กรามช้าง
กรามช้าง เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้ขนาดเล็ก มีสีเขียวอมน้ำตาลแดง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Smilax blumei A.DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Smilax perfoliata Blume อยู่วงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE)
ลักษณะของต้นกรามช้าง
- ต้น เป็นไม้เลื้อย สามารถยาวได้ถึง 10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะเรียวและมีหนาม
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมวงรีถึงรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ใบกว้างประมาณ 8-18 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-27 เซนติเมตร จะมีเส้นใบที่ออกจากโคนใบจรดกับปลายใบอยู่ 5 เส้น ก้านใบมีลักษณะเป็นสันสามเหลี่ยมมน มีหูใบเป็นรูปไข่กลับแผ่เป็นครีบ จะมีมือเกาะที่ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของแผ่นใบ[1]
- ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกเป็นคู่ที่ตามซอกใบ เป็นดอกแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกเพศผู้นั้นมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 30-50 ดอก ช่อดอกเพศเมียมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 20-40 ดอก กลีบรวมเป็นสีเหลืองแกมเขียว[1]
- ผล เป็นทรงกลม ผลสุกเป็นสีม่วงเข้ม[1]
สรรพคุณของรากกรามช้าง
1. ในตำรับยารักษารำมะนาดให้นำรากกรามช้าง ต้นกระไดลิง ข้าวสารเหนียว รากปอขาว รากแตงเถื่อน รากงิ้ว รากชุมเห็ดเล็ก ต้นมะกอกเผือก เครือข้าวเย็น รากเกล็ดลิ่น ข้าวสารเจ้า รากฟักข้าว รากชุมเห็ดเทศ รากถั่วพู มาฝนกับน้ำซาวข้าวเจ้าทานสามารถรักษารำมะนาดได้ (ราก) [1]
2. ในตำรับยาแก้ทอนซิลอักเสบ ให้นำรากกรามช้าง รากไผ่ รากตาล มาฝนน้ำ สามารถทานเป็นยาแก้ทอนซิลอักเสบได้ (ราก) [1]
3. ในตำรับยาผีเครือเหลือง ให้นำรากกรามช้าง นอแรดเครือ ต้นกระไดลิง ข้าวเย็น แก่นศรีคันไชย แก่นชมพู่ รากมะพร้าว รากช่ำ รากคำแสนซีก ว่านกีบแรด ต้นหมากขี้แรด เขาเลียงผา แก่นหาดเยือง แก่นจันทน์แดง รากเล็บเหยี่ยว รากก่อเผือก รากมะตูมป่า รากไค้ตีนกรอง มาฝนกับน้ำข้าวเจ้า สามารถทานเป็นยาผีเครือเหลืองได้ (ราก) [1]
สรรพคุณของหัวกรามช้าง
- ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะนำหัวที่อยู่ใต้ดินของต้นมาฝนหรือหั่นเป็นชิ้น ใช้ครั้งละ 2-3 ชิ้น มาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ (หัว) [1]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- มีวิจัยทางคลินิกที่ในประเทศจีน โดยนำมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นมากกว่า 10 ชนิด เพื่อใช้ในการรักษาโรคตับอักเสบชนิดบี ผลการทดลองปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น 74.5%[1]
ประโยชน์กรามช้าง
- นำหัวใต้ดินมาใช้แทนหัวข้าวเย็นได้ [1]
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กรามช้าง”. หน้า 197.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.http://www.westafricanplants.senckenberg.de/