สมุนไพรหญ้าแส้ม้า สรรพคุณแก้อาการฟกช้ำดำเขียว

0
1501
หญ้าแส้ม้า
สมุนไพรหญ้าแส้ม้า สรรพคุณแก้อาการฟกช้ำดำเขียว พรรณไม้ล้มลุก ปลายใบแหลมโคนมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อสีน้ำเงินม่วง ผลเป็นฝักยาว
หญ้าแส้ม้า
พรรณไม้ล้มลุก ปลายใบแหลมโคนมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อสีน้ำเงินม่วง ผลเป็นฝักยาว

หญ้าแส้ม้า

หญ้าแส้ม้า Vervain, Juno’s tears, European verbena, Herb of the cross เป็นดอกไม้ป่าพื้นเมืองพบได้ทั่วไปในทุ่งหญ้าชื้น ป่าทึบ ทุ่งหญ้าริมทาง ริมหนองน้ำ และตามคูน้ำ ดอกม่วงมีลำต้นตั้งตรง ใบเรียวยาวขอบใบหยักเป็นฟันปลาออกสลับซ้ายขวาของลำต้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรชนิดนี้ใช้เพื่อรักษาอาการพักฟื้น ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ปวดศีรษะ ดีซ่าน ตะคริว ไอ ไข้ นอกจากนั้นยังใช้รักษาบาดแผลพุพอง และรักษาสิวได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Verbena officinalis L. จัดอยู่ในวงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ นังด้งล้าง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)[2], สะหน่ำบล้อ (ปะหล่อง)[3], ถิแบปี โทเกงไก๊ แบเปียงเช่า หม่าเปียนเฉ่า (จีนกลาง)[1]

ลักษณะของหญ้าแส้ม้า

  • ลักษณะของต้น[1],[4]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุอยู่หลายปี
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูงได้ 50-100 เซนติเมตร
    – ลำต้นเล็กเป็นเหลี่ยม
    – มีขนแข็งรอบต้น
    – สามารถพบได้ในที่แห้งแล้งแดดจัด ที่รกร้างไร่เก่า หรือขึ้นประปรายในสวนผลไม้ที่สูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,650 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1]
    – ใบออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปกลมรี
    – แยกแฉกคล้ายขนนก
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมน
    – ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
    – ใบมีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 3-5 เซนติเมตร
    – หน้าใบและหลังใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย
    – เส้นหลังใบจะเห็นได้ชัดเจน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ดอกมีขนาดเล็ก
    – ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกยาว 16-30 เซนติเมตร
    – มีดอกเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร
    – ดอกเป็นสีน้ำเงินม่วง
    – ดอกเป็นรูปหลอด
    – แตกออกเป็นแฉก 5 แฉก ที่ปลายกลีบ
    – แบ่งออกเป็นแฉกบน 2 แฉก และแฉกล่าง 3 แฉก
    – มีเกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่ในกลีบดอก
    – เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่บนรังไข่ รังไข่มี 4 อัน
    – เมื่อเกสรแห้งและร่วงไปแล้วก็จะติดผลเป็นฝักยาว
  • ลักษณะของผล[1]
    – ผลมีเป็นฝักยาว
    – ผลแก่มีการแตกเมล็ดออก
    – มีเมล็ด 4 เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยมแบนยาว

สรรพคุณของหญ้าแส้ม้า

  • ทั้งต้น ช่วยฆ่าพยาธิใบไม้ในตับ[1]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ[1]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้ไตอักเสบบวมน้ำ[1]
  • ทั้งต้น ช่วยกระจายเลือด แก้อาการฟกช้ำดำเขียว ปวดบวม[1]
  • ทั้งต้น เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ฝีหนองอักเสบ[1]
  • ทั้งต้น แก้แผลแมลงสัตว์กัดเท้า เท้าเป็นแผล[2]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้บิดติดเชื้อ[1]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้คอเจ็บ คอบวม คออักเสบ คอตีบ[1]
  • ทั้งต้น มีรสขมเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้[1]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้ไข้หวัดตัวร้อน แก้ไข้จับสั่น[1]
  • ใบ นำมาคั้นเอาน้ำมาทาหรือพอก หรือต้มกับน้ำอาบ สระผม ช่วยกำจัดรังแค เหา โลน และหมัดได้[2]
  • ใบ ชาวปะหล่องจะนำมาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคตานขโมย โดยประกอบไปด้วยสมุนไพรอื่น ๆ อีก เช่น รากหญ้าคา รากสาบแร้งสาบกา รากด่อกะซองหว่อง ต้นน้ำนมราชสีห์ และเปลือกไข่ที่เพิ่งฟักเป็นตัว ห่อผ้าสีดำ แล้วนำมาต้มให้เด็กที่เป็นตานขโมยอาบ[3]
  • ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว จะใช้ราก ใบ ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง[2]
  • ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว จะใช้ราก ใบ ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้พิษ[2]

ข้อห้าม: สำหรับผู้ที่มีพลังหย่อน ม้ามหรือกระเพาะพร่อง และสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าแส้ม้า

  • ทั้งต้นพบสาร Adenosine, Cornin, Stachyose, Tannin, Verbenalin, Verbenalol และน้ำมันระเหย เป็นต้น[1]
  • เมื่อใช้สารที่สกัดมาทำเป็นยาฉีดให้กับผู้ป่วยที่เป็นไข้จับสั่น พบว่ามีการยับยั้งและสามารถรักษาโรคไข้จับสั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่ต้องฉีดเข้าก่อนที่ไข้จับสั่นจะกำเริบประมาณ 2-3 ชั่วโมง ในครั้งหน้า
  • เมื่อนำหญ้ามาต้มหรือสกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของกระต่ายที่กำลังมีอาการอักเสบของตับ พบว่าสามารถบรรเทาอาการอักเสบและความเจ็บปวดของกระต่ายได้[1]
  • สาร Verbenalin มีฤทธิ์กระตุ้นสัตว์ทดลองให้มีน้ำนมเพิ่มมากขึ้น[1] ส่วนที่อยู่เหนือดินมีฤทธิ์ลดการอักเสบในคนได้ ส่วนในสัตว์ทดลองพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก ขับปัสสาวะ[2]
  • สารสกัดจากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์แก้ปวด ส่วนสารสกัดจากใบด้วยแอลกอฮอล์หรือกรดมีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดได้ดีมาก และยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมได้อีกด้วย[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้าแส้ม้า”. หน้า 584.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “นังด้งล้าง”. หน้า 222.
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “นังด้งล้าง”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [10 ก.ค. 2014].
4. สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “นังด้งล้าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: chm-thai.onep.go.th. [10 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://nhgardensolutions.wordpress.com/tag/blue-vervain/
2.https://plants.ces.ncsu.edu/plants/verbena-hastata/