มะเม่า เป็นยาระบาย ดีต่อสตรีหลังคลอดบุตร บำรุงไต
ผลออกเป็นช่อยาว ผลสดเนื้อฉ่ำน้ำ ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วงเข้ม

มะเม่า

มะเม่า (Antidesma thwaitesianum) หรือเม่าสร้อย พืชวงศ์มะขามป้อมที่มีผลรูปทรงกลมและนำมารับประทานได้ ยอดอ่อนและใบนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารอย่างพวกแกงเห็ด เป็นต้นที่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการ ส่วนของใบ ผลและลำต้นจากต้นเม่าสร้อยนั้นมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้ เป็นไม้ยืนต้นที่มักจะพบตามป่าทั่วไป เม่าสร้อยเป็นชื่อเรียกที่มักจะพบมากในจังหวัดเลย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเม่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma ghaesembilla Gaertn.
ชื่อท้องถิ่น : มะเม่า, หมากเม่า, เม่าสร้อย ภาคเหนือเรียกว่า “เม่า” จังหวัดลำปางเรียกว่า “มักเม่า” จังหวัดเชียงรายเรียกว่า “เม่าตาควาย” จังหวัดเลยเรียกว่า “เม่าสร้อย” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “ส่อแพรเหมาะ” ไทลื้อเรียกว่า “มะเม่า” ชาวขมุเรียกว่า “ปิมปอง”
ชื่ออื่นๆ : ขะเม่าผา, เม่าไข่ปลา, เม่าทุ่ง, มะเม่าข้าวเบา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Antidesma thwaitesianum
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสกุล : Antidesma

ลักษณะของมะเม่า

มะเม่า หรือเม่าสร้อย เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรังและป่าดิบทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหอกกลับ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนขึ้นประปรายทั้งสองด้าน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงเชิงลด โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากและเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวอ่อน
ผล : ผลกลุ่มออกเป็นช่อยาวรูปทรงกระบอก เป็นผลสดที่มีเนื้อผลฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม ผลดิบเป็นสีเขียว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วงเข้มและจะมีสีดำเมื่อแก่จัด

สรรพคุณของมะเม่า

  • สรรพคุณจากลำต้น
    – เป็นยาแก้ซางเด็ก ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – ลำต้นและราก ต้มดื่มบำรุงไต ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้มดลูกพิการ ตกขาว แก้ซางเด็ก ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • สรรพคุณจากใบ
    – ดีต่อสตรีหลังคลอด ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำใบมาต้มกับน้ำแล้วให้สตรีหลังคลอดดื่มและอาบ
    – ใบและผล นำมาต้มน้ำอาบ แก้อาการซีดเหลืองจากโรคโลหิตจาง ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
    – ใบ ใช้ทาแก้ปวดศีรษะ แก้โรคผิวหนัง ท้องบวม
  • สรรพคุณจากผล
    – ใช้ช้ทำยาพอก รักษาอาการปวดศรีษะ รักษารังแค แก้อาการท้องบวม
    – เป็นยาระบาย

ประโยชน์ของมะเม่า

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลนำมารับประทานได้ ยอดอ่อนใช้ใส่ในแกงเห็ดถอบ ใบใช้ใส่ในแกงเห็ดเผา

เม่าสร้อย มักจะพบในแกงเห็ดเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากยอดอ่อนและใบของต้นนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารในเมนูแกงเห็ด เป็นต้นที่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เม่าสร้อยเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนอย่างใบ ผลและลำต้น ซึ่งแต่ละส่วนก็มีสรรพคุณแตกต่างกันไป มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาระบาย แก้ซางเด็กและดีต่อสตรีหลังคลอด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เม่าสร้อย”. หน้า 38.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เม่า, เม่าสร้อย”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง บ้านโป่งคำ (อัปสรและคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [30 ต.ค. 2014].