ขิง ( Ginger ) สุดยอดสมุนไพรป้องกันเซลล์มะเร็งในระยะยาวได้

0
5697
ขิง ( Ginger ) สุดยอดสมุนไพรป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน อุดมไปด้วยวิตามิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย
ขิง ( Ginger ) สุดยอดสมุนไพรป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน อุดมไปด้วยวิตามิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย

ขิง

ขิง ( Ginger ) คือ พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันคนใช้ขิงสดทั้งแบบขิงอ่อน ขิงแก่ และใช้ขิงแห้งในการประกอบอาหาร เครื่องเทศ และใช้ทั้งเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ยาแผนโบราณ และยาแผนปัจจุบัน จากงานวิจัยพบว่า ขิง มีสารสำคัญในเหง้าขิงสดประกอบด้วย ซิงจิเบอรีน ( zingiberene ) ฟีนอลิก ( phenolic ) ที่ทำให้ขิงมีกลิ่นหอมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเพื่อช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยป้องกันและรักษาโรคข้ออักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ในส่วนของขิงสดอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย เป็นต้น ขิง เป็นพืชเขตร้อนที่เติบโตในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe ลักษณะของลำต้นสีเขียวเข้มแตกหน่อขึ้นเป็นกอสูงประมาณ 50 -70 เซนติเมตร เปลือกซ้อนกันเป็นกาบยาว ใบเดี่ยวเรียวยาวออกสลับกัน ดอกสีขาว มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน

ตารางคุณค่าทางโภชนาการของขิง

ขิงปริมาณ 100 กรัมให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

โปรตีน       0.4     กรัม
ไขมัน        0.6     กรัม
ธาตุเหล็ก   1.2     มิลลิกรัม
แคลเซียม    18    มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส   22    มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 10 ไมโครกรัม
วิตามินซี      1      มิลลิกรัม
ไทอามีน   0.02    มิลลิกรัม
ไนอะซิน  1         มิลลิกรัม
ไรโบเฟลวิล         0.02     มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต       4.4       กรัม
เส้นใยอาหาร         0.8       กรัม

ประโยชน์ของขิง

ขิงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนทั้งแบบสด และแบบแห้ง อาทิเช่น ต้นขิง ดอกขิง ใบขิง เหง้าขิง หัวขิง ผลขิงรากขิง ขิงต้น แก่นขิง

สรรพคุณและประโยชน์ของขิง

สรรพคุณขิงนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เราสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ทั้งนั้น

  • ขิงช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพราะ
  • ช่วยระบบย่อยอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ( ขิงแก่ )
  • ช่วยป้องกันแก๊สและอาการท้องอืดได้
  • ขิงช่วยต้านแบคทีเรียที่เกิดจากอาการท้องเสีย
  • น้ำขิงสดช่วยลดการระคายเคืองจากอาการไอ เจ็บคอ
  • การกินขิงสดช่วยลดแรงกดทับระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
  • ช่วยเร่งการหดตัวของกระเพาะอาหารที่ใช้ในการย่อยอาหาร
  • ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดไขข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อม และโรคเกาต์
  • ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
  • ขิงช่วยลดการอักเสบในเซลล์กล้ามเนื้อของทางเดินหายใจ
  • ช่วยป้องกันการถูกทำลายของข้อต่อ
  • น้ำขิงช่วยลดอาการแพ้ท้องคลื่นไส้ ในหญิงตั้งครรภ์
  • ช่วยป้องกันและรักษาอาการอักเสบ
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระดูก มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ และขิงยังช่วยไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น ๆ
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • ขิงช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
  • ช่วยบรรเทาอาการมีไข้
  • ช่วยบรรเทาอาการหวัด
  • ช่วยให้นอนหลับสนิทตลอดคืน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ช่วยบรรเทาอาการมึนงง และชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ขิงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยลดการทำงานของเอนไซม์ในตับ
  • ช่วยป้องกันเลือดอุดตัน
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น
  • ช่วยลดความอยากอาหาร เร่งการเผาผลาญพลังงาน ลดน้ำหนัก ( ขิงสด )
  • ขิงช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชาย
  • ช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิในเพศชาย
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในอัณฑะ

ข้อควรระวังและโทษของขิง

ผลข้างเคียงส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริโภคขิงมากเกินไปที่กำหนดไว้ที่ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
การรับประทาน : เมื่อทานขิงในปริมาณที่เหมาะสมผลข้างเคียงไม่รุนแรง อาจรู้สึกไม่สบายท้องหรือท้องเสีย
การใช้ขิงกับผิว : ขิงมีความปลอดภัยสูงเมื่อใช้กับผิวอย่างเหมาะสมในระยะสั้น แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังในบางคนหรือสำหรับคนผิวแพ้ง่าย

  • ขิงสามารถมีผลข้างเคียงหากกินมากเกินไป เช่น ก่อให้เกิดก๊าซในลำไส้ และท้องอืด
  • เกิดผดผื่นบริเวณผิวหนัง
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้น (หากใช้เกิดขนาด)
  • ภาวะซึมเศร้าระบบประสาทส่วนกลาง (หากใช้เกิดขนาด)
  • ระคายเคืองต่อปาก หรือลำคอ (ขิงมีรสเผ็ดร้อน)
  • ในระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด
  • การรับประทานขิงมากเกินไป อาจทำให้เลือดออกมากเกินไป
  • ผู้ที่ทานยาลดความดันโลหิต ควรหลีกเลี่ยงการกินขิงในปริมาณมากเกินไปอาจนำไปสู่หัวใจเต้นผิดปกติ
  • การกินขิงขณะท้องว่าง อาจกระตุ้นให้มีอาการปวดท้องได้

เมนูจากขิงสด

  • ขิงสดปอกเปลือกและสับละเอียด 1.5 ถ้วย
  • น้ำเปล่า 2 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
  • โซดา 1 ขวด ( แช่เย็น )
  • น้ำมะนาวสด 2-3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำน้ำขิง

1. เทขิงสับละเอียดและน้ำเปล่าตั้งไฟอ่อนๆ ประมาณ 45 นาที
2. ปิดไฟและนำฝามาปิด ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 20 นาที
3. เทใส่ภาชนะ เช่น หม้อ แล้วกรองแยกน้ำและเนื้อออกจากกัน
4. นำน้ำขิงที่ได้เติมน้ำตาลลงไป ตั้งไปปานกลางคนให้น้ำตาลละลายคนให้เข้ากัน ปิดไฟรอให้เย็น
5. เทน้ำขิงใส่แก้ว พร้อมเติมโซดา และบีบน้ำมะนาวลงไปตามต้องการ

การบริโภคขิง 1 – 2 กรัมต่อวัน ซึ่งขิงมีคุณสมบัติสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็งบางชนิดในระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความไวต่อการรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีของผู้ป่วยมะเร็ง และยังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักได้ นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าขิงสดสามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ขิงสามารถยับยั้งและปิดกั้นเชื้อไวรัสต่าง ๆ ไม่ให้ติดกับเยื่อบุทางเดินหายใจจากการสูดดมเข้าไป

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอขอบคุณคลิปสาระประโยชน์จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

11 Proven Health Benefits of Ginger (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [26 มีนาคม 2563].

The health benefits of ginger (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.bbcgoodfood.com [26 มีนาคม 2563].

13 Health Benefits of Ginger + Side Effects (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://selfhacked.com [26 มีนาคม 2563].