สรรพคุณของต้นตะบา

0
1335
ต้นตะบา
สรรพคุณของต้นตะบา เป็นพรรณไม้เลื้อยที่ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีลำต้นใหญ่ ดอกเป็นรูปดาว มีขนเส้นเล็ก ขึ้นตามป่าชื้นหรือป่าพรุ ซึ่งจะเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่
ต้นตะบา
พรรณไม้เลื้อยที่ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีลำต้นใหญ่ ดอกเป็นรูปดาว มีขนเส้นเล็ก ขึ้นตามป่าชื้นหรือป่าพรุ ซึ่งจะเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่

ตะบา

ตะบา หรือโฮย่าดาว เป็นโฮย่าชนิดหนึ่งที่เป็นพรรณไม้เลื้อยที่ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีลำต้นใหญ่ มีขนเส้นเล็ก ขึ้นตามป่าชื้นหรือป่าพรุ ซึ่งจะเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Hoya coronaria Blume อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ดาวชมพู, ตะขา, โฮย่าดาว, ดาวขาว

ลักษณะโฮย่าดาว

  • ต้น เป็นไม้พรรณไม้เลื้อย จะชอบอาศัยอยู่ที่บนต้นไม้ที่ลำต้นใหญ่ ที่ตามกิ่งก้านและที่ยอดอ่อนจะมีขนเส้นเล็ก ๆ ปกคลุม จะหงิกงอไม่เป็นระเบียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด มักขึ้นที่ตามป่าชื้นหรือป่าพรุ จะเกาะอยู่ที่ตามต้นไม้ใหญ่ [1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเป็นคู่ ๆ ที่ตามข้อของต้น ใบเป็นรูปมนรี ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมน ที่ขอบจะม้วนลงเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว แผ่นใบมีสีเขียว เนื้อใบหนา ที่ด้านล่างจะมีขน ก้านยาวไม่เกิน 0.5 นิ้ว[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่บริเวณยอดของกิ่งหรือที่ตามซอกใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 0.5-1 นิ้ว ดอกเป็นรูปดาว มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกจะค่อนข้างหนาเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน บนกลีบอาจจะมีจุดสีชมพูหรือสีม่วง กลีบรองดอกเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ[1]
  • ผล เป็นฝักหนา เปลือกฝักจะหนา ชั้นในแข็ง ผลเป็นรูปเกือบทรงกระบอก ปลายมน กว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว จะมีเมล็ดอยู่ภายใน[1]

สรรพคุณโฮย่าดาว

  • ยางจะมีรสขมมาก มีสรรพคุณช่วยทำให้อาเจียนได้ (ยาง)[1]
  • ชาวชวาจะนำยางมาใช้ทำเป็นอาหาร ผสมกับน้ำพริกทานเป็นยาเจริญอาหาร (ยาง)[1]

ข้อควรระวัง : ยางจากที่ทุกส่วนของต้นถ้าทานเข้าไปจะทำให้อาเจียนแรง[2]

ประโยชน์โฮย่าดาว

  • ดอกสวยงาม มีทั้งดอกขาวและดอกชมพู นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป[1]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1.หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ต ะ บ า”. หน้า 309-310.
2.ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา. “พืชมีพิษในประเทศไทย (2)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/ez.mm_main.asp. [20 ธ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://garden.org/