ราชพฤกษ์
ราชพฤกษ์ หรือ คูณ เมื่อปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วย ดอกไม้ สัตว์ และสถาปัตยกรรม สัตว์ประจำชาติคือ “ช้างไทย” สถาปัตยกรรมประจำชาติคือ “ศาลาไทย” ดอกไม้ประจำชาติคือ “ดอกราชพฤกษ์” ชื่อสามัญ คือ Golden shower, Indian laburnum, Pudding-pine tree, Purging Cassia ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cassia fistula L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปูโย ปีอยู เปอโซ แมะหล่าอยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลักเกลือ ลักเคย (กะเหรี่ยง), ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง), ลมแล้ง (ภาคเหนือ), ราชพฤกษ์ (ภาคใต้), คูน (ทั่วไปเรียกและมักจะเขียนผิดหรือสะกดผิดเป็น “ต้นคูณ” หรือ “คูณ“)
ความหมายของราชพฤกษ์
ราชพฤกษ์ หมายความว่า ต้นไม้ของราชา เป็นสัญลักษณ์ของงาน มหกรรมพืชสวนโลก เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อฉลองในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี
ความเชื่อ
หากบ้านใดที่ปลูกต้นไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติและศักดิ์ศรี เนื่องจากคนให้การยอมรับว่าเป็นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยนั้นเจริญรุ่งเรือง จะนิยมปลูกในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน
เหตุผลที่เป็นต้นไม้ประจำชาติ
- ตำราไม้มงคล 9 ชนิดระบุไว้ว่า ต้นราชพฤกษ์แสดงถึงความเป็นใหญ่ ความมีอำนาจวาสนา และมีโชคมีชัย
- เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนานและแข็งแรงทนทาน
- มีรูปทรงและพุ่มที่งดงาม
- มีดอกสีเหลืองอร่ามเต็มต้น
- สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย
- ดอกมีสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย
- เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา
- เป็นสัญลักษณ์ของวันจันทร์ โดยเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีชาวไทยมานาน เนื่องจากเป็นไม้มงคลนามและใช้ในการประกอบพิธีสำคัญ
- เป็นต้นไม้ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันในนามของ “ต้นคูน”
- สามารถพบเห็นได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ
ลักษณะของราชพฤกษ์
- ต้น
– เป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียใต้ ไล่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถานไปจนถึงอินเดีย พม่า และประเทศศรีลังกา
– เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง
– มีลำต้นสีน้ำตาลแกมเทาเกลี้ยง
– สามารถพบขึ้นได้ตามป่าผลัดใบหรือในดินที่มีการถ่ายเทน้ำดี
– สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้ามาปลูกในถุงเพาะชำ - ใบ
– ใบออกเป็นช่อ
– ใบ เป็นสีเขียวและเป็นมัน
– ช่อหนึ่งจะยาว 2.5 เซนติเมตร
– มีใบย่อยเป็นไข่หรือรูปป้อม ๆ ประมาณ 3-6 คู่
– ใบย่อยมีความกว้าง 5-7 เซนติเมตร และยาว 9-15 เซนติเมตร
– โคนใบมนและสอบไปทางปลายใบ
– เนื้อใบบาง
– มีเส้นแขนงใบถี่และโค้งไปตามรูปใบ - ดอก
– ออกดอกเป็นช่อ สีเหลือง
– มีความยาว 20-45 เซนติเมตร
– มีกลีบรองดอกรูปขอบขนาน มีความยาว 1 เซนติเมตร
– กลีบมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ค่อนข้างง่าย
– กลีบดอกยาวกว่ากลีบรองดอก
– บริเวณพื้นกลีบจะเห็นเส้นกลีบชัดเจน
– มีเกสรเพศผู้ขนาดแตกต่างกันจำนวน 10 ก้าน
– มีก้านอับเรณูโค้งงอขึ้น
– ดอกจะบานในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม - ผล
– ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยง ๆ
– ฝักมีความยาว 20-60 เซนติเมตร
– เส้นผ่านศูนย์กลางได้ 2-2.5 เซนติเมตร
– ฝักอ่อนจะมีสีเขียว
– ฝักแก่จะมีสีดำ
– ข้างในฝักจะมีผนังเยื่อบาง ๆ ติดกันอยู่เป็นช่องตามขวางของฝัก
– ในช่องจะมีเมล็ดสีน้ำตาลแบน ๆ มีขนาด 0.8-0.9 เซนติเมตร
ข้อควรระวัง
- การทำเป็นยาต้ม ควรต้มให้พอประมาณจึงจะได้ผลดี
- หากต้มนานเกินไปหรือเกินกว่า 8 ชั่วโมง ยาจะไม่มีฤทธิ์ระบาย แต่จะทำให้ท้องผูก
- ควรเลือกใช้ฝักไม่มากจนเกินไป
- ยาต้มที่ได้หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้
สรรพคุณของราชพฤกษ์
- ช่วยแก้อาการปวดข้อ
- ช่วยขับรกที่ค้าง ทำให้แท้งลูก
- ช่วยแก้อาการจุกเสียด
- ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายได้สะดวก ไม่มวนท้อง แก้อาการท้องผูก
- ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก
- ช่วยรักษาเด็กเป็นตานขโมย
- ช่วยรักษาไข้ แก้อาการหายใจขัด
- ช่วยถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
- ช่วยแก้อาการซึมเศร้า หนักศีรษะ หนักตัว
- ช่วยทำให้ชุ่มชื่นทรวงอก
- ช่วยถอนพิษ ทำให้อาเจียน
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
- ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย
- ช่วยแก้โรคปวดข้อ และอัมพาต
- ช่วยแก้ฝี แก้บวม
- ช่วยแก้ผดผื่นตามร่างกาย
- ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง
- ช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อโรคบนผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
- ช่วยต้านการเกิดพิษที่ตับ
- ช่วยขับพยาธิ
- ช่วยแก้ไข้รูมาติก
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือถุงน้ำดี
- ช่วยรักษาไข้
- ช่วยในการขับถ่าย
- ช่วยทำให้ถ่ายได้สะดวก ไม่มวนท้อง
- ช่วยแก้อาการท้องผูก
- ช่วยแก้โรคคุดทะราด
- ช่วยรักษากลากเกลื้อน
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- ช่วยถอนพิษ ทำให้อาเจียน
- ช่วยแก้ท้องร่วง
- ช่วยรักษาโรคบิด
- ช่วยทำให้เกิดลมเบ่ง
ประโยชน์ของราชพฤกษ์
- ฝักแก่ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจได้ที่ โดยไม่ต้องผ่า ตัด หรือเลื่อย
- เนื้อของฝักแก่ สามารถนำมาใช้แทนกากน้ำตาลในการทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยายได้
- เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ หรือทำเป็นไม้ไว้ใช้สอยได้
- ต้นเป็นไม้มงคลและศักดิ์สิทธิ์ ใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาได้
- สามารถนำมาใช้ทำเสาหลักเมือง
- มีการนำมาใช้ทำเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร คทาจอมพล
- ใบ สามารถใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ไว้สะเดาะเคราะห์ได้
- สามารถปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ได้เช่น สถานที่ราชการ บริเวณริมถนนข้างทาง
ผลิตภัณฑ์ที่นิยม
- ชาสุวรรณาคา
– เป็นยาที่มีไว้ชงดื่มควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่น
– ช่วยในด้านสมอง
– แก้ปัญหาเส้นเลือดตีบในสมอง
– ช่วยให้ระบบไหลเวียนในร่างกายดีขึ้น
– ช่วยแก้อัมพฤกษ์อัมพาต - ผงพอกคูนคาดข้อ
– นำใบคูนมาบดเป็นผง และนำมาพอกบริเวณ
– จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของเลือด
– ช่วยแก้อาการปวดเส้น อัมพฤกษ์อัมพาต
– บรรเทาอาการปวดข้อ รักษาโรคเกาต์
– ช่วยลดอาการอักเสบได้อีกด้วย
– สามารถใช้กับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก ตาไม่หลับ มุมปากตกได้ - ลูกประคบราชตารู
– นำใบคูนมาผสมกับขมิ้นอ้อย เทียนดำ กระวาน และอบเชยเทศ
– สูตรนี้จะใช้ปรุงตามอาการ
– จะดูตามโรคและความต้องการเป็นหลัก - น้ำมันนวด
– เคี่ยวมาจากน้ำมันจากใบคูน
– เป็นน้ำมันนวดสูตรร้อนหรือสูตรเย็น
– ใช้นวดแก้อัมพฤกษ์อัมพาต และแก้ปัญหาเรื่องเส้น
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, เว็บไซต์ไทยโพส, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราช พฤกษ์ 2554, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อ้างอิงรูปจาก
1. https://buy-rare-seeds.com/products/shrubtree-cassiafistula
2. https://www.ugaoo.com/blogs/ornamental-gardening/tree-saga-cassia-fistula-the-golden-shower-tree-amaltas
3. https://medthai.com/