น้ำเต้าน้อย
ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว สีน้ำตาลแกมสีเหลือง สีเหลืองอ่อน ผิวผลมีขนปกคลุมเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดอยู่ในผล

น้ำเต้าน้อย

น้ำเต้าน้อย เป็นไม้พุ่มแกมไม้เถาเนื้อแข็งจะเลื้อยพาดอาศัยต้นไม้อื่นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cyathostemma micranthum (A.DC.) J.Sinclair อยู่วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) สามารถพยุงตัวเองขึ้นไปได้ถึงประมาณ 10-15 เมตร มีเปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ที่ตามกิ่งอ่อนและตามยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลขึ้น มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า หมู่เกาะอันดามันถึงประเทศฟิลิปปินส์ นิวกินี มาเลเซีย และที่ทางเหนือของออสเตรเลีย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด พบขึ้นได้ในป่าดิบแล้ง ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นทั่วไป ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น พญามีฤทธิ์, ผสมแก้ว (สุราษฎร์ธานี), นมแมว (ประจวบคีรีขันธ์), น้ำเต้าน้อย (ปราจีนบุรี), นมแมวน้อย, ฤๅษี(สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะน้ำเต้าน้อย

  • ต้น อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะมน ใบกว้างประมาณ 2.3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-14 เซนติเมตร ที่หลังใบเรียบและเป็นมัน ท้องใบเรียบ ใบมีลักษณะค่อนข้างที่จะหนาและเหนียว ก้านใบมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร[1],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามกิ่ง ในช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-5 ดอก มีดอกเป็นสีเหลืองแกมสีเขียว สีน้ำตาลแกมสีเหลือง สีเหลืองอ่อน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียวอยู่ 3 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมมีขน ดอกบานออกกลีบกางออก ที่ปลายจะโค้งเข้าหากัน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม[1],[2],[3]
  • ผล ออกเป็นกลุ่ม ก้านช่อผลมีความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีผลย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ผล ก้านผลยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ผลย่อยเป็นรูปทรงกลมเรียว มีความยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร ผิวผลจะมีขนปกคลุม มีผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดอยู่ในผล 1 เมล็ด เมล็ดกลม ติดผลช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม[1],[3]

สรรพคุณของราก

1. รากของจะมีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้กาฬผอมแห้งของสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้ [1]
2. สามารถนำรากมาฝนกับน้ำ ใช้ทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (ราก)[1],[2]

สรรพคุณของเนื้อไม้

  • เนื้อไม้มีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณที่เป็นยา แก้ไข้ทับระดู แก้ไข้หวัด แก้ไข้กลับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ (เนื้อไม้)[1]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพรรณไม้และพันธุ์สัตว์ในหุบเขาลำพญา ฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา). “น้ำ เต้า น้อย”. หน้า 80.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “นมแมว (Nom Maeo)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 150.
3. พืชอาหารของหนอนผีเสื้อกลางวัน, ส่วนประสานงานโครงการพระราชดำริ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา). “นมแมวน้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th. [26 มี.ค. 2014].
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “นมแมว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [26 มี.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://apps.lucidcentral.org/