยกระดูก[1],[2],[4]
- ช่วยแก้พิษอักเสบ ปวดบวม[2]
- ช่วยสมานบาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น[4]
- ช่วยห้ามเลือด[1],[4]
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ[1],[2]
- ช่วยแก้ตกโลหิตระดูมากเกินไปของสตรี[2]
- ช่วยขับปัสสาวะ[1],[2],[3]
- ช่วยขับลม[1],[2]
- ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด[1],[2],[4]
- ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ[2]
- ช่วยแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว รวมถึงเหือดหัด และอีสุกอีใส[2]
- ช่วยแก้ไข้[1],[4]
- ช่วยแก้อาการลมชัก[4]
- ช่วยแก้โรคเบาหวาน[1],[2]
- ช่วยแก้อาการปวดข้อ[1]
- ช่วยรักษาพิษไข้มีผื่นต่าง ๆ เช่น เป็นหัด เหือด[1]
- ช่วยแก้ท้องเดินเรื้อรังได้[3]
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย[1]
- ช่วยแก้โรคหนองเรื้อรัง[1]
- ช่วยแก้ริดสีดวงทวารมีเลือดออก[1]
- ช่วยแก้ซิฟิลิสในระยะออกดอก[1]
- ช่วยแก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ[1]
ประโยชน์ของหญ้าแพรก
- ทั้งต้น สามารถนำมาใช้ในพิธีไหว้ครูได้ โดยจะใช้ร่วมกับดอกเข็มและดอกมะเขือ[2],[3]
- สามารถนำมาปลูกเป็นพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการชะล้างดินได้[2]
- รากนั้นจะไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำกัดเซาะหน้าดินพังทลายได้เหมือนกับหญ้าแฝก[2]
- เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ตามธรรมชาติ จำพวกสัตว์แทะเล็มเช่น พวกโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น[2],[4]
สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้าแพรก”. หน้า 809-810.
2. ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (รักษ์เกียรติ จิรันธร). “หนึ่งในพืชสำคัญของพิธีไหว้ครู หญ้าแพรก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pcog2.pharmacy.psu.ac.th. [25 ก.ค. 2014].
3. ไม้พุทธประวัติ, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หญ้าแพรก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/homklindokmai/budhabot/budbot.htm. [25 ก.ค. 2014].
4. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี. “หญ้าแพรก”. อ้างอิงใน : หนังสือไม้ดอกและไม้ประดับ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.skn.ac.th. [25 ก.ค. 2014].
5. https://medthai.com/