ต้นแห้ม สรรพคุณขับลมอัมพฤกษ์

0
1645
ต้นแห้ม
ต้นแห้ม สรรพคุณขับลมอัมพฤกษ์ เป็นไม้เถา รากและเถาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม ใบเป็นแบบสลับ ดอกเป็นสีขาว ผลกลมสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีส้ม และมีขนสั้นปกคลุม
ต้นแห้ม
เป็นไม้เถา รากและเถาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม ใบเป็นแบบสลับ ดอกเป็นสีขาว ผลกลมสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีส้ม และมีขนสั้นปกคลุม

แห้ม

เป็นไม้เถา รากและเถาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม ไม่พบการปลูกในประเทศไทย ต้องนำเข้ามาจากประเทศลาว ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium fenestratum (Goetgh.) Colebr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium usitatum Pierre อยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ แห้ม,แฮ่ม,แฮ้ม

ลักษณะของแห้ม[1],[3]

– เป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด
– ส่วนที่ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะเรียกว่า “Coscinium”
– มีรูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอก
– มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร
– ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง
– เนื้อในจะเป็นสีเหลือง
– เนื้อไม้เป็นรูพรุน มีสีเหลือง
– ไม่มีกลิ่น
– มีรสชาติขม
– พืชชนิดนี้ถูกจัดอยู่ใน The British Pharmaceutical Codex 1991 ในหัวข้อ Coscinium

สายพันธุ์ที่พบข้อมูล[4]

  1. พันธุ์ Coscinium fenestratum (Goetgh.) Colebr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium usitatum Pierre
    – เป็นไม้เถา
    – รากและเถาเป็นสีเหลือง
    – ใบเป็นใบแบบสลับกัน
    – ออกดอกเป็นช่อระหว่างใบ
    – ดอกเป็นสีขาว
    – สามารถพบได้ตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศลาว
  2. พันธุ์ Fibraurca recisa Pierre
    – เป็นไม้เถา
    – เถาแก่จะเป็นสีเหลือง
    – ใบเป็นใบแบบสลับ
    – ดอกเป็นสีเหลืองอมเขียว
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสมุนไพร[3]
    – มีการระบุผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง
    – เมื่อป้อนสารสกัดในขนาด 40 กรัมต่อกิโลกรัม ทำให้เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน
    – ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้หายใจไม่สะดวก
    – การเคลื่อนไหวลดลง
    – ทำให้สัตว์ทดลองตาย
  2. ควรใช้อย่างระมัดระวัง[3]
    – ความปลอดภัยและขนาดที่เหมาะสมในการใช้ยังไม่มีความแน่นอน
    – ขาดข้อมูลการศึกษาความเป็นพิษและรายงานทางคลินิกอยู่มาก
    – มีเพียงผลการศึกษาในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองเท่านั้น
    – การศึกษาความเป็นพิษ
    – ไม่มีพบความเป็นพิษในคน
    – การทดลองกับหนูถีบจักร โดยป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล 50%
    – ใช้ในปริมาณ 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
    – ไม่พบความผิดปกติ
    – หากใช้ในปริมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะทำให้หนูทดลองตาย
  3. การศึกษาความเป็นพิษแบบกึ่งเฉียบพลันของสารสกัด ต่อหัวใจ ปอด ตับอ่อน และอัณฑะในหนูขาวทดลอง[2]
    – ป้อนสารสกัดดังกล่าวในปริมาณ 100, 200, 300 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
    – ใช้เป็นระยะเวลา 1 เดือน
    – พบว่า สมุนไพรชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดอาการเป็นพิษ
    – ไม่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวตลอดระยะเวลาการได้รับยา
    – ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไซม์ที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของตับและไต และรวมไปถึงระดับเกลือแร่ในเลือด
    – มีการเพิ่มอัตราการเคลื่อนตัวและการมีชีวิตรอดของสเปิร์มมากกว่ากลุ่มควบคุม
    – ไม่พบพยาธิสภาพของโครงสร้างในระดับจุลกายวิภาคของหัวใจ ปอด ตับอ่อน และไต
    – มีการเพิ่มจำนวนของ vacoules ในเซลล์ตับเป็นจำนวนมาก
    – มีการเพิ่มจำนวนชั้นของ germ cells ใน seminiferous tubules
    – เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำในปริมาณ 5 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่ทำให้หนูตาย
    – ไม่มีรายงานว่ามีอันตรกิริยากับพืชหรือยาชนิดใด
  4. มีสาร berberine[2]
    – เป็นสารสำคัญและมีข้อควรระมัดระวังถึงผลข้างเคียงต่อหัวใจ
    – อาจจะทำให้เกิดอาการหายใจขัด
    – อาจจะมีพิษต่อระบบเลือด หัวใจ และตับได้
  5. สายพันธุ์ Fibraurea recisa Pierre ในรากและเถามีส่วนประกอบทางเคมีดังนี้[4]
    – คูลัมบามีน
    – จูโทรไรซิน
    – เบอบีริน
    – พัลมาทิน
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  6. สารสกัดเอทานอลจากแห้ม[5]
    – มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในหนูเบาหวานและหนูปกติ
    – มีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านทางการกระตุ้นการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน
    – ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์มอลเตสและซูเครส
  7. จากการศึกษาฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เป็นเบาหวานและในหนูขาวปกติ พบว่า[2]
    – สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณ 0.5 และ 1 กรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักตัว
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เป็นเบาหวานได้
    – แต่ไม่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวปกติที่ไม่เป็นเบาหวาน
    – ไม่มีผลต่อภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเฉียบพลันทั้งในหนูที่เป็นเบาหวานและหนูปกติ
    – ยังไม่มีการศึกษาในคนที่ยืนยันผลการลดระดับน้ำตาลในเลือด

สรรพคุณ และประโยชน์แห้ม

  • ช่วยยาแก้ฝี แก้ผื่นคัน [4]
  • ช่วยแก้โรคบิด ลำไส้อักเสบ กระเพาะอักเสบ[4]
  • ช่วยแก้ตาอักเสบ[4]
  • ช่วยแก้ไข้[2],[4]
  • ช่วยแก้ปวดท้อง แก้บิด[2],[3]
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1],[3]
  • ช่วยเจริญอาหาร[1]

ในหนังสือคัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ของท่านอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช

  • ดอก ช่วยแก้บิดมูกเลือด
  • ใบ ช่วยขับโลหิตระดูที่เสียเป็นลิ่มเป็นก้อนของสตรีให้ออกมา
  • ใบ ช่วยแก้มุตกิดระดูขาว
  • ใบ ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ราก มีรสร้อนฝาดเฝื่อน
  • ราก ช่วยแก้ริดสีดวงตา
  • ราก ช่วยแก้ตาแดง ตาอักเสบ ตาแฉะ ตามัว
  • ราก ช่วยบำรุงน้ำเหลือง
  • ราก ช่วยขับลมอัมพฤกษ์
  • เถา มีรสร้อนฝาดเฝื่อน
  • เถา ช่วยแก้ไข้ ร้อนใน
  • เถา ช่วยแก้ดีซ่าน
  • เถา ช่วยแก้ท้องเสียจากอาหารไม่ย่อย
  • เถา ช่วยขับผายลม ทำให้เรอ
  • เถา ช่วยแก้ดีพิการ

ข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[4]

  1. เป็นไม้ยืนต้นที่พบมากในแถบประเทศลาวและเวียดนาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์
  2. พันธุ์ Coscinium usitatum Pierre
    – ช่วยแก้ปวดท้องบิด
    – ช่วยแก้ไข้
    – ช่วยแก้ตาแดง
    – ช่วยไล่ยุง
  3. พันธุ์ Fibraurea recisa Pierre
    – ช่วยแก้ไข้
    – ช่วยแก้ตาอักเสบ
    – ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ กระเพาะอักเสบ
    – ช่วยแก้โรคบิด
    – ช่วยแก้ฝี และผื่นคัน
    – สามารถนำมาใช้ไล่ยุงได้[2]

ข้อควรระวัง

1. ควรใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณที่พอเหมาะ
– เนื่องจากการรับประทานในจำนวนที่มากจนเกินไป จะไม่ส่งผลดีต่อร่างกาย
– จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว
– ทำให้เกิดอาการช็อกได้
2. มีฤทธิ์ขับแร่ธาตุและสารตัวอื่น ๆ ออกจากร่างกาย เช่น โพแทสเซียมและโซเดียม[5]
– หากรับประทานอย่างต่อเนื่องในระยะแรกก็จะเป็นปกติ
– หากสะสมไปนาน ๆ ร่างกายจะเริ่มอ่อนเพลีย
– หัวใจและไตทำงานผิดปกติ
– อาจถึงขั้นไตวายและเป็นโรคหัวใจได้
3. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์[3]
– ได้ทำการศึกษาพบว่า สมุนไพรชนิดนี้มีแบบผง เป็นยาแผนปัจจุบันจำพวกสเตียรอยด์เจือปน
– หากได้รับสารสเตียรอยด์ในปริมาณมาก อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
4. การรับประทานเป็นจำนวนมากจะส่งผลทำให้ตับอักเสบ
5. ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
– เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีเกลือแร่และโพแทสเซียมสูง

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “แฮ่ม”. หน้า 176.
2. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สมุนไพรแฮ้ม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [16 ส.ค. 2014].
3. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. “แพทย์แผนไทยเผยกินแห้มไม่กระทบไต แพทย์แผนไทยชี้มีผลต่อตับหัวใจ”., “เตือนอันตราย แห้มมีพิษเฉียบพลันทำลายประสาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.moph.go.th. [16 ส.ค. 2014].
4. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “รายละเอียดของแฮ่ม”. อ้างอิงใน : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : drug.pharmacy.psu.ac.th. [16 ส.ค. 2014].
5. Chulalongkorn University. (Wanlaya Jittaprasatsin). “ฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดแห้ม ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของหนูปกติและหนูเบาหวาน (Effects and mechanism of action of Coscinium fenestratum extract on blood glucose level in normal and diabetic rats)”.
6. ข้อมูลจากคุณ seahorse samunpri.com มีการอ้างอิงสรรพคุณของแห้มในหนังสือคัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ของท่านอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช

อ้างอิงรูปจาก
1. https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:580661-1
2. https://www.healthbenefitstimes.com/yellow-vine/
3. https://medthai.com