กะเม็ง
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอมแดง ดอกเป็นช่อสีขาว ผลขนาดเล็กสีเหลืองแกมสีดำ ผลแก่แล้วจะแห้งและมีสีดำสนิท

กะเม็ง

กะเม็ง มี 2 ชนิด คือ ต้นกะเม็งตัวผู้ และ ต้นกะเม็งตัวเมีย โดยต้นตัวผู้จะมีดอกขนาดใหญ่เป็นสีเหลืองสด ต่างกันกับต้นตัวเมียที่ดอกมีขนาดเล็กและเป็นสีขาว ชื่อสามัญ False daisy, White head, Yerbadetajo herb ชื่อวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2],[8] ชื่ออื่น ๆ บังกีเช้า (ประเทศจีน), อั่วโหน่ยเช่า, บักอั่งเน้ย, เฮ็กบักเช่า (ภาษาจีน-แต้จิ๋ว), ฮั่นเหลียนเฉ่า (ภาษาจีนกลาง), กะเม็งตัวเมีย กาเม็ง คัดเม็ง (ในภาคกลางของประเทศไทย), หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว ห้อมเกี้ยว (ในภาคเหนือของประเทศไทย) เป็นต้น[1],[2],[8],[11]

ลักษณะของกะเม็ง

  • ต้น
    – เป็นไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอมแดง ทั่วพื้นผิวลำต้นจะมีขนเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุม (บางต้นก็ไม่มีขนปกคลุม) และลำต้นจะแตกกิ่งก้านที่บริเวณโคนต้น[1],[2],[4],[5]
    – ความสูงของต้น ประมาณ 10-60 เซนติเมตร
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างเป็นรูปหอกเรียวยาว ไม่มีก้านใบ ตรงปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรอยเว้า ตรงขอบใบเรียบหรือเป็นรอยจัก และขอบใบจะมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย[1],[2],[5]
    – ใบมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร (โดยขนาดใบจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ในการเจริญเติบโตด้วย ซึ่งต้นที่เติบโตในพื้นที่แล้งใบจะมีขนาดเล็ก ส่วนต้นที่เติบโตในพื้นที่ชื้นแฉะใบจะมีขนาดใหญ่)
    – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อที่บริเวณซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะภายในช่อดอกจะมีดอกวงนอกที่เป็นดอกเพศเมีย มีอยู่ประมาณ 3-5 ดอกมีสีขาว และดอกวงในที่กลีบดอกติดกันเป็นรูปหลอดเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีสีขาวเช่นเดียวกัน[1],[5]
  • ผล
    – ผล เป็นผลขนาดเล็ก มีรูปร่างเป็นรูปทรงลูกข่าง ตรงปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดมีความยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเหลืองแกมสีดำ เมื่อผลแก่แล้วจะแห้งและมีสีดำสนิท[1],[2],[5]

สรรพคุณของกะเม็ง

1. ต้นนำมาทำเป็นยาบำรุงพละกำลังของร่างกาย (ทั้งต้น)[5]
2. ทั้งต้นมีส่วนช่วยในการบำรุงตับและไต (ทั้งต้น)[2],[5]
3. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดเมื่อยที่บริเวณเอวและหัวเข่า (ทั้งต้น)[8]
4. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการแก้กลากเกลื้อน และรักษาโรคทางผิวหนัง (ทั้งต้น)[4]
5. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาอาการฝีพุพอง (ทั้งต้น)[11]
6. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการบำรุงเพศทั้งเพศชายและเพศหญิง (ทั้งต้น)[13]
7. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด (ทั้งต้น)[5]
8. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ (ทั้งต้น)[2],[5]
9. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)[11]
10. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ และอาการตกขาว (ทั้งต้น)[2],[5],[13]
11. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น)[12],[13]
12. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคมะเร็ง (ทั้งต้น[5],[4])
13. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด (ทั้งต้น[1],[3])
14. ทั้งต้นมีสรรพคุณรักษาอาการตับอักเสบเรื้อรัง (ทั้งต้น)[2],[13]
15. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคกระษัย (ทั้งต้น)[13]
16. ต้นมีสรรพคุณในการลดอาการมึนและวิงเวียนศีรษะ (ทั้งต้น)[8]
17. ต้นมีฤทธิ์เป็นยาบรรเทาอาการปวดศีรษะข้างเดียว (ทั้งต้น)[2],[13]
18. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับทานเป็นยารักษาอาการดีซ่าน (ทั้งต้น)[4]
19. ต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการไอเป็นเลือด (ทั้งต้น)[2],[5],[13]
20. ต้นมีสรรพคุณรักษาอาการไอกรน (ทั้งต้น)[11]
21. ทั้งต้นนำมาผสมกับน้ำหอมใช้สำหรับสูดดมกลิ่น มีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการไข้หวัดและโรคดีซ่าน[5]
22. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการหูอื้อ (ทั้งต้น)[8]
23. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการเจ็บตา และแก้อาการตาแดง (ทั้งต้น)[11],[13]
24. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคหืด (ทั้งต้น)[4]
25. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบ มีส่วนช่วยในการลดไข้และอาการตัวร้อนในเด็กได้ (ทั้งต้น)[9],[10]
26. ต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล (ทั้งต้น)[2],[13]
27. ทั้งต้นนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ อมไว้ในปากสักพักแล้วค่อยคายทิ้ง มีสรรพคุณในการรักษาแผลภายในปาก[12]
28. ต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดฟัน (ทั้งต้น)[2],[12]
29. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง (ทั้งต้น)[11]
30. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการขับเสลดและรักษาโรคคอตีบ (ทั้งต้น)[2],[5]
31. ทั้งต้นมีฤทธิ์ในการรักษาอาการเจ็บคอ (ทั้งต้น)[11]
32. น้ำต้มจากรากมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคโลหิตจาง (ราก)[5]
33. รากมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการท้องเฟ้อ (ราก)[1],[4]
34. รากมีส่วนช่วยในการบำรุงตับและม้าม (ราก)[4],[5]
35. รากมีส่วนช่วยในการรักษาอาการท้องร่วง (ราก)[5]
36. รากมีส่วนช่วยในการรักษาอาการแน่นหน้าอก (ราก)[5]
37. รากมีสรรพคุณในการรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา (ราก)[5]
38. รากมีสรรพคุณรักษาโรคหอบหืด (ราก)[5]
39. ใบมีสรรพคุณในการรักษาอาการปากเปื่อย (ใบ)[2],[12]
40. ใบนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ในเด็กทารก (ใบ)[5]
41. ต้นและรากมีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น[4], ราก[5])
42. ทั้งต้นและรากมีส่วนช่วยในการรักษาโรคบิดถ่ายเป็นเลือด (ทั้งต้น,ราก)[2],[3],[13]
43. ทั้งต้นและใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคหนองในและอาการปัสสาวะเป็นเลือด (ทั้งต้น,ใบ)[2],[13]
44. ทั้งต้นและเมล็ดมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการเลือดออกภายในลำไส้และปอด (ทั้งต้น, เมล็ด)[2],[13]
45. ใบและรากมีส่วนช่วยในการขับอาเจียน (ใบ, ราก)[1],[4]
46. ดอกและใบมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดเหงือก (ดอก, ใบ)[5],[13]
47. ใบและรากนำมาใช้เป็นยาถ่าย (ใบ, ราก)[4]

ประโยชน์ของกะเม็ง

1. ในประเทศอินเดียจะใช้ต้นมาคั้นเอาแต่น้ำมาใช้สัก โดยจะให้สีเขียวคราม[1]
2. นำทั้งต้นกับผลของต้นมะเกลือดิบ มาใช้ทำสีดำสำหรับย้อมผ้า[1]
3. นำทั้งต้น น้ำมันงา และน้ำมันมะพร้าว มาต้มรวมกัน โดยให้ต้มจนน้ำเคี่ยว จากนั้นนำน้ำที่ได้มาโกรกผม จะทำให้ผมมีความดกดำเป็นธรรมชาติ คนพื้นเมืองมักใช้วิธีนี้ปิดผมหงอก[3],[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการให้ผู้ป่วยโรคหัวใจรับประทานยาที่สกัดมาจากต้น พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากอาการข้างเคียงของโรคหัวใจ เช่น อาการปวดหลังและปวดหัว เป็นต้น[9],[10]
2. จากการวิจัยพบว่าต้น มีฤทธิ์ในการเพิ่ม T-lymphocyte ซึ่งเป็นสารสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน จึงได้มีการนำมาทำเป็นยาอายุวัฒนะและยาเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์[12]
3. จากการวิจัยการนำต้นแห้งทั้งต้นมาสกัดด้วยสารเคมีชนิดต่าง ๆ ผลสรุปพบว่าสารเหล่านี้ สามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้[14]
4. จากข้อมูลการวิจัยพบว่า มีฤทธิ์ในการบรรเทาโรคคอตีบได้[2]
5. จากการทดลองกับสุนัขและหนูตะเภาพบว่าต้น มีสารที่ช่วยในการบำรุงระบบไหลเวียนเลือด[9]
6. จากการวิจัยพบว่าต้น มีสารชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์ในการเพิ่มระดับของฮอร์โมน Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ[12]
7. มีงานวิจัยระบุไว้ว่า มีสารที่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษได้[12]

ข้อควรระวังในการใช้กะเม็ง

1. ห้ามรับประทานในผู้ที่มีอาการไตหยินพร่อง ม้ามพร่อง และท้องเสียถ่ายเหลว[8]
2. ยาที่ทำหากเก็บไว้เป็นเวลานาน คุณภาพจะค่อย ๆ เสื่อมลงได้
3. ยาที่มีคุณภาพดี ควรจะมีสีเขียวและไม่มีเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมมาเจือปน[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กะ เม็ง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [7 ธ.ค. 2013].
2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 7 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “กะ เม็ง ตัวเมีย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [7 ธ.ค. 2013].
3. ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “กะ เม็ง สมุนไพรที่ไม่ควรมองข้าม“. (รศ.ดร.สนั่น ศุภธีรสกุล ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: herbal.pharmacy.psu.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
4. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กะ เม็ง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
5. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
6. ผู้จัดการออนไลน์. “วิจัย กะ เม็ง-กระชาย มีฤทธิ์ต้านไวรัส HIV“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [7 ธ.ค. 2013].
7. ฐานข้อมูลโครงงานวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด สสวท.. โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์. “การทำหมึกโรเนียวจากกะเม็ง“. (มัธยมต้น ชนะเลิศประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง ปี 2545). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: elib.ipst.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
8. สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. “อั่วโหน่ยเช่า“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tcm.dtam.moph.go.th. [7 ธ.ค. 2013].
9. Zhang Y, Lin ZB. Herba Ecliptae: mo han lian In: Wang BX, Ma JK, Zheng WL, Qu SY, Li R, Li YK (eds.). Modern study of pharmacology in traditional Chinese medicine. 2nd ed. Tianjin: Tianjin Science & Technology Press, 1999.
10. Institute of Medicinal Plant Development and Institute of Materia Medica, Chinese Academy of Medicinal Sciences. Chinese Materia Medica. Vol. IV. 2nd ed. Beijing: Renmin Weisheng Publishing House, 1988.
11. ภูมิปัญญาอภิวัฒน์. “กะเม็งสมุนไพรดูแลตับไตหัวใจ ห้ามเลือด แก้บิด ผมหงอกเร็ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.budmgt.com. [7 ธ.ค. 2013].
12. ฟาร์มเกษตร. “สมุนไพรกะเม็ง“. อ้างอิงใน: thrai.sci.ku.ac.th/node/936. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.farmkaset.org. [7 ธ.ค. 2013].
13. “กะเม็งตัวเมีย ยอดยาดีหมอพื้นบ้าน“. (จำรัส เซ็นนิล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [7 ธ.ค. 2013].
14. ฐานข้อมูลการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พฤกษเคมี และการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันในเบื้องต้นของกะเม็ง“. (พจมาน พิศเพียงจันทร์, สรัญญา วัชโรทัย, อุไรวรรณ ดิลกคุณานันท์, อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kucon.lib.ku.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
15. https://medthai.com/