คูปัวซู
คูปัวซู (cupuacu) หรือที่เรียกว่า ต้นโกโก้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของอเมซอนของบราซิล และสูง 5-15 เมตร รสชาติเหมือนช็อกโกแลตผสมสับปะรด มักใช้ผลสุกคูปัวซูใช้ทำเครื่องดื่ม ไอศกรีม ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ส่วนเมล็ดคูปัวซูมีไขมันสูงสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้บำรุงผิวเพิ่มความชุ่มชื้น นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำลายเซลล์ไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของคูปัวซู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Theobroma grandiflorum
ชื่อสามัญ : โกโก้บราซิล, โคโปอาซู, คูปูอัสซู, โกโก้ดอกใหญ่, กูปูวาซู
ชื่อสามัญอื่นๆ : โคลอมเบีย: bacau, kopoazu; คอสตาริกา: โกโก้ป่า, ปาเตสเต, เตเต้ดำ; เช็ก: kakaovník velkokvětý; อังกฤษ: cupuacu; ซูรินาเม: lupu; สเปน: copoasú
ลักษณะของคูปัวซู
ลำต้น : เปลือกไม้ของต้นคูปัวซูเป็นสีน้ำตาล
ใบ/กิ่ง : ผิวใบมันวาว ทรงใบเรียวยาวประมาณ 20 -50 เซนติเมตณ มีเส้นตรงกลาง ใบอ่อนมีสีม่วงอมชมพูเปลือกไม้เป็นสีเขียว
ดอก : ดอกสีแดงมีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมหนา ออกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นกระจุกเล็ก ดอกมี 3-5 ดอก กลีบดอกสีม่วงเข้ม 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม 5 อัน เกสรตัวผู้ 5 อัน
ผล : เป็นรูปวงรีมีเปลือกสีน้ำตาล มีขนขนาดเล็กสั้นเปลือกแข็ง และมีเนื้อสีขาว ออกผล 20-30 ผลต่อต้น
เมล็ด : มีเมล็ดประมาณ 30-50 เมล็ด ยาวประมาณ 1 นิ้ว เมล็ดคูปัวซูสามารถนำมาทำเป็นช็อกโกแลตชั้นดีได้ มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าและมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าช็อกโกแลตที่ได้จากเมล็ดโกโก้อีกด้วย
ประโยชน์ของคูปัวซู
- ช่วยฟื้นฟูและเป็นเกราะป้องกันผิวจากแสงแดด
- ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น และคืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
- ช่วยให้ผมนุ่มสลวยสุขภาพดี ลดปัญหาผมชี้ฟู และผมไม่ขาดง่าย
- ช่วยลดความเสี่ยงของการอักเสบ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
- ช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นจากเส้นใย
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
- ช่วยกระตุ้นการทำลายเซลล์ไขมันในร่างกาย และช่วยป้องกันการสร้างเซลล์ไขมันใหม่
- ช่วยป้องกันการดูดซึมกลูโคสของร่างกาย
- ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสส่วนทางเดินอาหาร
- ช่วยลดอาการเจ็บคอ และอาการไอ
- ช่วยบรรเทาผิวแห้งไหม้แดดและริ้วรอยแห่งวัย
- ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความกระชับของผิว
คูปัวซูมีรสขาติคล้ายลูกแพร์ เนื้อในที่มีกลิ่นหอมหวาน เป็นแหล่งของวิตามินบี1 บี2 และบี3 ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยป้องกันโรคหัวใจ ในทางอุตสาหกรรมก็นิยมนำไปทำเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหาร ยา และเครื่องดื่ม ในวงการเครื่องสำอางค์นิยมนำไปทำเป็นโลชั่นบำรุงผิวพรรณอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม