สรรพคุณและประโยชน์ของพลูคาว
พลูคาว สมุนไพรพื้นบ้าน ใช้เป็นทั้งอาหาร สมุนไพร และไม้ประดับ

พลูคาว

พลูคาว ( Plu Kaow ) เป็น พืชสมุนไพรพื้นบ้านมีประโยชน์และสรรพคุณทางยารักษาโรคมายาวนาน ทั้งใช้เป็นอาหาร สมุนไพร และไม้ประดับทางภาคอีสาน ภาคเหนือของประเทศไทย รสชาติพลูคาวเผ็ด ขื่น มีกลิ่นคาว ยังมีชื่อเรียกว่าผักคาวตองมีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เนปาล อินเดีย อินโดนีเซีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลความสูง 2,500 เมตร ในประเทศไทยพบมาก 3 สายพันธุ์ คือ พลูคาวใบเขียว พลูคาวแดง และพลูคาวก้านม่วงเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น มักพบผักคาวตองตามริมแม่น้ำ ลำธาร ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ริมทาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb.จัดอยู่ในวงศ์ผักคาวตอง ( SAURURACEAE ) ชื่อพื้นเมือง ผักคาวทอง ผักก้านตอง พลูแก พลูคาวมีประโยชน์รวมทั้งคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก โปรตีน แคลเซียม ยอดอ่อน ใบกินดิบหรือสุกก็ได้ ส่วนลำต้น และรากของผักคาวทองแห้งใช้เป็นยา

ตารางคุณค่าทางโภชนาการของพลูคาว ต่อ 100 กรัม

โภชนาการของพลูคาว 100 กรัม ให้พลังงาน 22 แคลอรี

การวิจัยองค์ประกอบทางโภชนาการของผักคาวทองพบว่าประโยชน์สมุนไพรชนิดนี้มีโปรตีน เส้นใยอาหาร และวิตามินมากมาย

สารอาหาร  ปริมาณสารอาหาร
โปรตีน 2.9 กรัม
ไขมัน 0 กรัม
น้ำตาล 2.7 กรัม
แมกนีเซียม 81 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม
โซเดียม 72 กรัม
วิตามินซี 68 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 2.7 กรัม
ไฟเบอร์ 1.8 กรัม
เบต้าแคโรทีน 620 ไมโครกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมุนไพรพลูคาว

ลำต้น : พลูคาวเป็นสมุนไพรเลื้อยสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียวหรือบางสายพันธุ์มีสีแดงอมม่วง ลักษณะผิวเรียบ มีขน ส่วนล่างของก้านใบเป็นกาบรอบลำต้น
ใบ : ใบเดี่ยวแบบเรียงสลับกันมีก้านใบพลูคาวเป็นรูปหัวใจยาว 4-10 เซนติเมตร และกว้าง 2.5-6.0 เซนติเมตร มีสีม่วงอยู่ข้างใต้มีเส้นแขนงบนใบ 5-7 เส้น ใบไม้จะส่งกลิ่นคาวเมื่อถูกขยี้รสชาติพลูคาวเผ็ด ขื่นเต็มไปด้วยสรรพคุณทางยาสมุนไพร
ดอก : ออกดอกเป็นช่อสีขาวดอกพลูคาวมีขนาดเล็ก มีหนามแหลมสั้น ๆ อยู่ตรงกลางดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กาบสีขาวคล้ายกลีบดอก 4 อันที่ฐาน ประกอบด้วยก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร ใบรองดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก เกสรสีเหลืองตัวผู้ ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม
ผล : มีลักษณะกลมรี และมีขนาดเล็ก บริเวณปลายผลปริแยกออกเป็น 3 แฉก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีดำ
เมล็ด : มีเมล็ดขนาดเล็กกลมผักพลูคาวสามารถขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นและปักชำ
ราก : ระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว รากฝอย เมื่อส่วนของลำต้นเอนแตะพื้นดินบริเวณข้อปล้องก็จะแตกรากฝอยเกิดเป็นต้นใหม่อีก

สรรพคุณและประโยชน์ของพลูคาว

  • ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยลดการติดเชื้อ
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น
  • ช่วยให้ร่างกายฟื้นคืนพลังงานได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยควบคุมน้ำหนักเนื่องจากมีไฟเบอร์สูง
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย
  • ช่วยรักษาอาการปอดบวม
  • ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคหลอดลม
  • ช่วยรักษาอาการท้องเสีย
  • พลูคาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
  • ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศชาย
  • ช่วยการรักษาความผิดปกติของอวัยวะเพศในผู้ชาย
  • ช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยรักษานิ่วในไต
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยสร้างเส้นเลือดฝอย
  • ช่วยฟอกเลือด
  • ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
  • พลูคาวมีสารสำคัญ decanoyl-acetaldehyde สารนี้มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติในสตรี
  • ช่วยบรรเทาอาการไอ ไอแห้ง ไอมีเสมหะ และช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยป้องกันสิว ลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย และรักษาสิวอักเสบ
  • ช่วยฟื้นฟูเลือดส่งผลดีต่อการทำงานของระบบการไหลเวียนของเลือด
  • ช่วยลดการคั่งของน้ำนมบริเวณเต้านม ทำให้อาการปวดคัดตึงเต้านมลดลงของแม่ให้นมหลังคลอด
  • ช่วยรักษาบาดแผล
  • ช่วยรักษาแผลเปื่อย
  • ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น
  • ผักคาวทองใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด
  • ช่วยคลายร้อนแก้ร้อนตับและขับล้างร่างกาย
  • ช่วยรักษาอาการท้องผูกในเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยรักษาอาการช่องคลอดอักเสบ
  • ใช้รักษาสิวผดแดงจากความร้อนลดการอักเสบของผิว

พลูคาว ควรกินตอนไหน

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากพลูคาวทำมาทั้งแบบ พลูคาวแคปซูล น้ำพลูคาว เพื่อให้สะดวกง่ายต่อการทานทำให้หลายคนอยากทราบว่า พลูคาวควรกินตอนไหนจากการศึกษาพบว่าวิธีรับประทานพลูคาวให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรทานครั้งละ 1 แคปซูล หรือเทียบเท่าปริมาณ 500 มิลลิกรัม วันละครั้งก่อนนอน และน้ำพลูคาวควรทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำ 150 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น

การใช้พลูคาวทางยาสมุนไพร

1. สรรพคุณใช้เป็นยารักษาอาการไข้ ลดไข้ในเด็ก
เตรียม : ใบพลูคาวสดประมาณ 30 กรัม
การนำไปใช้ : ล้างน้ำให้สะอาด นำไปบดให้ละเอียดแล้วนำไปต้ม ใช้กากมาทาที่ขมับของเด็กและกรองเอาแต่น้ำที่ต้มเสร็จแล้วให้เด็กดื่มเพื่อคลายร้อน

2. ใช้เป็นยารักษาฝีในปอด
เตรียม : ใบ ลำต้นพลูคาว 30 กรัม
การนำไปใช้ : นำไปต้มแล้วให้ดื่มตอนอุ่น ๆ วันละ 1 ครั้ง

3. ใช้รักษาและป้องกันการเกิดสิว
เตรียม : พลูคาวสดหนึ่งกำมือและเกลือเล็กน้อย
การนำไปใช้ : ล้างพลูคาวสดแล้วบดผสมกับเกลือเล็กน้อย ทาส่วนผสมลงบนใบหน้าแล้วล้างออกอีกครั้งหลังจากผ่านไป 15 นาที

4. ใช้รักษาอาการท้องผูกและถ่ายอุจจาระยาก
เตรียม : พลูคาวแห้ง 10 กรัม
การนำไปใช้ : ต้มด้วยน้ำเดือด 10 นาทีแล้วดื่มวันละ 1 ครั้ง

5. ใช้รักษาการคั่งของน้ำนมบริเวณเต้านม ที่ทำให้อาการปวดคัดตึงเต้าลดลงได้
เตรียม : แอปเปิ้ลแดง 10 ลูก และพลูคาวแห้ง 25 กรัม
การนำไปใช้ : ต้มด้วยน้ำเดือด 10 นาทีแล้วดื่มวันละ 1 ครั้ง ดื่มต่อเนื่อง 3-5 วัน

อย่างไรก็ตามการใช้สมุนไพรชนิดใดก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลการใช้อย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายถึงแม้จะมีสรรพคุณและประโยชน์ต่อสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม