วิตามินอี (Vitamin E) คืออะไร หาได้จากแหล่งไหน?
วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของร่างกายรวมทั้งในเลือดด้วย

วิตามินอี ( Vitamin E )

วิตามินอี ( วิตตามินอี, vitamin e ) คือ วิตามินอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเราเป็นอย่างมาก และเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมัน โดยวิตามินชนิดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้แคโรทีน วิตามินเอ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวถูกออกซิไดส์ ซึ่งก็จะส่งผลในด้านดีหลายอย่างนั่นเอง ช่วยลดระดับของคอเลสตอรอลในเลือด กำจัดสารก่อมะเร็งและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยในอดีตนั้นวิตามินอีรู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ว่า โทโคฟีรอล ซึ่งได้มีการค้นพบมานานแล้ว แต่ได้มีการศึกษาจริงๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง นอกจากนี้ยังพบว่าวิตามินอีมีไทโคไตรอินอลสูงที่สุดอีกด้วย ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและพบได้ในน้ำมันพืชทั่วไป

ปริมาณวิตามินอี แต่ละช่วงอายุ

วิตามินเป็นสารประกอบที่ร่างกายไม่ได้สร้างขึ้น แต่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่พอเหมาะช่วยการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ รวมถึงความต้องการวิตามินอีของร่างกาย ได้แก่

  • อายุ 0-6 เดือน ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 4 มิลลิกรัม
  • อายุ 7-12 เดือน ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 5 มิลลิกรัม
  • อายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 6 มิลลิกรัม
  • อายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 7 มิลลิกรัม
  • อายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 11 มิลลิกรัม
  • อายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 15 มิลลิกรัม
  • คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตมินอี ปริมาณ 15 มิลลิกรัม
  • คุณแม่หลังคลอดบุตร และช่วงการให้นมบุตร ควรได้รับวิตมินอี ปริมาณ 19 มิลลิกรัม

วิตามินอี มีประโยชน์อย่างไร

1. ต้านอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันความเสื่อม ชะลอวัย
2. ปกป้องผิว ช่วยให้เซลล์ผิวทนต่อรังสี UV B ในแดดได้ดีขึ้น
3. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสัน และอัลไซเมอร์
4. ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
5. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งที่ต่อมลูกหมากและเต้านม
6. ลดการอักเสบ ป้องกันแผลเป็นหนานูน
7. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

วิตามินอีหาได้จากที่ไหน

1. อาหารที่มีวิตามินอีตามธรรมชาติได้แก่ ไข่ พืช ผัก ผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว
2. น้ำมันที่มีส่วนผสมของถั่ว อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
3. ครีมทาผิว โลชั่นบำรุงผิว
4. ยา อาหารทางการแพทย์ นมทางการแพทย์

อาหารที่มีวิตามินอีมีอะไรบ้าง

1. ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน แป้งทำขนมปังแบบเสริมวิตามิน ถั่วเหลือง
2. น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพดถั่ว
3. เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (วอลนัต พีแคน ถั่วลิสง จะมีแกมมาโทโคฟีรอลมากเป็นพิเศษ)
4. กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) ปวยเล้ง

ผักผลไม้ หากนำผักไปปรุงสุกความร้อนจะทำลายวิตามินอีให้เหลือน้อยลง รวมถึงการนำผลไม้ไปแช่แข็งก็ทำให้วิตามินอีมีน้อยกว่าในผลไม้สด

ร่างกายขาดวิตามินอี เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง

1. เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
2. กล้ามเนื้อฝ่อ
3. โรคโลหิตจาง
4. โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

อาการคนได้รับวิตามินอีไม่เพียงพอ หรือขาดวิตามินอี

ปกติแล้วร่างกายไม่ค่อยขาดวิตามินอีจากการทานอาหาร แต่อาจมีปัญหาจากการดูดซึมไขมัน เช่น การทำงานของตับ ตับอ่อน และลำไส้ผิดปกติ

1. สูญเสียการรับสัมผัส และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า สูญเสียความรู้สึกทางกาย
2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีปัญหาในการกลอกตา หรือทรงตัวได้ยาก
3. ผิวหนังแห้งหยาบกร้าน
4. หากเด็กเป็นโรคขาดโปรตีนชนิดควาชิออร์กอร์อย่างรุนแรงจะเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโต เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย และมีการขับครีอะตีนออกมาในปัสสาวะด้วย
5. หญิงมีครรภ์ที่ขาดวิตามินอีจะทำให้คลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีระดับวิตามินอีในเลือดต่ำ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกง่าย
6. กรณีที่ขาดวิตามินอีมากๆ อาจทำให้ตับและไตถูกทำลาย
7. สำหรับผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทอง ควรรับประทานวิตามินอีให้มากขึ้นกว่าเดิม

อาการคนได้รับวิตามินอีมากเกินไป

เมื่อร่างกายได้รับ วิตามินอี (vitamin e) มากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อได้รับวิตามินอีวันละ 300 มิลลิกรัมต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย ซึม ปวดท้อง สายตาพร่ามัวและหากได้รับสูงกว่านี้ หรือมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม ก็จะทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงและมุมปาก ริมฝีปากอักแสบได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรทานวิตามินอีอย่างเพียงพอ ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไปจะดีกว่า

หากมีโรคประจำตัวที่มียาทานประจำอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อตรวจสอบว่ายาที่รับประทานว่าสามารถทานร่วมกับวิตามินอีได้หรือไม่ทุกครั้ง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.

http://www.medscape.com/viewarticle/584984.

Hartley, L.; Clar, C.; Ghannam, O.; Flowers, N.; Stranges, S.; Rees, K. (Sep 2015). “Vitamin K for the primary prevention of cardiovascular disease”. The Cochrane Database of Systematic Reviews (Systematic review). 9 (9): CD011148.