สบู่เลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stephania pierrei Diels จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE) ชื่ออื่น ๆ พุ่งเหมาด้อย (ชาวเมี่ยน), โกฐหัวบัว (ในภาคกลาง), เปล้าเลือดเครือ (ในภาคเหนือ), บัวบก (จังหวัดนครราชสีมา และกาญจนบุรี), บัวกือ (จังหวัดเพชรบุรี และเชียงใหม่), บัวเครือ (จังหวัดเพชรบูรณ์) เป็นต้น[1],[2]
ลักษณะของต้นสบู่เลือด
- ต้น
– เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก
– ลำต้นจะแทงขึ้นโผล่ออกมาจากหัวขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดิน หัวมีลักษณะที่กลมแป้น เปลือกหัวภายนอกมีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อภายในหัวมีสีขาวนวล
– ลำต้นโค้งงอลงสู่พื้นดิน ลำต้นมีลักษณะเป็นไม้กึ่งเลื้อย โดยสามารถเลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดินได้ถึง 3-5 เมตร[1] - ใบ
– ใบมีรูปร่างคล้ายใบบัวแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า บางใบที่ปลายใบจะมีติ่งหนาม เส้นใบเป็นรูปฝ่ามือ โดยจะแผ่ออกเป็นร่างแหสามารถเห็นได้ทั้งสองด้าน ผิวใบบางไม่หนามากแต่เนื้อแข็ง และใบมีก้านใบติดอยู่ที่บริเวณกลางแผ่น
– ใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
– ใบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร[1],[3] - ดอก
– ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศ มีดอกเพศผู้เป็นรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน เนื้อกลีบมีผิวนุ่มและมีสีเหลือง ก้านดอกมีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันอยู่ที่บริเวณเหนือก้านดอก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
– ดอกเป็นช่อแบบกระจุก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร โดยดอกจะออกที่บริเวณง่ามใบหรือซอกใบ ก้านช่อดอกมีลักษณะเล็กเรียว มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-8 มิลลิเมตร [1],[3] - ผล
– ผลมีรูปร่างเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ภายนอกจะมีตุ่มประมาณ 16-19 ตุ่มเรียงกันเป็นแถว 4 แถวอยู่ด้านบน และภายในผลจะมีรูเล็ก ๆ ตรงกลางผนัง[1],[3]
สรรพคุณของต้นสบู่เลือด
- ต้นมีสรรพคุณในการช่วยขับลมแน่นในอกได้ และช่วยกระจายลม (ต้น)[1],[3]
- หัวนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ (หัว)[4]
- หัวมีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรี และอาการมุตกิดระดูขาวหรือตกขาวได้อย่างชะงัด โดยให้นำ
- หัวมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ 3 ชิ้น จากนั้นนำมาตำโขลกกับสุราหรือน้ำซาวข้าวให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มในปริมาณประมาณ 1 ถ้วยชา ให้ดื่ม 3 เวลา เช้า เย็น และก่อนนอน อาการจะดีขึ้น (หัว)[1]
- หัวมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงและทำให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น (หัว)[3]
- หัวนำมาใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (หัว)[3]
- ใบนำมาใส่บาดแผลสดหรือเรื้อรังจะช่วยบรรเทาอาการได้ (ใบ)[1]
- ใบนำมารับประทานบำรุงธาตุไฟ (ใบ)[1]
- ดอกนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคเรื้อน และยาฆ่าเชื้อ (ดอก)[1],[3]
- ดอกช่วยทำให้ขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายยิ่งขึ้น (ดอก)[1]
- เถามีสรรพคุณในการช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (เถา)[1]
- เถามีสรรพคุณในการช่วยขับพยาธิในลำไส้ (เถา)[1]
- เหง้ามีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย (เหง้า)[5]
- นำเครือต้นสบู่เลือด, ว่านมหากาฬ และไก่ มาต้มรวมกันเป็นยาบำรุงเลือด (เครือ)[3]
- รากนำมารับประทานบำรุงเส้นประสาท (ราก)[1]
- หัวกับก้านนำมารับประทานร่วมกับสุรา จะทำให้เกิดอาการชาที่ผิวหนัง โดนตีโดนเฆี่ยนก็ไม่เจ็บ แต่เมื่อยาหมด
- ฤทธิ์ อาการเจ็บต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นในภายหลัง (นักเลงสมัยก่อนนิยมใช้กัน) (หัว, ก้าน)[1],[4]
- หัวและก้านมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงกำหนัด และเพิ่มพละกำลัง (หัว, ก้าน)[1]
- รากหรือหัวนำมาตำใช้สำหรับพอกบริเวณศีรษะ จะช่วยรักษาอาการปวดศีรษะได้ (ราก, หัว)[4]
- หัวและก้านมีสรรพคุณในการช่วยแก้เสมหะเบื้องบน (หัว, ก้าน)[1]
- รากหรือหัวมีสรรพคุณในการช่วยแก้หืด (ราก, หัว)[4]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [10 พ.ย. 2013].
2. หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. (เต็ม สมิตินันทน์).
3. หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 7. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้. (ก่องการดา ชยามฤต).
4. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [10 พ.ย. 2013].
5. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sci.psu.ac.th. [10 พ.ย. 2013].
6. https://medthai.com/
อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.soilboy.sg/