โรคเครียด
โรคเครียด ( Acute Stress Disorder ) คือ โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา การเผชิญหน้ากับความเครียดเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากมีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ในด้านลบหรือที่เรียกว่า ความทุกข์ ( Suffering ) ซึ่งเป็นผลทำให้ต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมนความเครียดทำงานผิดปกติรวมทั้งเกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดโรคเครียดและแสดงอาการที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายอย่างรุนแรง
สาเหตุของความเครียด
สิ่งที่ทำให้เกิดโรคเครียดสำหรับคนทั่วไป อาจเกิดจากหลายสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการเครียดกำเริบรุนแรงมากขึ้น สามารถแบ่งกลุ่มประชากรที่มีความเครียดได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) เด็กหรือเยาว์ ( Young-Age Population ) 2) วัยทำงาน ( Working-Age Population ) 3) สูงอายุ ( Old-Age Population ) หรือเรียกว่า ผู้สูงอายุ ( Elderly ) สำหรับคนอายุน้อยอัตราความเครียดสูงขึ้นทุกปีมีผลมาจากเรื่องการเรียน ทำการบ้านไม่ได้ ความขัดแย้งกันในครอบครัว การย้ายบ้าน การย้ายโรงเรียน รวมถึงถูกกดดันจากครอบครัวหรือคนรอบข้างประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วัยทำงานมีความเครียดจากการทำงานประมาณ 41 เปอร์เซ็นต์ และผู้สูงอายุมีความเครียดด้านความสัมพันธุ์ในครอบครัว ด้านการเงิน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและชุมชน ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์
อาการของความเครียด
ความเครียดสามารถแบ่งออกได้ตามพฤติกรรม ดังนี้
1. อาการทางสติปัญญา ( Cognitive Symptoms ) ได้แก่ อาการหลงลืมบ่อย ๆ ไม่มีสมาธิ การติดสินใจบกพร่อง มองโลกในแง่ลบ รู้สึกวิตกกังวล เป็นต้น
2. อาการทางอารมณ์ ( Emotional Symptoms ) ได้แก่ อาการซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย รู้สึกเป็นทุกข์ รู้สึกหนักใจ สับสน รู้สึกโดดเดี่ยว
3. อาการทางกายภาพ ( Physical Symptoms ) ได้แก่ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดท้อง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เวียนหัว ท้องร่วง ท้องผูก เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นแรงและถี่ ความต้องการทางเพศลดลง เป็นหวัดบ่อยและไข้หวัดใหญ่
4. อาการทางพฤติกรรม ( Behavioral Symptoms ) ได้แก่ การทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนมากเกินไป โรคกลัวสังคม ละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบ การกัดเล็บ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด
ชนิดของความเครียด
1. Acute Stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด เช่น เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ หิวข้าว เป็นต้น
2. Chronic Stress หรือ ความเครียดเรื้อรัง เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง เช่น ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเครียดของแม่บ้าน และความเหงา
ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร
1) ระบบประสาทส่วนกลางและต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนความเครียด กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
2) ระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งฮอร์โมนความเครียดส่งผลต่ออาจทำให้หายใจลำบาก
การสูบฉีดของเลือด การหายใจเร็วขึ้น ความเครียดทำให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อหดตัวรวมทั้งทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
3) ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งฮอร์โมนความเครียดส่งผลต่อร่างกายทำให้ระบบย่อยอาหารแย่ลง นอกจากนี้ยังพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เสียดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก หรือกรดไหลย้อย หรือเรียกว่าอีกอย่าง คือ เครียดลงกระเพาะ เกิดความเครียดสะสมทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
4) ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เมื่อร่างกายเครียดกล้ามเนื้อจะตึงขึ้น อาจกระตุ้นปฏิกิริยาอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่อง อาการปวดศีรษะแบบตึงเครียดและปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความตึงเครียดของกล้ามเนื้อเรื้อรังในบริเวณไหล่คอและศีรษะ อีกทั้งอาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูกบริเวณหลังส่วนล่าง และส่วนบนมีความสัมพันธ์กับความเครียดโดยเฉพาะความเครียดจากการทำงานหนัก
5) ระบบสืบพันธุ์ ความเครียดเรื้อรังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชายเกิดสมรรถภาพทางเพศลดลง
6) ระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งความเครียดส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
รวมถึงระบบสืบพันธุ์ของเพศชายทั้งหมด เช่น อัณฑะ ต่อมลูกหมาก และท่อปัสสาวะ
10 วิธีการจัดการความเครียดด้วยตัวเอง
ขั้นตอนที่ 1 การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ส่งผลดีต่อสุขภาพและสามารถลดความเสี่ยงของโรคเครียด (Acute Stress Disorder) มีงานวิจัยพบว่าการบริโภคดาร์กช็อกโกแลตทุกวันสามารถช่วยลดฮอร์โมนความเครียด เพราะช็อกโกแลตมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า สารฟีนิลเอทิลามีน ( Phenylethylamine ) อยู่มากถึง 660 มิลลิกรัม ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งสารโดพามีน ( Dopamine ) และอะดรีนาลีน ( Adrenaline ) ให้หลั่งออกมาแล้วทำให้เกิดความสุขร่างกายกระฉับกระเฉง และเพิ่มน้ำตาลกลูโคสหลั่งเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ช่วยเร่งกายใช้พลังงานในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 2 การออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยลดความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 3 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ที่ตึงเครียด
ขั้นตอนที่ 4 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ ๆ เช่น ใช้เวลา 2 – 3 นาที เพื่อชื่นชมตัวเองในแต่ละวัน จัดห้องนอนใหม่ จัดโต๊ะทำงานด้วยไม้ประดับเล็ก ๆ สามารถบำบัดความเครียดได้อย่างหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 5 การมองโลกในแง่ดี หาเวลาสำหรับงานอดิเรก สามารถทำให้คุณตื่นตัวมากขึ้นและช่วยให้คุณทำงานได้ดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 6 เรียนรู้และพยายามฝึกทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นตอนที่ 7 หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ยาเสพติด หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบีบบังคับเพื่อลดความเครียด
ขั้นตอนที่ 8 ใช้เวลากับคนที่คุณชอบให้มากขึ้น
ขั้นตอนที่ 9 การใช้ธรรมชาติมาช่วยลดความเครียดสะสม
ขั้นตอนที่ 10 ปรึกษานักจิตวิทยา เพื่อจัดการและรักษาความเครียดในระยะยาว
โรคเครียด นับว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะความเครียดก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายมากที่สุด โรคเครียดยังพบว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในประชาชนของไทยอย่างต่อเนื่อง
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม