หญ้าหนวดแมว ( Cat’s whiskers ) สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ

0
4129
หญ้าหนวดแมว ( Cat's whiskers ) สมุนไพรขับปัสสาวะ
หญ้าหนวดแมว เป็น สมุนไพรพื้นบ้านแถบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต เบาหวาน ความดัน โรคซิฟิลิส หนองใน ข้ออักเสบ เก๊าต์ กระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ
หญ้าหนวดแมว ( Cat's whiskers ) สมุนไพรขับปัสสาวะ
หญ้าหนวดแมว ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ กระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว Cat’s whiskers / Orthosiphon หรือ CAT’S WHISKER ORTHOSIPHON GRANDIFLORUS BOLDING เป็น สมุนไพรพื้นบ้านแถบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้กันมาแต่โบราณ ทั้งไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนแต่มีภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรชนิดนี้ ไปจนถึงจีน ออสเตรเลีย มีขนาดไม่สูงนักประมาณ 30-60 เซนติเมตร สามารถนำใบ กิ่งก้าน หรือทั้งต้น มาใช้ประโยชน์ในทางยา

ลักษณะหญ้าหนวดแมว

  • พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3 – 0.8 เมตร
  • ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกเป็นช่อที่ปลายยอด คล้ายดอกโหระพา มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก
  • ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ลักษณะคล้ายกับหนวดแมว ด้านในสุดมีอับเรณู 2 ช่อง เรียงขนานกัน รังไข่มี 4 ใบ

หญ้าหนวดแมว ช่วยขับปัสสาวะและกระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ

คุณค่าทางโภชนาการหญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว 100 กรัม ให้พลังงาน : 3.45 กิโลแคลอรี่
โปรตีน : 6.8 กรัม
ไขมัน : 0.04 กรัม
คาร์โบไฮเดรต : 78 กรัม
น้ำตาล : 6 กรัม
ใยอาหาร : 17 กรัม
โซเดียม : 81.3 กรัม

สรรพคุณหญ้าหนวดแมว

  • ต้นช่วยรักษาโรคกระษัย
  • ใบลดความดันโลหิต
  • ใบรักษาโรคเบาหวาน
  • ต้นรักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ
  • ผลช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • เปลือกฝักช่วยแก้ลำไส้พิการ
  • ผลแก้อาการท้องร่วง
  • ช่วยรักษาโรคในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ
  • รักษาโรคนิ่ว สลายนิ่ว หรือช่วยลดขนาดก้อนนิ่ว
  • ใบและต้นรักษาอาการอักเสบของไตและนิ่วในไต
  • ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น
  • ใบช่วยบรรเทาอาการปวด
  • ต้นช่วยขับล้างสารพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต และตับ
  • ใบและต้นช่วยรักษาโรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว
  • ใบช่วยรักษาโรคปวดข้อ อาการปวดเมื่อย และไข้ข้ออักเสบ
  • หญ้าหนวดแมวกับการลดไขมันและควบคุมน้ำหนัก
  • แก้โรคไต และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • แก้คลื่นเหียนอาเจียน
  • แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
  • บรรเทาอาการไอ
  • ช่วยแก้หนองใน โรคซิฟิลิส
  • รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ ล้างสารพิษในไต
  • กระตุ้นการงอกของผม ลดปัญหาผมหลุดร่วง ศีรษะล้าน

ประโยชน์หญ้าหนวดแมว

เชื่อว่าหญ้าหนวดแมวมีประโยชน์ต่อร่างกายในระบบต่าง ๆ ซึ่งในใบของหญ้าหนวดแมวมีสารชีวภาพ เช่น กรดโรสมารินิก กรดบิทูลินิก กรดโอลีนโนลิก กรดเออร์โซลิก และสารประกอบฟีนอลิกอื่น ๆ อีกกว่า 20 ชนิด โดยส่วนใหญ่จะใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต เบาหวาน ความดัน โรคซิฟิลิส หนองใน ข้ออักเสบ โรคเกาต์ ให้ขับปัสสาวะและกระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก มีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านการอักเสบ ตามแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาล ป้องกันตับ ไต ต้านมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระ

ฤทธิ์ทางยาหญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมวมี สารกลุ่ม phenolic compoundsได้แก่ rosmarinic acid, 3-hydroxy-5, 6, 7,4 tetramethoxyflavone, sinensetin และeupatorin รวมทั้ง pentacyclic triterpenoid
ที่สำคัญคือ betulinic acid ช่วยการขับปัสสาวะ ลดระดับกรดยูริค ( hypouricemic activity )
ปกป้อง ตับ ไต และกระเพาะอาหาร ลดความดันโลหิต ต้านสารอนุมูลอิสระหรือปฏิกิริยาออกซิเดชัน ต้านการ
อักเสบ เบาหวาน และจุลชีพ ลดไขมัน ( antihyperlipidemic activity ) ลดความอยากรับประทานอาหาร ( anorexic activity ) และปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน ( immunomodulation )

คำแนะนำในการใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว

  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว
  • สมุนไพรหญ้าหนวดแมว ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน
  • ผลข้างเคียงของหญ้าหนวดแมว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนปกติที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยอาการที่อาจพบได้คือ ใจสั่น หายใจลำบาก

หากต้องการใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนบริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากหญ้าหนวดแมวเสมอ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง

บทความที่เกี่วข้องเพิ่มเติม

อ้างอิง

บันทึกของแผ่นดิน 10 สมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้บ่าว พ่อเรือน. : ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร : สมุนไพรอภัยภูเบศร : บริษัท ปรมัตถ์การพิมพ์ จำกัด : สิงหาคม 2560.

หญ้าหนวดแมว สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าหนวดแมว 20 ข้อ ! (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://medthai.com [3 เมษายน 2563]

หญ้าหนวดแมว ขับปัสสาวะและรักษาโรคได้จริงหรือ ? (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com [3 เมษายน 2563]