กรรณิการ์
กรรณิการ์ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในตอนกลางของประเทศอินเดีย มีการนำเข้ามาในไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสันนิษฐานว่าชื่อมาจากคำว่า “กรรณิกา” มีความหมายว่า ช่อฟ้า กลีบบัว ดอกไม้ ตุ้มหู และเครื่องประดับหู ซึ่งจากรูปทรงของดอกจะเห็นมีหลอดที่ใช้สอดในรูที่เจาะใส่ต่างหูได้ มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย สุมาตรา ชวา และในประเทศไทย ชื่อสามัญ Night blooming jasmine, Night jasmine, Coral jasmine[1],[2],[3],[4],[8] ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbor-tristis Linn.[1],[2],[3],[4],[8] จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE)[1],[2],[3],[4],[8] (หมายเหตุ : P.S.Green ระบุว่าสกุล Nyctanthes มีความใกล้ชิดกับวงศ์ VERBENACEAE มากกว่าวงศ์ OLEACEAE แต่ข้อมูลในด้านวิวัฒนาการในปัจจุบันจัดให้สกุล NYCTANTHES อยู่ภายใต้วงศ์ OLEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย MYXOPYREAE[8]) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กณิการ์ กันลิกา กรรณิกา (ภาคกลาง), สะบันงา (น่าน), ปาริชาติ (ทั่วไป)[1],[2],[5],[7],[8],[9] ซึ่งในไทยจะพบได้ทั้ง 2 ชนิด[8]
1. กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes arbor–tristis L. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
2. กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes aculeata Craib ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว
ลักษณะของกรรณิการ์
- ต้น[1],[2],[5],[6],[7]
– เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ
– มีเรือนยอดเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ
– ต้น มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร
– เปลือกของลำต้น มีความขรุขระและเป็นสีน้ำตาล
– กิ่งอ่อน มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม และมีขนแข็งสากมือ
– สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง
– เติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี
– มีความชื้นปานกลาง
– ชอบแสงแดดแบบเต็มวันและครึ่งวัน
– หากปลูกในที่แห้งแล้งจะออกดอกน้อย
– จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
– สามารถออกดอกได้ตลอดปีหากมีฝน - ใบ[1],[4]
– ใบ เป็นใบเดี่ยว
– ออกใบตรงข้ามกัน
– ใบ มีรูปร่างเป็นรูปไข่
– ใบ มีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร
– ปลายใบ ค่อนข้างแหลม
– โคนใบ จะมน
– ขอบใบ มีความเรียบหรือบางใบอาจจะจะหยักแบบห่าง ๆ กัน
– ตามขอบใบ จะมีขนแข็ง ๆ
– หลังใบ มีขนแข็ง ค่อนข้างสากมือ
– ท้องใบ มีขนแข็งสั้น ๆ
– มีเส้นแขนงของใบข้างละ 3-4 เส้น
– ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ
– ก้านใบ มีความยาว 0.5-1 เซนติเมตร - ดอก[1],[2],[4]
– ออกดอกเป็นช่อ ไม่มีก้านดอก
– ออกดอกตามซอกใบหรือง่ามใบ
– ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร
– ใบประดับ เป็นใบเล็ก ๆ อยู่ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก
– ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-7 ดอก
– ดอก เป็นดอกย่อยสีขาวและมีกลิ่นหอม
– ดอกจะบานในช่วงเย็นและจะร่วงในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น
– ในแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 1 ใบ
– ดอกตูม มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันและบิดเป็นเกลียว
– กลีบมีประมาณ 5-8 กลีบ ปลายกลีบจะเว้า โคนกลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดสีแสดสั้น ๆ มีความยาวประมาณ 1.1-1.3 เซนติเมตร
– ด้านในโคนกลีบมีขนยาว ๆ สีขาวที่โคนหลอด ส่วนด้านนอกเกลี้ยง
– ปลายหลอด จะแยกเป็นกลีบ มีสีเขียว ประมาณ 5-8 กลีบ
– ในแต่ละกลีบจะมีความยาวประมาณ 0.1-1.1 เซนติเมตร
– โคนกลีบ ค่อนข้างแคบ ปลายกลีบ มีความกว้างและเว้าลึก
– มีเกสรเพศผู้จำนวน 2 ก้านติดอยู่ภายในหลอด
– กลีบดอกบริเวณปาก หันด้านหน้าเข้าหากัน
– ก้านชูอับเรณู เชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับหลอดดอก
– รังไข่ จะอยู่เหนือวงกลีบ มีรูปร่างกลม มีอยู่ 2 ช่อง และมีออวุลช่องละ 1 เมล็ด
– เกสรเพศเมีย จะมีแค่ 1 อัน เป็นตุ่มมีขน
– มีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียวอ่อน 4 กลีบ ติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลายติดหรือหยักตื้น ๆ 5 หยัก - ผล[1],[5],[8]
– ผล เป็นรูปไข่กลับหรือมีเป็นรูปทรงกลมค่อนข้างแบน
– ปลายผล จะมีความมนและมีติ่งแหลม
– ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
– ผิวผลเรียบ
– ผลอ่อน เป็นสีเขียว
– ผลแก่ จะแตกอ้าออกเป็น 2 ซีก
– มีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด
– เมล็ดมีรูปร่างกลมแบน เป็นสีน้ำตาล
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- มีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดแอลกอฮอล์จากใบ ผล และเมล็ด[6]
– เพื่อยับยั้งโรคไขข้อเสื่อมในหนูทดลองที่ถูกทำให้ติดเชื้อวัณโรคจนเกิดอาการไขข้อเสื่อม
– ได้ทำการให้สารสกัด กับหนูทดลองทางช่องปาก 25 มก./กก. เป็นเวลา 47 วัน
– ผลการทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยยับยั้งการเกิดไขข้อเสื่อมได้
– จะช่วยลดปริมาณการตายของเซลล์ที่เกิดการติดเชื้อได้ - งานวิจัยต่อเนื่องที่ระบุว่า เมื่อทำการให้สารสกัดคลอโรฟอร์มจากดอกและใบ[6]
– ใช้สารสกัดความเข้มข้น 50, 100, 200 มก./กก.
– ใช้เป็นระยะเวลา 27 วันกับหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เป็นโรคเบาหวานด้วยสาร Streptozocin
– พบว่าสารสกัดจากดอกและใบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
– ช่วยลดระดับ Alk Phos, LPO, SGPT, คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นสาเหตุของไขมันอุดตันได้
สรรพคุณของกรรณิการ์
- ช่วยแก้พิษทั้งปวง[6]
- ช่วยขับประจำเดือน[6]
- ช่วยแก้ตาแดง[6]
- ช่วยแก้ไข้มิรู้สติ เป็นไข้บาดทะจิต แก้ไข้ผอมเหลือง[6]
- ช่วยแก้ไข้[1],[2],[3],[4],[5],[6],[9]
- ช่วยแก้ลมวิงเวียน[1],[2],[4],[5],[6]
- ช่วยแก้โลหิตตีขึ้น[6]
- ช่วยบำรุงหัวใจ[6]
- ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ[1],[2],[6],[9]
- ช่วยบำรุงน้ำดี ขับน้ำดี[1],[2],[3],[4],[5],[6],[9]
- ช่วยขับพยาธิ[6]
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง[6]
- ช่วยแก้ไข้เพื่อดีและแก้ไข้จับสั่นชนิดจับวันเว้นวัน[6]
- ช่วยบำรุงเส้นผม แก้เส้นผมหงอก[1],[2],[4],[6]
- ช่วยแก้ตานขโมย[6],[9]
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยแก้อุจจาระเป็นพรรดึก
- ช่วยแก้อาการท้องผูก
- ช่วยแก้อาการไอสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ
- ช่วยแก้อาการไอ
- ช่วยแก้ลมและดี
- ช่วยบำรุงผิวหนังให้สดชื่น
- ช่วยแก้ผมหงอก
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย
- ช่วยบำรุงกำลัง
- ช่วยแก้วาโยกำเริบเพื่ออากาศธาตุ
- ช่วยบำรุงธาตุ
ประโยชน์ของกรรณิการ์
1. ในประเทศอินเดียจะนับถือ เชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง[7]
2. สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ แต่ไม่ควรปลูกใกล้ลานนั่งเล่น เนื่องจากดอกจะมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเย็น[5]
3. ดอก สามารถนำมาใช้สกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหยได้[5]
4. ดอก สามารถนำไปใช้สำหรับทำเป็นน้ำหอมได้[5]
5. ดอกมีสาร Carotenoid nyctanthin ซึ่งให้สีเหลืองอมแสด สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ โดยใช้โคนกลีบดอกส่วนหลอดสีส้มแดงนำมาโขลกแบบหยาบ ๆ เติมน้ำ คั้นส่วนน้ำกรองจะได้น้ำที่มีสีเหลืองใส หากถ้าเติมน้ำมะนาวหรือสารส้มลงไปเล็กน้อยในขณะย้อม จะทำให้สีคงทนยิ่งขึ้น[3],[6]
6. ดอก สามารถนำมาใช้ทำสีขนมได้[4]
สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “กรร ณิ การ์ (Kanni Ka)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 16.
2. หนังสือสมุนไพรไทยในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ก ร ร ณิ ก า ร์”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 81.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “กรรณิการ์ Night Jasmine”. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 151.
4. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร กรรณิการ์”. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [30 ม.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กรรณิการ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [30 ม.ค. 2014].
6. ไทยโพสต์. “กรร ณิ การ์ ไม้ดอกงามบรรเทาไข้ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [30 ม.ค. 2014].
7. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 268 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ก ร ร ณิ ก า ร์ คุณค่าที่คู่ควรจมูก ตา (และหู)”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [30 ม.ค. 2014].
8. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กรรณิการ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [30 ม.ค. 2014].
9. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “กรร ณิ การ์”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 7-8.
10. https://medthai.com/