กระดึงช้างเผือก
เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกเพศผู้สีขาว ดอกเพศเมียสีเหลืองอมชมพู มีลายเส้นสีแดง ผลอ่อนสีเขียวเข้มลายเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลสุกสีส้มแดงลายสีเหลือง

กระดึงช้างเผือก

กระดึงช้างเผือก พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณ ในต่างประเทศพบได้ที่จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า และในภูมิภาคอินโดจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Trichosanthes tricuspidata Lour.[1],[3] จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ขี้กาลาย มะตูมกา (นครราชสีมา), ขี้กาแดง (ราชบุรี), กระดึงช้าง กระดึงช้างเผือก (ประจวบคีรีขันธ์), ขี้กาขม (พังงา), ขี้กาใหญ่ (สุราษฎร์ธานี), มะตูมกา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้กา (ภาคกลาง), กระดึงช้าง (ภาคใต้), เถาขี้กา[1],[3]

ลักษณะของกระดึงช้างเผือก

  • ต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้เถา
    – จะเลื้อยไปตามผิวดินขนาดใหญ่
    – เถา มีรูปร่างเป็นเหลี่ยม สีเขียวเข้มและมีขนสีขาวสั้น ๆ ค่อนข้างสากมือ
    – ขน จะค่อย ๆ หลุดร่วงไปจนเกือบเกลี้ยง
    – จะมีมือสำหรับยึดเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง
  • ใบ[1],[2]
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแบบห่าง ๆ กัน
    – ใบ มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น รูปไข่กว้าง รูปเกือบกลม หรือรูปทรง 5 เหลี่ยม
    – โคนใบ มีความคล้ายกับรูปหัวใจกว้าง ๆ
    – ขอบใบหยักและเว้าลึก 3-7 แห่ง
    – ใบ จะมีรูปร่างเป็นแฉก 3-7 แฉก
    – ใบ มีความกว้างและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
    – มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-7 เส้น
    – ปลายเส้นใบ ยื่นพันขอบใบออกไปคล้ายหนามสั้น ๆ
    – หลังใบ เห็นเป็นร่องของเส้นแขนงใบชัดเจน
    – ผิวใบด้านบน จะมีความสากมือ
    – ผิวใบด้านล่าง จะมีขนสีขาว
    – ก้านใบ อาจจะมีขนหรือไม่มี
  • ดอก[1],[2],[3]
    – ดอก เป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น
    – ดอกเพศผู้ จะออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
    – ดอก จะออกตามซอกใบ
    – ดอกย่อย เป็นสีขาว
    – ใบประดับ เป็นรูปไข่กลับ
    – ขอบใบประดับ มีความหยักแบบซี่ฟันหรือแยกเป็นแฉกตื้น ๆ
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – โคนกลีบดอกติดกันเล็กน้อย
    – ขอบกลีบดอก เป็นชายครุย
    – โคนกลีบเลี้ยง จะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายจะแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ
    – เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูเชื่อมติดกันเป็นรูป S
    – ดอกเพศเมีย จะออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ
    – กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเพศเมียจะมีความคล้ายกับดอกเพศผู้
    – กลีบดอก เป็นสีเหลืองอมชมพู มีลายเป็นเส้นสีแดง
    – ฐานดอก จะเป็นหลอดค่อนข้างยาว
    – มีรังไข่ 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ท่อรังไข่ยาวเล็กเหมือนเส้นด้าย
  • ผล[1],[2],[3]
    – ผล มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือรูปขอบขนาน
    – ผลอ่อน จะเป็นสีเขียวเข้ม มีลายเป็นเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน
    – ผลสุก จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง มีลายสีเหลือง
    – ผล มีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร
    – เนื้อในผล จะเป็นสีเขียว
    – เนื้อหุ้มเมล็ด เป็นสีเทา
    – ผลมีเมล็ดเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลค่อนข้างมาก
    – เมล็ด เป็นรูปขอบขนานแบน

สรรพคุณของดึงช้างเผือก

– ช่วยฆ่า ไร หิด เหา[1],[2]
– ช่วยบำรุงน้ำดี[1],[2]
– ช่วยดับพิษเสมหะและโลหิต[1],[2]
– ช่วยชำระเสมหะให้ตก[1],[2]
– ช่วยแก้โรคเรื้อน[1],[2]
– ช่วยแก้ตับหรือม้ามโต[1],[2]
– ใช้เป็นยาถ่ายได้[3]
– ช่วยบำรุงร่างกาย[1],[2]
– ช่วยแก้โรคผิวหนัง[3]
– ช่วยแก้หวัดคัดจมูก[1],[2]
– ช่วยแก้ตับและปอดพิการ[1],[2]
– ช่วยขับพยาธิ[1],[2]
– ช่วยขับเสมหะ[1],[2]
– ช่วยถ่ายพิษตานซาง[1],[2]
– ช่วยแก้ไข้[3]
– ช่วยบำรุงกำลัง[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “ขี้กาลาย”. หน้า 81.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ขี้กาลาย (Khi Ka Lai)”. หน้า 65.
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระดึงช้างเผือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 ก.พ. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.floraofbangladesh.com/2020/07/makal-or-mahakal-trichosanthes.html
2. https://efloraofindia.com/2020/03/22/trichosanthes-bracteata/
3. https://medthai.com/