น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู
เป็นเรื่องที่ยังคงสงสัยและมีการถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า น้ำมันพืช กับ น้ำมันหมู นั้น อะไรดีและมีประโยชน์กว่ากัน และอะไรที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่ากัน ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจกับน้ำมันพืชและน้ำมันหมูทั้งสองชนิดนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ก่อนจะเปรียบเทียบว่าน้ำมันพืชหรือน้ำมันหมูชนิดไหนดีกว่ากันนั่นเอง
น้ำมันพืช
น้ำมันพืช เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว โดยกรดไขมันชนิดนี้เมื่อผ่านเข้าสู่ร่างกายและเจอกับอุณหภูมิ 37 องศา จะกลายสภาพมีความเหนียวข้นและเข้าไปยึดเกาะกับลำคอไปจนถึงลำไส้ใหญ่ ซึ่งเมื่อนานไปก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากที่เดียว โดยสังเกตได้จากน้ำมันพืชที่กระเด็นไปโนข้างฝาขณะกำลังทำกับข้าว ซึ่งน้ำมันพืชก็จะมีลักษณะเหนียวและยึดเกาะเข้ากับฝาผนังทันที แถมน้ำมันพืชยังทำความสะอาดได้ยากอีกด้วย ดังนั้นเมื่อเราทานเข้าไปในร่างกายก็เช่นกัน น้ำมันพืชชนิดนี้จะเข้าไปติดหนึบอยู่กับระบบทางเดินอาหาร เมื่อนานไปก็จะเกิดปัญหาสุขภาพ อย่างเช่นโรคเกี่ยวกับลำไส้และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในที่สุด
น้ำมันหมู
น้ำมันหมู จะไม่เข้าไปเกาะกับระบบทางเดินอาหารเหมือนกับน้ำมันพืช จึงไม่ทำให้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารตามมาอย่างแน่นอน สังเกตได้จากเมื่อทำกับข้าวแล้วน้ำมันหมูกระเด็นไปโดนกับฝาผนังบ้านจะสามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่า น้ำมันพืช นั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า น้ำมันหมู จะไม่มีข้อเสีย เพราะน้ำมันหมูมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวที่จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายของคนเราเพิ่มสูงขึ้นและตามมาด้วยปัญหาสุขภาพอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไขมันอุดตันเส้นเลือด ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดัน โรคหัวใจ เป็นต้น
ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู ทั้งสองชนิดต่างก็ไม่ดีทั้งคู่ แต่ความจริงแล้วข้อเสียของน้ำมันพืชและน้ำมันหมูไม่ได้เกิดจากน้ำมันโดยตรง เพราะต่างก็เป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติโดยเฉพาะ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นก็มาจากกระบวนการผลิตน้ำมันนั่นเอง ดังตัวอย่างเช่นน้ำมันปาล์ม ซึ่งการผลิตจะมีการฟอกสีให้ใส ใส่สารกันบูดและสารเติมแต่งต่างๆ รวมถึงมีการแต่งกลิ่นลงไป ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากพอสมควร ส่วนน้ำมันหมูแม้จะไม่ได้ผ่านกระบวนการใดๆ แต่ก็เป็นแหล่งไขมันชนิดเลวที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งเมื่อทานมากๆ ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคร้ายต่างๆ
แล้วเราควรใช้น้ำมันชนิดไหนดี ?
เนื่องจากน้ำมันมีความจำเป็นในการใช้ทำอาหารทั้ง น้ำมันพืช หรือ น้ำมันหมู ก็ดี จึงไม่สามารถเลี่ยงการใช้น้ำมันได้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสมอไป เพราะเราสามารถเลือกใช้น้ำมันที่มีการสกัดจากธรรมชาติแทนได้ เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันปลาหรือน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น โดยน้ำมันเหล่านี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนและไม่มีสารเคมี จึงปลอดภัยและดีต่อสุขภาพแน่นอน แต่ในขณะเดียวกันก็มีราคาสูงพอสมควร เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ซึ่งเป็นกรด ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย ซึ่งข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือ จะช่วยในการลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีให้ต่ำลงและเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีเข้าไปแทน ผู้ที่ทานน้ำมันเหล่านี้เป็นประจำ จึงมักจะมีภูมิต้านทานโรคสูง และไม่ป่วยด้วยโรคไขมันอุดตันเส้นเลือดได้ง่ายอีกด้วย
น้ำมันมะกอก ที่มีอัลฟาโตโคฟีรอล ( Alpha-Tocopheral ) ผสมอยู่ในรูปของวิตามินอี และมีแคโรทีนในรูปของวิตามินเอสูงมาก จึงทำให้น้ำมันชนิดนี้มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ ลดความดันโลหิตและสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยชดลอความแก่ได้อีกด้วย
และสำหรับน้ำมันมะพร้าวก็มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงมากถึงร้อยละ 92 โดยจะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ และมีแร่ธาตุวิตามินที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ทันที อย่างเช่น วิตามินอี ดี อี แค แมกนีเซียม แคลเซียนและเบต้าแคโรทีน เป็นต้น นอกจากนี้ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร ช่วยล้างสารพิษในร่างกายและทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
ส่วนน้ำมันปลา ก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอแมก้า 6 สูงมาก โดยเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมากทีเดียว ทั้งยังสามารถบำรุงผิวพรรณ เล็บผม ให้มีสุขภาพดี รวมถึงช่วยเสริมสร้างความจำและกระตุ้นการเรียนรู้ การใช้ความคิดได้อย่างดีเยี่ยม ส่วนในด้านของการป้องกันโรค น้ำมันปลาก็สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความดัน พร้อมลดระดับคอเลสเตอรอลและต้านการเกิดมะเร็งเต้านมได้ดีเช่นกัน
เพราะฉะนั้นหากถามว่าระหว่าง น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู อะไรดีกว่ากัน ก็คงต้องบอกว่าควรบริโภคให้น้อยที่สุด และเน้นการบริโภคน้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
“Dietary Guidelines for Americans 2005; Key Recommendations for the General Population”. US Department of Health and Human Services and Department of Agriculture. 2005.
Yanai H, Katsuyama H, Hamasaki H, Abe S, Tada N, Sako A (2015). “Effects of Dietary Fat Intake on HDL Metabolism”. J Clin Med Res. 7 (3): 145–9.