ต้นแดง แก่นมีสรรพคุณรักษาโรคไข้กาฬ

0
1443
ต้นแดง
ต้นแดง แก่นมีสรรพคุณรักษาโรคไข้กาฬ เป็นไม้ยืนต้น เนื้อไม้ละเอียดสีน้ำตาลอมแดง ดอกสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม ฝักแบนและแข็งมีสีน้ำตาลอมเทา เมล็ดมีสีน้ำตาลมีผิวเป็นมันเงา
ต้นแดง
เป็นไม้ยืนต้น เนื้อไม้ละเอียดสีน้ำตาลอมแดง ดอกสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม ฝักแบนและแข็งมีสีน้ำตาลอมเทา เมล็ดมีสีน้ำตาลมีผิวเป็นมันเงา

ต้นแดง

แดง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย[4] สามารถพบได้ตามบริเวณตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณทั้งแล้งและชื้น โดยในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ[1] ชื่อสามัญ Iron wood, Irul, Jamba, Pyinkado ชื่ออื่น ๆ ไคว เพร่ (จังหวัดแพร่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน), ปราน (จังหวัดสุรินทร์), จาลาน สะกรอม ตะกร้อม จะลาน (จังหวัดจันทบุรี), คว้าย (จังหวัดเชียงใหม่และกาญจนบุรี), เพ้ย (จังหวัดตาก), ไปร (จังหวัดศรีสะเกษ), ผ้าน (จังหวัดเชียงใหม่), กร้อม (จังหวัดนครราชสีมา), เพ้ย (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดตาก) เป็นต้น[1],[2]
ชื่อวิทยาศาสตร์: Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acacia xylocarpa (Roxb.) Willd., Inga xylocarpa (Roxb.) DC., Mimosa xylocarpa Roxb., Xylia dolabriformis Benth.
จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[1]

ข้อควรรู้
ไม้แดงมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่กล่าวถึงในบทความนี้ และอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Xylia xylocarpa var. kerrii (Craib & Hutch.) I.C.Nielsen มีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Xylia kerrii Craib & Hutch. ซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่ชนิดนี้จะมีต่อมขึ้นที่เกสรเพศผู้[1]

ลักษณะของต้นแดง

  • ต้น
    – จัดเป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่
    – ต้นมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอดรูปทรงกลม มีสีเขียวอมแดง ส่วนลำต้นจะมีรูปร่างค่อนข้างเปลาตรง มีผิวเปลือกต้นเรียบ ลำต้นมีสีเทาอมแดง ทั่วลำต้นมักจะตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนยอดอ่อนจะมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม
    – เนื้อไม้ที่มีสีเป็นสีน้ำตาลอมแดงหรือสีแดงเรื่อ ๆ
    – เนื้อไม้ละเอียด มีความแข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก และมีเสี้ยนไม้เป็นลูกคลื่น
    – เนื้อไม้สามารถนำมาเลื่อยไสกบ นำมาขัดชักเงา เพื่อตบแต่งให้ดูสวยงามได้ง่าย มีคุณภาพดี[1]
    – มีความสูงตั้งแต่ 25 เมตร ไปจนถึงความสูงประมาณ 30-37 เมตร
    – นิยมการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นช่อใบแบบขนนกสองชั้น ซึ่งในแต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 4-5 คู่
    – ใบ ย่อยมีรูปร่างคล้ายไข่เกือบกลม ตรงปลายใบแหลม ส่วนที่โคนใบเบี้ยว
    – ใบ ที่แก่แล้วจะไม่มีขนขึ้นมาปกคลุมหรือถ้ามีก็มีขึ้นเล็กน้อยที่ใต้ท้องใบ
    – ช่อใบหลักมีความยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร มีก้านช่อใบที่มีความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีขนาดความกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร และมีก้านใบยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
    – เป็นไม้ผลัดใบ
  • ดอก
    – ดอกมีสีเหลืองเป็นดอกที่มีขนาดเล็ก โดยดอกมีลักษณะเป็นรูประฆัง และดอกมีกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังเช่นเดียวกับตัวดอก โดยกลีบรองดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ทั้งตัวดอกหลักและกลีบรองดอกจะมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมเป็นประปราย ดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน
    – ดอกมีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว
    – ดอกจะออกในลักษณะที่เป็นช่อ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยกระจุกตัวอยู่รวมกัน โดยช่อดอกจะอยู่ที่บริเวณซอกใบ
    – ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนมีนาคม[1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนและแข็ง ฝักมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกฝักเรียบเกลี้ยง รูปร่างของฝักเป็นรูปขอบขนาน โดยจะโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักมีขนาดความยาวอยู่ประมาณ 7-10 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก โดยเปลือกของฝักที่แตกออกจะมีลักษณะที่ม้วนบิดงออย่างเห็นได้ชัด
    – ฝักจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[4]
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีสีน้ำตาลมีผิวเป็นมันเงา มีเปลือกแข็งห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้ เมล็ดมีรูปร่างกลมแบนและรีเป็นเรียวแหลม มีขนาดความกว้างประมาณ 0.35-0.5 นิ้ว และมีความยาวประมาณ 0.4-0.7 นิ้ว โดยภายในฝัก 1 ฝัก จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 6-10 เมล็ด
    – เมล็ดที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถงอกได้ในทันที แม้จะเก็บเอาไว้นานเป็นระยะเวลา 1 ปีก็ตาม[1]

สรรพคุณของต้นแดง

1. เปลือกมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องร่วง (เปลือก)[3]
2. เปลือกมีฤทธิ์เป็นยาช่วยสมานธาตุ (เปลือก)[1]
3. แก่นมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดอักเสบของฝีประเภทต่าง ๆ ได้ (แก่น)[1]
4. แก่นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (แก่น)[3]
3. แก่นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคกษัย (แก่น)[1],[3]
4. แก่นมีสรรพคุณเป็นยารักษาท้องเสีย (แก่น)[3]
5. แก่นมีสรรพคุณรักษาโรคไข้กาฬ และรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ (แก่น)[1]
6. แก่นนำมาทำเป็นยารักษาโรคซางโลหิต (แก่น)[1],[3]
7. ดอกมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไข้หวัด (ดอก)[1],[3]
8. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก)[1],[3]

ประโยชน์ของต้นแดง

1. ไม้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำมาทำเป็นถ่านหรือฟืนได้เป็นอย่างดี[1],[4]
2. เนื้อไม้เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งปลวกและเพรียงยังไม่ค่อยมาทำลายอีกด้วย จึงเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ นำมาทำเรือ นำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่าง ๆ นำมาทำหมอนรองรางรถไฟ นำมาทำไม้บุผนังให้เกิดความสวยงามภายในบ้าน นำมาใช้ผลิตเป็นด้ามเครื่องมือต่าง ๆ นำมาทำเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้าน และสามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักได้อีกด้วย [1]
3. สามารถนำมาปลูกเป็นพรรณไม้สำหรับตกแต่งสถานที่ได้ เช่น ในบริเวณบ้าน ตามสวนสาธารณะ และตามพื้นที่โล่งแจ้ง เป็นต้น[1]
4. เมล็ดสามารถนำมารับประทานได้[1],[4]
5. เป็นพรรณไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ทางด้านระบบนิเวศ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการบำรุงหน้าดิน และช่วยยึดเกาะหน้าดิน อีกทั้งยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำไปปลูกป่า[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “แดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [28 พ.ย. 2013].
2. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ต้นแดง ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com. [28 พ.ย. 2013].
3. โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยา อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร. “ต้นแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: khtpschool.ning.com. [28 พ.ย. 2013].
4. กรมป่าไม้. “ไม้แดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.forest.go.th. [28 พ.ย. 2013].
5. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://efloraofindia.com/