เมื่ออาหารเข้าปาก เกิดกระบวนการอะไรขึ้นในร่างกาย
เมื่ออาการเข้าสู่ปากระบบต่างๆในร่างกายจะเริ่มทำงาน เริ่มจากฟัน ลิ้น ต่อมน้ำลาย คอหอย กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่

เมื่ออาหารเข้าปาก

ร่างกายของเราเมื่อมี อาหารเข้าปาก ไปแล้วนั้นเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ เพราะร่างกายของเราสามารถทำงานทุกอย่างได้เองโดยที่ไม่ต้องมีคนสั่ง คนคอยชี้ว่าต้องทำสิ่งใดในเวลาใด แต่ว่าเมื่อถึงเวลาแล้วร่างกายของเราจะทำงานโดยอัตโนมัติ อย่างเมื่อถึงเวลาอาหาร บางครั้งเรายังไม่รู้เลยว่าถึงเวลารับประทานอาหารแล้ว แต่ร่างกายก็ส่งสัญญานเตือนมาให้เราทราบว่าถึงเวลาอาหาร  แล้วร่างกายต้องการอาหาร สัญญาณที่ว่าก็คืออาการหิว ท้องร้อง มือสั่นและปวดท้อง สำหรับบางคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติก็จะมีอาการหน้ามืด ตาลาย ไม่มีแรงคล้ายจะเป็นลม เมื่อมีอาหารเหล่านี่เกิดขึ้นเชื่อว่าทุกคนต้องรีบหาอาหารเข้าปากโดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำตาล บางคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารตามที่ตนเองต้องการแล้ว ก็จะมีอารมณ์หงุดหงิด ไม่พอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็น ทั้งที่สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นสิ่งที่เกิดอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว เราเรียกอารมณ์หงุดหงิดนี้ว่า โมโหหิว เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเป็นกันแน่นอน เวลาที่หิวแล้วไม่ได้รับประทานอาหารตามที่ต้องการ ซึ่งอาการนี้จะหายไปโดยสิ้นเชิงเมื่อรับประทานอาหารเข้าไป เสมือนกับว่าอารมณ์นั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนก็ว่าได้ แล้วเพราะเกิดอะไรขึ้นในร่างกายเมื่ออาหารเข้าปาก จึงทำให้อารมณ์ของเราเปลี่ยนแปลงไปได้ 

การรับประทานอาหารถ้าเรารับประทานอาหารแต่พอดีกับความต้องการของร่างกาย อาหารที่รับประทานเข้าไปก็จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าเกิดโทษ แต่ทว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารับประทานอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการ นั่นคือรับประทานตามคนอื่น เช่น เพื่อนชวนกินแต่เราไม่หิว  ด้วยความเกรงใจเราก็ต้องกินด้วย หรือเห็นว่าอาหารน่ากินก็กินเข้าไปทั้งที่ไม่ได้หิว  หรือในกรณีของเด็กทารกที่พ่อแม่ต้องการให้หยุดร้องไห้จึงทำการป้อนนมทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ โดยที่เด็กไม่ได้หิวจริงหรือยังไม่ถึงเวลาที่เด็กต้องกินนม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะว่าการที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เกิดกรดเกินในกระเพราะและกรดไกลย้อนขึ้นมาได้ ซึ่งถ้าสะสมเป็นเวลานานแล้ว จะทำให้เกิดโรคอ้วนได้

อาหารที่รับประทานเข้าไป

ตั้งแต่อาหารเข้าปาก อาหารก็จะเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจนย่อยออกมาเป็นกากถึงขบวนการขับถ่ายทางทวารหนักขึ้นอยู่กับประเภทอาหารในการใช้เวลาย่อยว่าจะนานแค่ไหน

โรคอ้วนเป็นสาเหตุต้นของโรคอื่นๆ ตามมาเช่น โรคหัวใจ โรคความดัน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น เมื่อเรารับประทานอาหารแล้วเกิดอะไรขึ้นในร่างกายเมื่ออาหารเข้าปากเรากันนะ เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยกันว่าเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปในร่างกายแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นในร่างกายของเรากับอาหารนั้นบ้าง

กระบวนการแรกของการรับประทานจะเริ่มต้นที่ปาก โดยมีฟันทำหน้าที่บดเคี้นวอาหารให้มีชิ้นเล็ก ลิ้นมีหน้าที่รับรู้รสชาติของอาหารที่เรารับประทาน ต่อมน้ำลายมีหน้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร หลังจากที่อาหารถูกเคี้ยวที่ปากแล้วจะถูกส่งต่อไปยังกระเพาะอาหารผ่านคอหอยกับหลอดอาหารลงไปสู่กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารมีหน้าที่เก็บกักอาหารไว้และย่อยอาหารด้วยเอ็นไซม์และกรดเกลือที่มีอยู่ในกระเพาะอาหาร การที่เราเคลื่อนไหวหลังจากที่รับประทานอาหารเข้าไปจะเป็นการช่วยคลุกเคล้าอาหารให้กับเอ็นไซม์และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำให้อาหารย่อยได้ง่ายขึ้น ที่กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เป็นโมเลกุลเล็กและส่งต่อไปยังลำไส้เล็กจะทำการเปลี่ยนอาหารที่อยู่ในรูปของแข็งที่มาจากกระเพาะอาหารให้อยู่ในรูปของเหลว และทำการดูดซึมสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารผ่านทางผนังลำไส้เล็กไหลเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปใช้ต่อไป

นอกจากนั้นเมื่อลำไส้เล็กได้รับอาหารเข้ามาจะไปกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งเอ็นไซม์กับโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต และกระตุ้นต่อมน้ำดีให้หลั่งน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้นเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร กากใยอาหารที่เหลือจากการย่อยของลำไส้เล็กจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่ที่อยู่ต่อจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่มีหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่หลงเหลืออยู่ในกากใยอาหารทำให้กากใยรวมตัวกันเป็นก้อนพร้อมที่จะถูกขับออกมาจากลำไส้ใหญ่ผ่านทางทวารหนัก ทวารหนักคือลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหูรูดมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียหรือกากใยอาหารที่ผ่านการดูดซึมสารอาหารออกไปจนหมดแล้วออกมา บริเวณผนังของลำไส้ใหญ่จะมีการขับเมือกออกมาช่วยในการเคลื่อนที่ของกากใยอาหาร ซึ่งกากใยอาหารที่อยู่ในลำไส้ใหญ่จะเรียกว่า “อุจจาระ” นี่คือคำตอบของคำถามที่ว่าเกิดอะไรขึ้นในร่างกายเมื่ออาหารเข้าปาก นั่นคือเมื่ออาหารเข้าปากจะผ่านคอหอยและหลอดอาหารลงสู่กระเพาะเพื่อทำการย่อยส่งผ่านปยังลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กเป็นจุดสุดท้ายที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร พร้อมทั้งทำการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ส้นเลือด และส่งต่อกากใยอาหารที่เหลือไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อขับออกจากร่างกายทางทวารหนัก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

Kong F, Singh RP (June 2008). “Disintegration of solid foods in human stomach”. J. Food Sci. 73 (5): R67–80.

Maton, Anthea; Jean Hopkins; Charles William McLaughlin; Susan Johnson; Maryanna Quon Warner; David LaHart; Jill D. Wright (1993). Human Biology and Health. Englewood Cliffs, New Jersey, US: Prentice Hall. ISBN 0-13-981176-1.

Pocock, Gillian (2006). Human Physiology (Third ed.). Oxford University Press. p. 382. ISBN 978-0-19-856878-0.